การไหว้ผีปู่ย่าหรือผีบรรพบุรุษ

การไหว้ผีปู่ย่าหรือผีบรรพบุรุษ

วัฒนธรรมจังหวัดตาก เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน หรือแบบพหุวัฒนธรรม ชนชาวตากในเขตเทศบาลและใกล้เคียงมีกลุ่มชนหลายกลุ่ม เช่น มอญ ลาว(คนเมือง) ไทย จีน เป็นต้น แต่ที่มีความเชื่อคล้ายกันคือ การไหว้ผีปู่ย่าหหรือผีบรรพบุรุษ ก่อนที่จะกระทำพิธีต่างๆ ต่อไป ตากจึงมีการแห่นาคไปสักการะบอกกล่าวพระเจ้าตากสิน ซึ่งนับถือเช่นเดียวกับผีบรรพบุรุษ นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะเข้ามาถึง บ้างพื้นที่จึงมีการไหว้ผีปู่ย่าหรือทรงผีปู่ย่า เพื่อเป็นการเลี้ยงฮ้าวหรือถึงใจ ให้เป็นการขอขมา

16.8859237, 98.4874929

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 67


โครงการหลวงเลอตอ

โครงการหลวงเลอตอ

บ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีความสูงเฉลี่ยบริเวณกลางหมู่บ้านความสูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่เศษ มีปัญหาเรื่องการลักลอบปลูกฝิ่นจำนวนมาก จึงมีการจัดตั้งเป็นพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนบ้านเลอตอ จนกระทั่งวันที่ 17 ตุลาคม 2559 มจ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิโครงการหลวง มีพระดำริให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งที่ 39 ขึ้นที่ บ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

17.233648, 98.4314112

เผยแพร่เมื่อ 11-12-2024 ผู้เช้าชม 39


บ้านเลอตอ

บ้านเลอตอ

บ้านเลอตอ พื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จึงมีการการส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ภายหลังการสร้างศูนย์โครงการหลวงเลอตอและข้อจำกัดที่เกิดจากการประกาศพื้นที่เขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ชุมชนจึงหันมาเพาะปลูกพืชไร่และไม้ยืนต้นแทนการปลูกฝิ่น และการทำไร่หมุนเวียน

17.23869, 98.42569

เผยแพร่เมื่อ 11-12-2024 ผู้เช้าชม 38


บ้านเลตองคุ

บ้านเลตองคุ

บ้านเลตองคุ ตั้งขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีใครบอกได้ มีเพียงข้อมูลว่าตั้งมาได้หลายชั่วอายุคนแล้ว แต่เดิมนั้นบรรพบุรุษของกะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศพม่า ต่อมาทนต่อการกดขี่ข่มเหงของกษัตริย์พม่าในสมัยนั้นไม่ได้ เลยพากันอพยพเร่ร่อนหนีมาเรื่อย ๆ จนมาถึงเลตองคุแห่งนี้ เมื่อมาถึงเลตองคุ หัวหน้าลัทธิฤาษีสมัยนั้นได้รวบรวมผู้ที่อพยพติดตามมาให้สร้างสำนักฤาษีขึ้น ชาวบ้านได้สร้างบ้านเรือนอาศัยจนมาเป็นเลตองคุทุกวันนี้ สมัยก่อนนั้นมีบ้านเรือนไม่กี่หลัง หย่อมละ 3-5 หลัง กระจายออกไป แต่ปัจจุบันมีมากถึง 300 หลังคาเรือน เนื่องจากมีผู้คนจากทางพม่าอพยพหนีสงครามระหว่างทหารพม่ากับเคเอ็นยูมาอาศัยอยู่ที่ฝั่งไทย หลังจากสงครามสงบผู้คนบางส่วนกลับไปอยู่ที่เดิมและมีบางส่วนปักหลักอยู่ที่เลตองคุต่อไปจนถึงปัจจุบัน

15.70414, 98.5655421

เผยแพร่เมื่อ 11-12-2024 ผู้เช้าชม 41


บ้านท่าสองยาง

บ้านท่าสองยาง

บ้านท่าสองยาง เป็นชุมชนที่มีทัศนียภาพที่งดงาม อยู่บริเวณชายแดนประเทศไทย ที่ติดกับประเทศเมียนมา โดยมีแม่น้ำเมยกั้น ซึ่งระหว่างช่องทางการติดต่อระหว่าสองประเทศนี้มีต้นยางขึ้นอยู่ จึงเรียกกันว่า บ้านท่าช่องยาง แต่มีการเรียกเพี้ยนกันมาว่า บ้านท่าสองยาง แต่บ้างก็ว่าเกิดจากจุดเริ่มต้นของการตั้งหมู่บ้านชาวยาง จำนวน 2 ครอบครัว ที่มาอยู่ก่อนเป็นครอบครัวแรก จึงเป็นที่มาว่าชื่อ บ้านท่าสองยาง

17.57130102, 97.91460469

เผยแพร่เมื่อ 11-12-2024 ผู้เช้าชม 42


บ้านกุยเลอตอ

บ้านกุยเลอตอ

บ้านกุยเลอตอ ตั้งอยู่ในตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นชุมชนของชาวปะกาญอที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตชุมชนแบบดั้งเดิม มีความเรียบง่าย รักสงบ ชื่อ “กุยเลอตอ” มาจากคำว่า “กุย” ซึ่งแปลว่า กองรวมกันในปริมาณมาก และ “เลอตอ” แปลว่า ก้อนหิน ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 200 ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวปะกาญอ อาชีพหลักคือเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวและทำไร่หมุนเวียน วิถีชีวิตของชาวบ้านยังคงผูกพันกับธรรมชาติอย่างแน่นแฟ้น โดยมีแม่น้ำแม่จันไหลผ่านหมู่บ้าน ชาวบ้านมักใช้ทรัพยากรจากป่าในการดำรงชีวิต เช่น การทอผ้ากี่เอวแบบดั้งเดิม ซึ่งใช้สีธรรมชาติจากพืชพรรณท้องถิ่น

15.8250687, 98.6446006

เผยแพร่เมื่อ 11-12-2024 ผู้เช้าชม 48


ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

ผ้าปักลายม้ง สะท้อนถึงวิถีชีวิตและเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชาวม้งที่สืบทอดกันมา เทคนิคที่ใช้การปักผ้าม้งโดยหลักจะมี 2 แบบคือ แบบปักเป็นกากบาทคล้ายลายปักครอสติช และอีกแบบหนึ่งคือ การปักแบบเย็บปะติด ลวดลายที่ปักจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ลวดลายสร้างสรรค์จากจินตนาการเลียนแบบมาจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว วิถีชีวิต ตำนาน ความเชื่อ เรื่องเล่า และในปัจจุบันมีการปรับลวดลายให้เข้ากับยุคสมัย

16.5498787, 99.1249011

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 45


เครื่องจักสานไม้ไผ่

เครื่องจักสานไม้ไผ่

ตำบลตลุกกลางทุ่ง อำเมืองตาก จังหวัดตาก ได้มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุเกือบทุกหมู่บ้านในตำบล หาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้จนกลายเป็นเป็นสินค้าประจำตำบล คือเครื่องจักสาน เป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ที่มีคุณภาพ คงทน มีหลายรูปแบบให้เลือกตามความต้องการ ได้แก่ กระด้ง ตะกร้า กระจาด ไม้เสียบหมูสเต๊ะ ฯลฯ เป็นสินค้าในลักษณะอุตสาหกรรมครัวเรือนในหมู่บ้านและตำบล สร้างงานและเกิดรายได้ให้แต่ละครอบครัววันละไม่ต่ำกว่า 100-130 บาท

16.8544827, 99.2073246

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 82


ครกหินแกรนิตบ้านแม่สลิด

ครกหินแกรนิตบ้านแม่สลิด

ครกหินแกรนิตบ้านแม่สลิด มีเอกลักษณ์ คือ มีสีออกดำ สำลายจุดขาว สีเทาลายจุดสีดำ สีขาวลายจุดสีดำ มีเกล็ดแร่กระจายอยู่ทั่ว เป็นครงทรงกลม รูปทรงสมส่วนกลมกลืนเข้ารูป มีขอบด้านข้างใช้สำหรับจับหรือยก ผลิตด้วยเครื่องมือที่ทำให้ได้รูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นมาตรฐาน แตกต่างจากครกอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี จะมีสีเขียวและสีขาว ประกอบกับวัตถุดิบในพื้นที่อ่างศิลาได้หมดลงจำเป็นต้องหาจากแหล่งผลิตอื่น ชาวบ้านผู้ผลิตครกอ่างศิลาจึงสั่งวัตถุดิบหุ่นครกและหุ่นสาก จากโรงงานผู้ผลิตในตำบลแม่สลิดอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เพื่อนำไปแปรรูปและวางจำหน่ายเป็นครกหินอ่างศิลา ทำให้ครกหินแกรนิตบ้านแม่สลิดโด่งดังที่อ่างศิลา

17.2493522, 99.0246507

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 161


การถักทอเส้นใยไหมและใบลาน

การถักทอเส้นใยไหมและใบลาน

บ้านปากร้องห้วยจี้ หมู่ที่ 2 ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และหน่วยขับเคลื่อนวัตกรรมเพื่อสังคม –SID ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนาต่อยอดนวัตกรรม “การถักทอเส้นใยไหมและใบลาน” ด้วยคุณสมบัติของเส้นใยไหมที่มีความเหนียว ทนทาน และสวยงามทรงคุณค่า เมื่อนำมาถักทอผสมผสานกับใบลานที่มีคุณสมบัติแข็งแรงและทนทานเช่นกัน จึงทำให้เอกลักษณ์ “ผ้าไหมใบลาน” มีความสวยงามและคงทนกว่าผ้าไหมโดยทั่วไป ทั้งนี้ บ้านปากร้องห้วยจี้ ได้มีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ (BCG) ที่หลากหลาย เช่น กระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าเป้ เฟอร์นิเจอร์และ ของประดับตกแต่งบ้าน เป็นต้น

17.0291434, 99.0789022

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 48

Google search

Mic

ประวัติอำเภอสามเงา

ประวัติอำเภอสามเงา

เล่าสืบต่อกันว่า ในอดีตกาลครั้งกระโน้น พระนางจามเทวีได้เสด็จทางชลมารค ขึ้นมา ตามลำน้ำปิงจะไปครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน)พอถึงหน้าผาริมน้ำแห่งหนึ่งก็เ

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มน

ขนมเส่งเผ่ และ ฮาละหว่า จังหวัดตาก

ขนมเส่งเผ่ และ ฮาละหว่า จังหวัดตาก

เส่งเผ่ และฮาละหว่า เป็นชื่อของขนมหวานของชาวไทยใหญ่ “เส่งเผ่” มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ต่างกันตรงห

คันทรี่ รีสอร์ท

คันทรี่ รีสอร์ท

คันทรี่รีสอร์ท เป็นรีสอร์ทกึ่งโรงแรมใกล้ตัวเมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่ใกล้ๆ แม่น้ำปิง บรรยากาศร่มรื่นด้วยต้นไม้และน้ำตกแนวธรรมชาติ มีห้องพักจำนวน&n