ฟ้อนมองเซิง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

ฟ้อนมองเซิง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้ชม 29

[15.7840425, 98.1841041, ฟ้อนมองเซิง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก]

       “ฟ้อนมองเซิง” เป็นการแสดงของชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาแต่งงานตั้งรกรากในในหมู่บ้านโนนไทย ต.โนนใหญ่ อ.เขียงใน จ.อุบลราชธานี จะจัดการละเล่นสนุกสนานหลังกลับจากเร่ขายสินค้าเป็นเวลานาน โดยใช้ฆ้องที่มีอยู่ทุกบ้าน เชื่อว่าเป็นมงคล ตีประกอบจังหวะการร่ายรำอย่างสนุกสนาน 
       ฟ้อนมองเซิงในปัจจุบัน มี  2 แบบ แบบดั้งเดิมเป็นการแสดงของชายล้วน 4 คนขึ้นไป นุ่งโสร่ง มีผ้าโพกศีรษะ ท่ารำคล้ายท่ารำมวย ออกลีลาท่าทางเลียนแบบไก่ชน มีท่ารำ 3 ท่าได้แก่ ช้างประสานงา หนุมานคลุกฝุ่น และจระเข้ฟาดหาง 
       ต่อมาประยุกต์โดยใช้ผู้หญิง สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลม ผ้าซิ่นสีดำ มีสไบคล้องคอ และประดิษฐ์ ท่ารำใหม่ ให้เข้ากับนาฏศิลป์ไทย มี่ทั้งแบบใช้เครื่องดนตรี ประกอบคือฆ้อง จากเล็กไปหาใหญ่ จำนวน 9 ใบ กลองสองหน้าหรือตะโพน จำนวน 1 ใบและฉาบขนาดใหญ่และเล็กอย่างละคู่
       ปัจจุบันการฟ้อนมองเซิง ที่สภาวัฒนธรรมอุ้มผาง ได้สืบสานและอนุรักษ์ เป็นการแสดงเฉพาะถิ่น แสดงในวันสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกานต์ เป็นต้น พื้นที่ใช้ซ้อมมองเซิง คือลานหน้าอาคารอเนกประสงค์ หมู่ 6 บ้านใหม่ท่าแพ
       ฟ้อนมองเซิง เป็นการแสดงที่คนอุ้มผางนิยมรำมานานหลายปี เพราะดนตรีสนุกสนานท่ารำชวนมองและการแต่งกายสีสันงดงาม แต่เดิมนิยมรำเฉพาะในการแห่เทียนเข้าพรรษา และแห่สงกรานต์ แต่ต่อมานำไปแสดงทุกงานที่มีโอกาส ปัจจุบันใช้ดนตรีประกอบการฟ้อนจากการเปิดเครื่องเสียง ในอนาคตเมื่อมีความพร้อมก็จะใช้เครื่องดนตรีแบบดั้งเดิม คือฆ้องและกลองงที่เคยมีแต่เดิม

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
       นางยุพิน ถาวร รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภออุ้มผาง                  
       เลขที่ 838 หมู่ 1 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก 63170
       โทรศัพท์มือถือ 062-2585608               

คำสำคัญ : ฟ้อนมองเซิง

ที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. (2566). https://tak.m-culture.go.th/th/db_95_tak_50/186431

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ฟ้อนมองเซิง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2257&code_db=610004&code_type=TK002

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2257&code_db=610004&code_type=TK002

Google search

Mic

ผ้าทอกี่เอว

ผ้าทอกี่เอว

ผ้าทอกี่เอว เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของชาวปะกาญอ ในบ้านกุยเลอตอ ซึ่งสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน การทอผ้ากี่เอวนี้เป็นการทอผ้าด้วยมือโดยใช้เครื่องมือพื้นฐานที่เรียกว่า “กี่เอว” ซึ่งเป็นกี่ทอผ้าขนาดเล็กที่ต้องผูกติดกับเอวผู้ทอ ทำให้สามารถพกพาไปทอได้ทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่เหมือนกับการทอผ้าแบบกี่ใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 41

พิธีทำบุญยุ้งข้าว

พิธีทำบุญยุ้งข้าว

พิธีทำบุญยุ้งข้าว เป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวกะเหรี่ยงในชุมชนบ้านกุยเลอตอ ที่สะท้อนถึงความเคารพและขอบคุณต่อพระแม่โพสพและข้าว ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารหลักของชุมชน โดยเฉพาะข้าวเหนียวที่มีความสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิตประจำวัน พิธีทำบุญยุ้งข้าวถือเป็นการแสดงความขอบคุณต่อธรรมชาติและพระแม่โพสพ ที่คอยปกป้องและให้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ชุมชนจะได้มารวมตัวกัน เพื่อสร้างความสามัคคีและเคารพต่อข้าวซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 28

หลังคาตองตึง

หลังคาตองตึง

หลังคาตองตึง ทำมาจากใบต้นตองตึง คือต้นพลวงในภาษากลาง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 20-30 เมตร เป็นพันธุ์ไม้หลักของป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง หรือป่าแดง ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร หลังคาตองตึงใช้แพร่หลายในจังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะปัจจุบันยังพบเรือนตามชนบท กระบวนการทำหลังคาตองตึงเกิดขึ้นในหน้าแล้งประมาณเดือนธันวาคม – มีนาคม เป็นช่วงที่ใบตองตึงกำลังร่วงเพื่อผลัดเปลี่ยนใบใหม่ โดยตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-8.00 น. ชาวบ้านจะเริ่มเข้าป่าเพื่อไปเก็บใบตองตึงแห้งที่ร่วง ซึ่งในช่วงเช้าของฤดูหนาวหมอกและไอน้ำช่วยให้ใบตองตึงที่แห้งอ่อนตัวลง

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 23

ฟ้อนมองเซิง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

ฟ้อนมองเซิง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

ฟ้อนมองเซิง เป็นการแสดงที่คนอุ้มผางนิยมรำมานานหลายปี เพราะดนตรีสนุกสนานท่ารำชวนมองและการแต่งกายสีสันงดงาม แต่เดิมนิยมรำเฉพาะในการแห่เทียนเข้าพรรษา และแห่สงกรานต์ แต่ต่อมานำไปแสดงทุกงานที่มีโอกาส ปัจจุบันใช้ดนตรีประกอบการฟ้อนจากการเปิดเครื่องเสียง ในอนาคตเมื่อมีความพร้อมก็จะใช้เครื่องดนตรีแบบดั้งเดิม คือฆ้องและกลองงที่เคยมีแต่เดิม

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 29

เดปอถู่ จิตวิญญาณที่คงอยู่

เดปอถู่ จิตวิญญาณที่คงอยู่

“เดปอถู่” เป็นป่าทางความเชื่อที่ชาวกะเหรี่ยงถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน กล่าวคือ เมื่อเด็กแรกเกิดผู้เป็นพ่อจะนำรกหรือ”เด”บรรจุในกระบอกไม้ไผ่มัดปากกระบอกพันด้วยผ้า รุ่งเช้าผู้เป็นพ่อจะไปผูกติดกับต้นไม้ โดยจะคัดเลือกต้นไม้สมบูรณ์และมีความแข็งแรง ต้นไม้นี้เรียกว่า “เดปอถู่”  เชื่อว่า ขวัญของเด็กผู้นั้นจะอยู่กับต้นไม้นั้นตลอดไป

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 809