ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด

ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 498

[16.7557014, 98.433518, ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด]

      ค่าว คือ กลอน คำประพันธ์พื้นบ้าน ที่ต้องอาศัยความชาญฉลาดของผู้แต่งในด้านคำสัมพันธ์ เสียงเสนอะ และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาถิ่นด้วย ชุมชนหัวเดียด เป็นชุมชนคนลาวที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองตาก เคยเป็นย่านที่มีบริษัทค้าไม้ของฝรั่งถึงสองแห่ง จึงทำให้คนลาวย่านหัวเดียดเก่งในด้านกิจการป่าไม้ การล่องซุงไม้สัก และ ทำการทางเรือ ด้วยการนำสินค้าจากภายในย่านและชุมชนโดยรอบ ขนลงเรือชะล่าล่องลงไปขายย่านตลาดลาวที่เมืองปากน้ำโพ เราเรียกพ่อค้าที่ทำกิจการจนมีฐานะว่า "นายฮ้อยเรือ"
      ชุมชนหัวเดียวเป็นชุมชนคนลาวที่เก่าแก่ มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ หนึ่งในนั้นคือ ภาษา ดังที่ปรากฏจากหลักฐานบนพับสา ที่จารอักษรล้านนา เป็นคำค่าว(กลอน) เล่าเรื่องหญิงสาวพลัดพรากจากชายอันเป็นที่รัก เพราะความตายมาพรากไป คนในย่านวัดยังเล่าให้ฟังว่าสมัยเมื่อราว50 ก่อน ในงานสวดพระอภิธรรมศพ ในชุมชนหัวเดียด คนเฒ่าจะร่วมกลุ่มกันสองสามคน มาขับค่าว เป็นทำนองสำเนียงเสียงลาว เราเรียกการสวดในลักษณะนี้ทางภาคกลางว่า สวดคฤหัส นั้นเอง
      ความรวยรินร่ำรวยทางวัฒนธรรมของเมืองตาก คืออัตลักษณ์ของเมืองบนความหลากหลายทางชาติพันธ์ เกิดการรับ ผสมผสานนำไปสู่เมืองอันเป็นเพชรเม็ดหนึ่งบนลำน้ำปิง นั้นเอง

 

(ข้อมูลดี ๆ จากพระครูประโชติ รัตนากร วัดดอยมูลชัย และอนุเคราะห์ภาพจากวัดดอยมูลชัย)

คำสำคัญ : ค่าว, กลอน

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/776116589145217

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด. สืบค้น 7 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2045&code_db=610004&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2045&code_db=610004&code_type=TK007

Google search

Mic

ประเพณีแหล่สางลอง (แห่ลูกแก้ว)

ประเพณีแหล่สางลอง (แห่ลูกแก้ว)

ประเพณีแหล่ส่างลอง หรือพิธีกรรม “แหล่” เป็นคำภาษาไทยใหญ่ แปลว่า แห่ “ส่างลอง” หมายถึง ลูกแก้ว ชาวไทยใหญ่ และชาวไทยใหญ่ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในเขตอำเภอแม่สอด มักจะทำการบวชเณร ซึ่งเป็นลูกแก้วหรือหลานของตนเองในช่วงปิดภาคเรียน ระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนเมษายนของทุก ๆ ปี

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,441

ประเพณีแล้อุปั๊ดตะก่า

ประเพณีแล้อุปั๊ดตะก่า

ประเพณีแล้อุปั๊ดตะก่า หรือ แล้อุ๊๊ดตะก่า เป็นประเพณีแห่รับข้าวพระพุทธของคนเชื้อสายไทยใหญ่ในแม่สอด คำว่า “แล้อุปั๊ดตะก่า” เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึง คณะอุบาสกแห่รับข้าวพระพุทธจากผู้มีจิตศรัทธาถวายพระพุทธเจ้า ซึ่งจะจัดขึ้นในหนึ่งวันก่อนวันเข้าพรรษาของทุกปีประเพณีนี้เป็นประเพณีของคนท้องถิ่นคนไทยใหญ่ (คนไต) กล่าวคือ คนไทยใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเดียวและยึดเหนี่ยวจิตใจ ในทุกบ้านทุกหลังคาเรือนจะมีหิ้งพระพุทธรูปไว้ในบ้าน บูชาด้วยดอกไม้สด ธูป เทียน เป็นเครื่องสักการะ และในทุกๆเช้าจะถวายข้าวพระพุทธก่อนอื่นเป็นประจำ โดยถือเป็นกิจวัตรและจะสอนให้ลูกหลานได้ถือประพฤติปฏิบัติตามและสืบทอดจนมาถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,647

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์หรือ "ก๋วนข้าวทิพย์" ประจำปี ณ วัดสักทองวนาราม ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นประเพณีที่มีพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมให้ประเพณีดังกล่าวอยู่คู่กับท้องถิ่นสืบทอดต่อกันไปชั่วลูกหลานบนพื้นฐานความเป็นคนไทย ซึ่งผู้ที่จะเป็นคนกวนข้าวนั้น จะต้องแต่งชุดขาวห่มขาว เพื่อให้ข้าวที่จะนำไปแจกจ่ายขาวสะอาดและบริสุทธิ์ เป็นข้าวทิพย์ที่ชาวบ้านจะนำไปแบ่งปันกินกันเพื่อความเป็นสิริมงคลประธานชุมชนสักทอง กล่าวว่า ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือ ชาวบ้านเรียกว่า "ก๋วนข้าวทิพย์" 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,245

ประเพณีกาดสวรรค์

ประเพณีกาดสวรรค์

ประเพณีกาดสวรรค์หรือ ประเพณีตลาดสวรรค์ จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ณ วัดแม่ซอดน่าด่าน (วัดหลวง) ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นประเพณีที่มีมาช้านานแล้ว จากแนวคิดและความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่เล่าต่อกันมาว่า หลังจากออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ โดยเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง ชาวไทยใหญ่จะจัดทำอาหารหวานคาวแห่ไปรอบๆ หมู่บ้านเพื่อให้ทุกคนมาร่วมงาน แล้วจึงทำทำพิธีถวายอาหารแด่พระพุทธในตอนกลางวัน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 654

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย

เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะจัดงานประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เป็นประจำทุกปี โดยใช้สถานที่บริเวณหน้าเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ศูนย์การค้าแม่เมยซิตี้ หมู่ 2 ตำบลท่าสายลวด ซึ่งภายในงานชมการแสดงซื้อสินค้า OTOP นานาชนิดและสินค้าราคาถูกต้อนรับฤดูหนาว ชมการแสดงการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทยเทิดองค์ราชันย์พร้อมหางเครื่อง การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค ชมมวยไทยปะทะมวยพม่า ตระการตาและตื่นใจกับไฟกระทงไหลขึ้นเหนือ การประกวดนางนพมาศ ไทย-พม่า การแสดงวงโปงลางต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 491

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เรื่องมีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ ครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,585

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย  เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สำหรับประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะลอยกระทงแปลกกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยจะลอยกระทงจากทิศใต้ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นขนบประเพณียาวนานของสองฝั่งเมยของชาวไทยและชาวพม่า

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 1,550

ประเพณีกินข้าวใหม่ม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ม้ง

ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน ได้ออกผลผลิตและทำการเก็บเกี่ยวแล้ว และจะต้องมีการเชิญผู้ที่ชาวม้งเคารพรักนับถือไปร่วมการสืบสานประเพณี “กินข้าวใหม่ ดื่มเหล้าเขาวัว” ในช่วงข้าวใหม่ออกผลผลิต ในช่วงที่เรียกว่า ปลายฝน ต้นหนาว ปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี โดยผู้นำชาวม้งจะมีการนำข้าวใหม่ไปเชิญผู้ที่เคารพนับถือในท้องถิ่นหลายๆท่านเพื่อให้ไปร่วมงานประเพณีดังกล่าว

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 2,119

ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด

ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด

ค่าว คือ กลอน คำประพันธ์พื้นบ้าน ที่ต้องอาศัยความชาญฉลาดของผู้แต่งในด้านคำสัมพันธ์ เสียงเสนอะ และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาถิ่นด้วย ชุมชนหัวเดียด เป็นชุมชนคนลาวที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองตาก เคยเป็นย่านที่มีบริษัทค้าไม้ของฝรั่งถึงสองแห่ง จึงทำให้คนลาวย่านหัวเดียดเก่งในด้านกิจการป่าไม้ การล่องซุงไม้สัก และ ทำการทางเรือ ด้วยการนำสินค้าจากภายในย่านและชุมชนโดยรอบ ขนลงเรือชะล่าล่องลงไปขายย่านตลาดลาวที่เมืองปากน้ำโพ เราเรียกพ่อค้าที่ทำกิจการจนมีฐานะว่า "นายฮ้อยเรือ"

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 498

ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ๊

ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ๊

ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ๊ หรือประเพณีกวนข้าวหย่าฮู้ เป็นประเพณีท้องถิ่นที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีความผู้กพันกับชุมชนและชาวบ้าน ผู้ที่ทำการเกษตรมาเป็นเวลาช้านาน โดยเชื่อว่าหลังจากทำนาหรือหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าเสร็จ จะต้องมีการระลึกถึงบุญคุณของข้าวหรือพระแม่โพสพ ที่ได้คุ้มครองไร่นาของชาวบ้านให้มีข้าวไว้หล่อเลี้ยงชีวิตและเมื่อได้ข้ามาก็จะนำไปถวายวัดเพื่อความเป็นสิริมงคล และข้างนั้นจะต้องเป็นข้างใหม่ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ชาวไทยใหญ่จึงจัดประเพณีถวายข้าว สืบต่อกันจนถึงปจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,038