ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา

ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้ชม 1,449

[16.4391539, 99.5050323, ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา]

บทนำ
        ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ผู้คนต่างแข่งขันกันในทุกด้าน เพื่อพัฒนาปรับปรุงตนเองให้อยู่รอดทั้งในด้านการดํารงชีวิต การทํางานทุกขณะ ทําให้ผู้คนมากมายเกิดความ ท้อแท้ ขาดที่พึ่ง ขาดกําลังใจเพราะไม่สามารถปรับตัวได้การศึกษาเล่าเรียน ให้สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ที่กําลังเปลี่ยนแปลงไปในใหม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สิ้นหวังที่จะต่อสู้และใช้ชีวิตในแต่ละวัน ได้อย่างเป็นสุข เกิดภาวะต้องการที่พึ่ง ต้องการกําลังใจ จนกระทั่งในบางครั้งคิดหวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออํานาจ เหนือธรรมชาติ เพื่อทําให้ตนเองมีจิตใจที่เข้มแข็งเมื่อเกิดภาวะวิกฤติและมีกําลังใจที่จะสามารถเผชิญปัญหา ที่กําลังประสบอยู่ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่น ดังจะสังเกตเห็นได้ทั้งในครัวเรือน เช่น ศาลพระภูมิ รูปเคารพ และในชุมชน เช่น ศาลเจ้า หรือในสถานที่ราชการ ที่ทํางาน เช่น รูปเคารพ เทวรูป เป็นต้น ที่ผู้คนสร้างไว้เพื่อ ก่อเกิดผลในในด้านจิตใจ และมีความหวังว่าหากบนบาน ขอร้องหรือแสดงความเคารพนอบน้อมต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งที่มีอํานาจเหนือธรรมชาติ เช่น ผี หรือวิญญาณต่าง ๆ แล้ว สิ่งดังกล่าวจะให้ความช่วยเหลือต่อผู้ให้ ความเคารพในทุกสิ่งตามที่ปรารถนาและหากเป็นไปได้ดังที่ปรารถนาย่อมก่อทําให้เกิดกําลังใจและรู้สึกปลอดภัย จนกระทั่งมีการตอบแทนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ได้บนบานไว้ต่อไป
        ปัจจุบันการทรงเจ้าหรือการเข้าทรงได้มีการพัฒนาไปมาก โดยคนทรงมิได้ประกอบพิธีทรงเข้าเฉพาะ ในตําหนักทรงหรือหอผีเฉพาะในชุมชนตนเองเท่านั้น แต่ยังได้มีการพบปะสังสรรค์และได้มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทรงเจ้าในงานประจําปีที่คนทรงอื่นขัดขึ้น เช่น งานไหว้ครูประจําปีของบรรดาร่างทรง ที่มีอยู่ทั่วประเทศตามแต่ที่ได้รับการเชื้อเชิญอย่างเป็นประจําและสม่ําเสมอ การกระทําดังกล่าวนอกจากจะเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ต่อกันให้เกิดขึ้นในกลุ่มของ คนทรงแล้วยังเป็นการถ่ายทอดและตอกย้ําความเชื่อของคนที่มีความเชื่อในอํานาจเหนือธรรมชาติให้มั่นคงยิ่งขึ้นรวมทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งทรงเจ้าให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ด้วยเช่นกัน

ความหมายของพิธีกรรมการเข้าทรง
       พิธีกรรมการเข้าทรง เป็นพิธีกรรมที่มีมานาน โดยมีหลายท่านให้ความหมายไว้ดังนี้ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2564) กล่าวว่า คนทรง หรือ ร่างทรง หมายถึง คนที่ให้เจ้าหรือผีมาเข้าสิงในตัว การเข้าสิงนั้น เรียกว่า "การเข้าทรง" Lan Anh -VOV5 (2557) กล่าวว่า การทรงเจ้าเป็นพิธีการสื่อสารกับเทพเจ้าต่าง ๆ ผ่าน ร่างทรง ลักษณะของการเข้าทรงก็คือ การกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่มีวิญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูง มาประทับร่างเพื่อประทานพรให้มนุษย์ ณิชาพร จําเนียร และ อรพรรณ พิศลยบุตร (2565) กล่าวว่า พิธีกรรม เข้าทรง หรือ ร่างทรง ในความหมายของคนทั่วไปคือ บุคคลที่สามารถจะรับจิต วิญญาณของผู้อื่นที่จากไปแล้ว หรือ จากจิตวิญญาณของผู้อื่นที่เป็นเทพ เทวดา มาสิงสถิตอยู่ในร่างกายของตัวเองได้
       สรุปความหมายของพิธีกรรมการเข้าทรง คือ การเข้าทรงเพื่อเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของ เทพเจ้าต่าง ๆ ให้เข้ามาประทับร่างของมนุษย์เป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโลกของมนุษย์เข้ากับโลกของอํานาจ เหนือธรรมชาติ ซึ่งมีร่างกายของร่างทรงในฐานะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทําหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การเชื่อมโลกสองโลกเข้าด้วยกัน

ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการเข้าทรงของคนไทย
       พระครูโสภิตสิริธรรม (สิริธโร ทาอ่อน), บุญส่ง สินธุ์นอก และสมเดช นามเกตุ (2564) กล่าวว่า ความเชื่อ เรื่องพิธีกรรมการเข้าทรงของคนไทยทุกภูมิภาคมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความเชื่อและพิธีกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่มีการถ่ายทอดซึ่งความเชื่อนั้นเป็นเรื่องนามธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนและ ระหว่างกลุ่มชนกับสภาพแวดล้อมแม้ว่าบุคคลแต่ละบุคคลจะมีความเชื่อเป็นของตนเองแต่ระบบความเชื่อของ บุคคลก็เป็นพื้นฐานในการรองรับการอยู่ร่วมกันของกลุ่มเพราะบุคคลที่อยู่ในกลุ่มชนเดียวกันจะผ่านสถาบัน แห่งการเรียนรู้ทางสังคมมาคล้ายคลึงกันและสื่อที่จะให้การเรียนรู้ทางสังคมก็จะนําจริยธรรมของศาสนาในสังคมนั้น ๆ มาให้การกล่อมเกลาสมาชิกของกลุ่มชนเพื่อให้มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันในทางวัฒนธรรมสําหรับ ในส่วนของพิธีกรรมนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ตอกย้ําคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แสดงออกโดยการกระทําและถ้อยคํา ซึ่งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนพิธีกรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ความคิดเห็นความรู้สึกของสมาชิกในชุมชนนั้นด้วยการประกอบพิธีกรรมช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคมในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและมนุษย์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติความเชื่อภายในชุมชนประกอบไปด้วยความเชื่อแบบผีพราหมณ์พุทธซึ่งความเชื่อแบบผีนี้นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่เป็นรากฐานความเชื่อของคนชนบทและมีผลต่อวิถีการดําเนินชีวิตเป็นอย่างมากและยังคงยึดถือศรัทธามาจนถึงปัจจุบันเสมือนเป็นการให้คุณค่ากับธรรมชาติให้ความเคารพต่อบรรพบุรุษและความเชื่อ ความเกรงกลัวต่ออํานาจเหนือธรรมชาติโดยได้แสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่ทําให้เห็นว่าคนในสังคมนั้นมีความเชื่อในเรื่องใดบ้างเช่นการแสดงออกมาในรูปของกฎข้อห้ามข้อนิยมต่าง ๆ คําสอนตลอดจนประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ จนกลายเป็นตัวกําหนดวิถีชีวิตและพัฒนาการของคนในสังคมนั้น ๆ ความเชื่อของในสังคมไทย แต่เดิมนั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากชนชาติอื่น ๆ กล่าวคือ มีความเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นว่ามีอํานาจเหนือคน และสามารถบันดาลให้ทั้งคุณและโทษโดยความเชื่อในที่นี่ปรากฏมาในรูปเฉพาะของความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี อาทิ การนับถือผีเป็นเทวดาอารักษ์ เช่น รุกขเทวดา เจ้าทุ่ง เจ้าป่าเจ้าเขา การนับถือผีปู่ย่าตายายหรือผีบรรพบุรุษ การนับถือผีวีรบุรุษ เช่น ผีฟ้า การนับถือผีร้าย เช่น ผีห่า ผีกะ ผีปอบ เป็นต้น ถึงแม้ว่าในทางพุทธศาสนาจะถือว่า การเข้าทรงหรือการทรงเจ้าเป็นเดรัจฉานวิชาแต่กระนั้นความเชื่อเรื่องการเข้าทรงยังคงมีอยู่ในสภาพของสังคม ในปัจจุบันที่เป็นสังคมแห่งการแข่งขันเป็นสังคมแห่งการแย่งชิงแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาความเจริญในด้าน วัตถุความสะดวกสบายในการดํารงชีวิตเป็นสังคมแห่งเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ทําให้ส่งผลให้ เกิดความแตกต่างของการดํารงชีวิตระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมืองผู้คนในสังคมเริ่มเคยชินกับการอยู่คนเดียว หรือเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นเวลามีปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตก็จะแก้ปัญหาด้วยตนเองหรือการที่หันไปพึ่งสิ่งที่ ตนเองคิดว่าเป็นที่ปรึกษาที่รอบรู้และสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างเช่นการไปหา “ร่างทรง” เพื่อขอให้ประกอบพิธีกรรมการ “เข้าทรง” เพื่อต้องการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงานเรื่องเงินเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองที่กําลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบันอย่างเช่นบางคนเป็น โรคชนิดหนึ่งที่แพทย์ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไรหรือยังไม่มีวิธีการรักษาการเกิดภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่ไม่สามารถหาคําตอบได้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทําให้ผู้คนหันหน้าไปพึ่งการเข้าทรงมากขึ้นจะเห็นได้ จากตําหนักของร่างทรงที่มีจํานวนมากไม่ว่าตําหนักทรงเจ้าเสด็จพ่อ ร.5 ตําหนักทรงเจ้าพระแม่อุมาตําหนักทรงกุมารทองเป็นต้นกระจายไปในตามที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในเขตชนบทหรือในเมืองใหญ่แสดงให้เห็นถึง สภาวะการอ่อนแอทางจิตความต้องการหาที่พักพิงผู้ที่ให้คําปรึกษาในด้านต่าง ๆ เพราะมีความเชื่อว่าเทพที่มาเข้าทรงโดยผ่านร่างทรงเป็นเทพที่อยู่บนสวรรค์ต้องการมาช่วยเหลือมนุษย์ยามที่เดือดร้อนเป็นผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์ สามารถดลบันดาลให้สิ่งที่ตนขอหรือร้องขอได้และเป็นผู้ที่ให้คําตอบทุกปัญหาโดยผ่านกระบวนการ “เข้าทรง

ทําไมต้องเข้าทรง
        ยโสธารา ศิริภาประภากร (2557) กล่าวว่า เพื่อขอคําปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงานเรื่องเงินเรื่อง เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองที่กําลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปรึกษา เกี่ยวกับรักษาโรคภัยไข้เจ็บชาวบ้านปรึกษาเกี่ยวกับการพยากรณ์ดวงชะตาการสะเดาะเคราะห์การตั้งชื่อและหาฤกษ์ยามการให้ศีลให้พรเสริมบารมีเชื่อว่าร่างทรงคือตัวแทนของผู้เทพผู้มีอํานาจมีอิทธิฤทธิ์เชื่อว่าเจ้าทรง สามารถยกฐานะทางสังคมและฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและเชื่อว่าเจ้าทรงสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆให้หายได้ 

การเข้าทรงในแต่ละพื้นที่
        พระครูโสภิตสิริธรรม (สิริธโร/ทาอ่อน), บุญส่ง สินธุ์นอก และสมเดช นามเกตุ (2564) กล่าวว่า การเข้าทรง เป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ มีรากเหง้าก่อเกิดขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาการทางจิตวิญญาณของมนุษย์ สําหรับสังคมไทยการทรงเจ้าเริ่มปรากฏเป็นหลักฐานที่ชัดเจน แต่การทรงเจ้าถูกปลูกฝังไปพร้อมกับความเชื่อ ของไทยโบราณ ซึ่งในสังคมไทยโบราณนั้นมีการนับถือผีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นพลังเหนือธรรมชาติ พลังจาก บรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ความเชื่อแบบนี้อยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน และการทรงเจ้านั้นก็ยังถูก ปลูกฝังไปพร้อมกับหลักธรรมคําสอนของศาสนาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาฮินดู ที่นับถือเทพเจ้ามากมาย จนหล่อหลอมเกิดเป็นวัฒนธรรมร่างทรงขึ้นมา การทรงเจ้าและร่างทรงนั้นมีมานานแล้ว ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ ๔ บันทึกไว้ว่ามีการลงโทษคนทรงเจ้า เพราะว่าคนเหล่านี้ก่อให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงปล่อยข่าวลือ ก่อนเกิดเหตุไฟไหม้อยู่เสมอ เพื่อเป็นการข่มขู่ให้ราษฎรหวาดกลัวไม่กล้าเอาเยี่ยงอย่าง อีกทั้งคนกลุ่มนี้ยังอยู่ในกลุ่มผู้ต้องสงสัยคดีลอบวางเพลิง ดังคํากล่าวที่ว่า “เมื่อกลัวจะมีสมคําดังว่า ก็คิดอ่านการทุจริตทิ้งไฟประกอบเหตุ
        1. การแต่งกายและเครื่องเซ่นประกอบพิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคเหนือ
        ก่อนวันงานจะมีการจัดเตรียม "ผาม" หรือ "ปะรํา" ขนาดผามแล้วแต่จํานวนคนในตระกูลและผู้เข้าร่วมพิธี หลังคาผามมุงด้วยทางมะพร้าว หญ้าคา หรือใบตองตึง ตกแต่งประดับผามให้สวยงามด้วยทางมะพร้าว ต้นกล้วย ขี้ผึ้ง หม้อน้ํา น้ําต้น ฯลฯ มีผ้าขาวยาวโยงอยู่ตรงกลางผามสําหรับให้ร่างทรงโหนเชิญผีมาเข้าทรง ด้านหน้าผาม จะยกพื้นสําหรับวางเครื่องเซ่น เครื่องเซ่นก็จะมีหัวหมูต้ม ไก่ต้มทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนม ผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย มะพร้าว ฯลฯ ถัดจากอาหารคาวหวานจะมีที่สําหรับจัดวางเครื่องแต่งกายของร่างทรง จําพวก ผ้าโสร่ง ผ้าโพกหัวสีต่างๆ สําหรับผู้ที่จะฟ้อนนุ่งทับลงไปเวลาผีเข้าแล้ว
        2. การแต่งกายและเครื่องเซ่นประกอบพิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคอีสาน
        ฟ้อนผีฟ้า เพื่อเป็นการเซ่นสรวงที่พระองค์เจ้าซื้อ ได้บันดาลให้พวกเขามีความร่มเย็น เป็นสุขในรอบปี ที่ผ่านมาอีกด้วย นางเทียมทุกคนจะนั่งสงบในท่าสมาธิ และ ประนมมือ ในระหว่างทําพิธีจะมีหมอแคนขับกล่อม นางเทียม เมื่อผีฟ้าเข้าสิงจะมีอาการตัวสั่น กระทืบเท้า แล้วสั่งให้หาเครื่องแต่งตัวตามที่ชอบมาสวมใส่ ซึ่งแต่ละคนจะทราบแล้วว่าแต่ละองค์นั้น ชอบแต่งตัวชนิดใด เช่นผีฟ้าผาแดง ชอบผ้าสีแดง สไบแดงและดอกไม้แดง เป็นต้น บางคนก็โพกผ้าขามม้าผ้าไหม เคี้ยวหมากพลู กินเหล้า บางคนก็สูบบุหรี่ ผสมพริกขี้หนู โดยปราศจาก อาการไอหรือจาม เมื่อแต่งตัวเสร็จก็ลุกขึ้นรํา บางองค์ก็ลุกขึ้นร่ายรําเป็นจังหวะเข้ากับเสียงแคน สุดแต่ทํานองแคนจะพาไป ซึ่งโดยมากเป็นพญาลอบทจรนี้ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ล่องโขง" บ้าง "แมลงภู่ชมดอกไม้" บ้าง ชาวบ้านตามแถบนั้นถ้าใคร เจ็บป่วยต้องการอยากรู้ข่าวถึงญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลว่าเป็นอย่างไร โดยมากมักจะบอกได้เป็นที่ถูกต้อง แผ่นหินที่แกะสลักเป็นรูปพระเจ้าองค์เจ้าตื้อ แห่งภูพระได้เหลืองอร่ามด้วยแผ่นเปลวที่ผู้คนนํามาปิด ยามลมอ่อนโชยมาเกิดประกายระยิบระยับ อีกทั้งเบื้องหน้าดาด้วยพุ่มบายศรีขนาดเล็ก ที่ชาวบ้านทํามากับมืออย่างง่ายๆ ด้วยวัสดุที่หาได้ ไม่ว่าจะเป็นใบตองที่นํามาจับพับเป็นรูปเสียงอยู่ด้วย ดอกลั่นทมที่เก็บมาจากต้น ซึ่งขึ้นอยู่รอบภูพระ บ้างก็เป็นกระป๋องเก่าปักด้วยต้นไม้เงินต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ที่ทําจากกระดาษสา พร้อมผ้าไตรที่นํามากราบกราน เนื่องจากพระเจ้าซื้อเป็นพระต้องมีการบวงสรวงด้วยผ้าไตร ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าต้องการเลิกพิธีผีฟ้ามีธรรมเนียมอยู่ว่า นางเทียมคนนั้น ต้องเข้าไปกราบเครื่องสังเวยอาการสิ่งก็จะหายไปและกลับคืนเป็นปกติ
         3. การแต่งกายและเครื่องเซ่นประกอบพิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคใต้
         "ร่างทรง" หรือ "ม้าทรง" ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่สําคัญและโดดเด่นที่สุดกลุ่มหนึ่งในเทศกาลถือศีลกินผัก ของ จ.ภูเก็ต ขบวนแห่ของแต่ละศาลเจ้าที่ประกอบไปด้วยม้าทรงในชุดจีนหลากสีสัน ตามร่างกายมีของแหลมคม ทิ่มแทงใส่ พร้อมเกี้ยวที่หามรูปปั้นองค์เทพต่าง ๆ ผ่านท้องถนนที่คลาคล่ําด้วยผู้มีจิตศรัทธา ท่ามกลางเสียงดัง และควันประทัดทั่วบริเวณ การอัญเชิญพองค์เทพจีนเข้าประทับทรง จะต้องบวงสรวงในข้ามโดยมีม้าทรงและ พี่เลี้ยง 2-3 คน เป็นผู้ช่วย กล่าวบทอัญเชิญพระจีน ตีล่อโก๊ะ ตีกลอง จุดธูป เผาไม้หอม เซ่นไหว้ด้วยผลไม้บูชา หน้ารูปพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรง ม้าทรงตัวสั่นสะท้าน ส่ายหน้าไปมา มือเกร็งสั่นเทิ้มตลอดเวลา ร่างของ ม้าทรงจะวิ่งไปที่หน้าแท่นบูชา หยิบธงและอาวุธประจําตัวของพระจีนองค์ที่เข้าทรงได้ถูกต้อง พี่เลี้ยงจะช่วย ถอดเสื้อม้าทรงออก แล้วเอาเสื้อยันต์ประจําตัวของพระจีนนั้นมาผูกใส่ให้ การแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรงแล้ว บางครั้งจะคว้าอาวุธ คู่มือ มีทั้งดาบจีน ง้าว ขวาน มีด เหล็กแหลม ลูกตุ้มเหล็ก เป็นต้น ออกมาร่ายรํา ฟาดฟัน ทิ่มแทงร่างกายตนเอง เช่น แก้ม ลิ้น แขน หน้าอก หลัง สีข้าง ตัดลิ้นออกมาเขียนยันต์ เขียนให้ผู้เคารพเลื่อมใสเก็บไว้เป็นสิริมงคล การกระทําของพระจีนม้าทรงจะไม่รู้สึกตัวไม่มีความเจ็บปวด ซึ่งหลังจากพระจีนออกจากการเข้าทรงแล้ว ร่างม้าทรงจะมีร่องรอยบาดแผลอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะหายไปเอง โดยใช้ยันต์ปิดไว้ ร่องรอยที่แก้มก็เพียงเอาเถ้าขี้ธูปอุดรูไว้ก็จะหายสนิท
         4. พิธีกรรมการทรงเจ้าในจังหวัดกําแพงเพชร
         การเข้าทรงมีอยู่ทุกภาค ทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่การทรงจะมีความโดดเด่นหรือเอกลักษณ์ของ แต่ละพื้นที่ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่นเดียวกับในจังหวัดกําแพงเพชร พิธีกรรมการทรงเจ้า หรือการเข้าทรงนั้น ไทยรัฐออนไลน์ (2564) กล่าวว่า ร่างทรงจะมี 2 แบบ กลุ่มแรก จะเป็นกลุ่มที่ไม่สืบทอดทางสายเลือด คือ อยากจะอัญเชิญองค์ไหนมาลงก็ได้ (ส่วนมากเป็นสมัยใหม่) ส่วนอีกกลุ่ม คือ การสืบทอดทางสายเลือด (เหมือนกับในภาพยนต์เรื่องร่างทรง) กลุ่มที่มีการสืบทอดทางสายเลือด ร่างทรงไม่ได้เข้าแบบสะเปะสะปะ เหมือนสมัยนี้ แต่เขาจะเลือกคนที่จะเข้า เช่น เฉพาะคนในตระกูลนี้เท่านั้น นอกจากนั้นแล้ว ศิรินยา ระวังภัย (แหม่ม) (การสัมภาษณ์, 5 ธันวาคม 2565) กล่าวว่า ไม่พบหลักฐานปรากฏว่าเกิดขึ้นเมื่อใดแต่ได้รับการ ถ่ายทอดจากพ่อแม่และบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผู้ที่ให้ข้อมูลคือ นางสาวศิรินยา ระวังภัย (แหม่ม) อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 72 หมู่ 3 บ้านสามเรือน ตําบลวังไทร อําเภอคลองขลุง จังหวัดกําแพงเพชร ได้ให้ข้อมูลว่า พิธีกรรม เข้าทรงเป็นพิธีกรรมที่มีการรับสืบทอดมาจากคนรู้จัก หรือคนในครอบครัว โดยเป็นพิธีกรรมที่ใช้บุคคลที่เป็น ร่างทรงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ใช้เพื่อต้องการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงานเรื่องเงินเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองที่กําลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน เช่น คือการที่มีบุคคลในครอบครัวมีอาการป่วยเรื้อรังรักษาทางการแพทย์ไม่หายจึงหาที่พึ่งทางจิตใจโดยการทําพิธีกรรมเข้าทรงเพื่อหาหนทางรักษาให้หายป่วย ในปัจจุบันพิธีกรรมเข้าทรงมีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในหลายภูมิภาค และ เป็นที่รู้จักในหลายช่วงวัย แต่สําหรับบุคคลที่ไม่เชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมเข้าทรงก็จะมองว่าเป็นเรื่องงมงาย แต่ในทาง วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถที่จะหาข้อพิสูจน์ได้ว่าการประกอบพิธีกรรมเข้าทรงทําให้หายจากอาการป่วยได้จริง

ความแตกต่างของพิธีกรรมการทรงเจ้าของแต่ละภูมิภาค
        1. พิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคอีสาน การเข้าทรง หมายถึง การที่สิ่งนอกเหนือธรรมชาติซึ่งได้แก่ ผีสางเทวดาหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเจ้าหรือเทพ ทั้งที่เป็นชายหรือหญิง เด็กและผู้ใหญ่มาสิงสู่หรือเข้าร่างของ ผู้ที่เรียกว่าร่างทรงเพื่อติดต่อกับมนุษย์รวมตลอดไปถึงการให้ความช่วยเหลือด้วยพิธีกรรมต่างๆ เป็นต้นว่า รักษาความเจ็บป่วย ทํานายทายทักดวงชะตาราศีและแม้แต่การให้โชคลาภ โดยขณะที่ทําการเข้าทรงจะแสดง อาการให้เห็น เช่น การเปลี่ยนแปลงของเสียง และกิริยาอาการซึ่งจะแตกต่างไปจากเมื่อยังไม่มีการเข้า เป็นกระบวนการที่มนุษย์ที่เป็นสื่อ หรือ ตัวกลาง ถูกใช้เป็นเครื่องมือจากสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณต่างๆ เพื่อนําเสนอข่าวสาร หรือ ทําให้มองเห็นผีหรือการถ่ายทอดพลัง หรือแสดงตัวเพื่อทดสอบหรือชี้แจง ดังนั้น การเข้าทรง ประกอบด้วย การกระทําร่วมกันระหว่างบุคคลในโลกนี้ (ร่างทรงหมอทรง) กับวิญญาณ (ผู้ติดต่อ) ซึ่งมีพลัง เกิดขึ้นร่วมด้วย ความแตกต่างระหว่างการติดต่อผ่านร่างทรง กับวิญญาณกระทําเอง อยู่ที่การพูดที่แตกต่างกัน การเข้าทรงนั้น ร่างทรงทําให้ร่างกายให้ว่างเปล่าเป็นเวลาสั้น ๆ เพื่อให้วิญญาณเข้าใช้ร่าง ใช้กล่องเสียงในการ ติดต่อสื่อสาร ผ่านทางร่างทรงสู่จิตใจและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปไม่สามารถควบคุมตัวเองได้สูญเสีย ความสามารถในการรับรู้และความจําบางครั้งการที่บุคคลหนึ่งถูกวิญญาณเข้าสิงเป็นร่างทรงทําให้บุคคลนั้น สามารถกําหนดหรือสร้างเอกลักษณ์ของตนเองขึ้นมาโดยการบอกเล่าถึงอาการที่ถูกวิญญาณเข้าที่ไม่เป็นเพียง การเสนอภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคลนั้นแต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์เข้ากับ ประสบการณ์ที่ได้รับซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานของการกระทําต่อไปดังนั้นการเข้าทรงจึงเป็นหนทางหนึ่งของการนําเสนอเอกลักษณ์บางลักษณะของบุคคล
        นางทรง (คนทรง) คือ ร่างทรงที่สามารถติดต่อกับเจ้าปู่ หรือเจ้าผู้ที่จะมาเป็นนางทรง จะเป็นผู้หญิง ที่จะมีญาติพี่น้องที่เคยเป็นร่างทรงหรือนางทรงมาก่อนจึงจะเป็นร่างทรงได้และร่าง ทรงนี้เจ้าปู่หรือของรักษาจะเป็นผู้เลือกเอง ถ้าร่างทรงอ่อนแอเจ็บไข้ป่วยอยู่เสมอเมื่อเป็นร่างทรงก็จะแข็งแรงหายป่วยผู้ที่เป็นร่างทรง มักจะถูกทาบทามก่อนมิได้บังคับขืนใจ จะต้องสมัครใจเองนางทรงหรือ ร่างทรงนี้จะสามารถสื่อสารติดต่อกับ ของรักษาได้และจะเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านชาวบ้านจะให้เกียรตินางทรงมากเพราะว่าถือประหนึ่งเป็นตัวแทนในการติดต่อกับของรักษาที่ชาวบ้านนับถือ
        2. พิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคเหนือ การทรงเจ้าเข้าผีในภาคเหนือออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การทรงเจ้าเข้าผีแบบประเพณีดั้งเดิม (traditional spirit mediumship) และลัทธิพิธีทรงเจ้าเข้าผีสมัยใหม่ (modern spirit mediumship) ลัทธิพิธีแบบแรกเป็นการสืบทอดการเข้าทรงเจ้าเข้าผีที่มีมาแต่เดิมในชุมชน ชนบท ส่วนแบบที่สองเป็นลัทธิพิธีทรงเจ้าเข้าผีในเมือง แม้ทั้งสองแบบจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนักในเรื่องของ ความเชื่อและพิธีกรรม แต่ลัทธิพิธีทรงเจ้าเข้าผีแบบสมัยใหม่มีองค์เจ้าที่มาจากอินเดีย จีน และวีรบุรุษวีรสตรี ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมทั้งเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการสนับสนุนอุดมการณ์ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ในชุมชนในเขตภาคเหนือว่ายังพบเห็น “คนทรง” หรือ “ม้าขี่” ที่ยังคงทําหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนและผีอย่างเหนียวแน่น ด้วยตามพื้นฐานความเชื่อของชาวล้านนาเชื่อว่าพวกเขาเป็นลูกหลานของผีแถนและมีตําแหน่งแห่งที่สําหรับคนและผีในการอยู่ร่วมกันโดยคล้ายกับว่า ในหมู่บ้านหนึ่งภายในชุมชนได้มีทั้งโลกของชาวบ้านที่เป็นมนุษย์และโลกของผีที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชนซ้อนกันอยู่ การจัดตําแหน่งความสําคัญของผีจึงเป็นไปตามระบบหน้าที่ผีที่มีความสําคัญกับชาวล้านนาที่มีส่วนในการควบคุม ความประพฤติของคนในชุมชนและช่วยในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทั้งในระดับครอบครัวจนถึงระดับชุมชน ได้แก่ ผีปู่ย่าทําหน้าที่รักษาความสัมพันธ์และความสงบสุขของสังคมเครือญาติผีเสื้อบ้าน หรือ ผีเจ้าบ้านทําหน้าที่ บันดาลความอุดมสมบูรณ์และคุ้มครองความสงบสุขของคนในชุมชนตลอดจนเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลและเครือญาติให้ยอมรับกฎเกณฑ์ร่วมกันของชุมชน ผีเจ้าวัดทําาหน้าที่ดูแลศาสนสถานและคุ้มครอง พระเณรในวัดให้อยู่ในพระวินัย ผีขุนน้ํา ทําหน้าที่ดูแลแหล่งน้ําและบันดาลน้ําให้แก่เรือกสวนไร่นาของคน ในชุมชน ผีเจ้านายหรือผีวีรบุรุษทําหน้าที่สําคัญที่คุ้มครองดูแลความสงบและปกปักษ์รักษาทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่คน สัตว์ไร่นา ป่า และลําน้ํา มีกําลังอํานาจแผ่ไปไกลมากกว่าผีปู่ย่าหรือผีเจ้าบ้าน ดังนั้นการได้พบกับผี ดังกล่าวจึงคงต้องอาศัยสื่อกลางที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ม้าขี่” มาทําหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคนและผีต่างๆ ซึ่ง “การเข้าทรง” หรือ “การลงผี” นี่เองได้กลายเป็นพิธีกรรมสําคัญที่พบเห็นได้ใน ทุกหมู่บ้านในเขตภาคเหนือที่จะทําให้คนในชุมชนสามารถได้พบปะติดต่อสื่อสารและขอความช่วยเหลือจากผีที่ชาวชุมชนให้ความสําคัญ รวมทั้งการเลี้ยงหรือเซ่นไหว้เป็นประจาทุกปีเพื่อให้ผีดังกล่าวมีความพึงพอใจและทําหน้าที่คุ้มครองคนในชุมชน ดังจะได้ยกตัวอย่างการเข้าทรงของผีเจ้านายทางภาคเหนือผีเจ้านาย เป็นผีที่มี บทบาทต่อวิถีชีวิตมากขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในสังคมสมัยใหม่ผีเจ้านาย คือผีที่มาอาศัยยืมร่างของม้าขี่ เพื่อถ่ายทอด เรื่องราวผ่านร่างม้าขี้สู่ลูกเลี้ยงและลูกหลานผีเจ้านาย อาจะจะได้แก่ดวงวิญญาณของเจ้าเมือง นักรบผีเสื้อเมือง ผีเสื้อบ้าน ผีปู่ย่า หรือผีอารักษ์ต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นผีระดับชั้นเทพ ทั้งที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์หรือนิทาน ปรัมปราในปัจจุบัน ความเชื่ออัตลักษณ์ตัวตนของผีเจ้านายมีความหลากหลายมากขึ้น มนุษย์ปุถุชนหากทํา คุณความดีไว้มาก เมื่อตายไปอาจจะกลายเป็นผีเจ้านายได้พระสงฆ์ที่บรรลุฌานสมบัติผีร้ายต่างๆ เช่น ผีกะ ยักษ์ ผีพราย รวมถึงสัตว์ที่มีอํานาจบางประเภท ก็อาจจะเป็นผีเจ้านายได้เช่นกัน เช่น เจ้าพญาจ้างเผือก เจ้าพญา เสือสมิง เจ้าหงพราย เจ้ากะยักษ์เจ้าผู้หนามจิ๋ว ขุนอินคา เป็นต้น ผีเจ้านายทําหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ ได้ยาก ปัดเป่าเคราะห์รักษาอาการเจ็บป่วย ช่วยเหลือด้านความเจริญรุ่งเรือง อํานวยความสุขสมบูรณ์ฯ ความร่มเย็นให้กับม้าขี่ ชุมชน และลูกเลี้ยง ปัจจุบันความเชื่อเรื่องผีเจ้านาย มีความหลากหลายและมีความ ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นให้มีความสงบสุขและบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้กับชุมชน
        3. พิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคใต้ ลักษณะความเชื่อกันว่าการเข้าทรงของพระจีนเป็นการแสดง อิทธิฤทธิ์ของพระจีนและสามารถปัด เป่าสิ่งชั่วร้าย บันดาลความสุขให้แก่ผู้เคารพเลื่อมใสพระจีน และเชื่อกันว่า ผู้ที่เป็นม้าทรง (คนทรง) ของพระจีนได้ จะต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะดังนี้
           1. เป็นคนชะตาขาดกําลังจะดับ แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องตาย พระจีนหรือเจ้าจะเข้าประทับทรง เป็นการช่วยเหลือต่ออายุให้ม้าทรง
           2. โดยความสมัครใจของม้าทรงที่จะเสียสละอุทิศตนรับใช้พระจีน และพระจีนยอมรับว่า เป็นบุคคลที่ เหมาะสมให้เป็นม้าทรงได้
           3. พิธีกรรมการทรงเจ้าแบบพระจีน
       ความสําคัญการเข้าทรงของพระจีน จะมาช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ร้อน รักษาโรคภัยไข้เจ็บ บันดาลความ เจริญรุ่งเรืองในการประกอบอาชีพ และอํานวยความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ที่เคารพเลื่อมใสพิธีกรรม
       1. การอัญเชิญพระจีนเข้าประทับทรง จะต้องบวงสรวงในอ้ามโดยมีม้าทรงและพี่เลี้ยง 2-3 คน เป็นผู้ช่วย กล่าวบทอัญเชิญพระจีน ตีล่อโก๊ะ ตีกลอง จุดธูป เผาไม้หอม เซ่นไหว้ด้วยผลไม้บูชาหน้ารูปพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรง ม้าทรงตัวสั่นสะท้าน ส่ายหน้าไปมา มือเกร็งสั่นเทิ้มตลอดเวลา ร่างของม้าทรงจะวิ่งไปที่ หน้าแท่นบูชา หยิบธงและอาวุธประจําตัวของพระจีนองค์ที่เข้าทรงได้ถูกต้อง พี่เลี้ยงจะช่วยถอดเสื้อม้าทรงออกแล้วเอาเสื้อยันต์ประจําตัวของพระจีนนั้นมาผูกใส่ให้
       2. การแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรงแล้ว บางครั้งจะคว้าอาวุธ คู่มือ มีทั้งดาบจีน ง้าว ขวาน มีด เหล็กแหลม ลูกตุ้มเหล็ก เป็นต้น ออกมาร่ายรํา ฟาดฟัน ทิ่มแทงร่างกายตนเอง เช่น แก้ม ลิ้น แขน หน้าอก หลัง สีข้าง ตัดลิ้นออกมาเขียนยันต์เขียนให้ผู้เคารพเลื่อมใสเก็บไว้เป็นสิริมงคล การกระทําของพระจีน ม้าทรงจะไม่รู้สึกตัวไม่มีความเจ็บปวด หลังจากพระจีนออกจากการเข้าทรงแล้ว ร่างม้าทรงจะมีร่องรอยบาดแผล อยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะหายไปเองโดยใช้ยันต์ปิดไว้ ร่องรอยที่แก้มก็เพียงเอาเถ้าขี้ธูปอุดรูไว้ก็จะหายสนิท
       3. การรับปรึกษาแก่ผู้เคารพเลื่อมใส โดยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจะเล่าเรื่องของตนซึ่งพระจีนก็จะ ให้คําปรึกษา แนะนํา ชี้แนะวิธีปฏิบัติตามแก่กรณี
       4. ระหว่างทําพิธี จะมีการประโคม "ตัวก้อ" กลองใหญ่ "กิมก้อ" กลองเล็ก และโกก้อ "กลอง แห่ขบวน" และจุดประทัดอึกทึกเร้าใจอยู่ตลอดเวลา
       5. การออกจากร่างม้าทรง เมื่อเสร็จภารกิจ หรือตามเวลาอันสมควร พระจีนก็จะออกจากร่างม้าทรง โดยมีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ

ผู้ที่เป็นม้าทรงจะต้องปฏิบัติดังนี้
       1. ต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย รวมทั้งวิถีชีวิตของความเป็นอยู่โดยไม่รับประทานเนื้อสัตว์ต้องรับประทานผักอย่างเดียว
       2. ต้องไปปฏิบัติกิจกรรมทํางานให้กับศาลเจ้าเป็นประจํา

บทสรุป
       พระครูโสภิตสิริธรรม (สิริธโร/ทาอ่อน), บุญส่ง สินธุ์นอก และ สมเดช นามเกตุ (2564) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางพระพุทธศาสนาพิธีกรรมของร่างทรง พบว่า ความเชื่อส่วนใหญ่ของร่างทรง ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติธรรม ความเชื่อในเรื่องการสวดมนต์ ไหว้พระ ความเชื่อในการถือศีลกินเจ เลี้ยงพระ ถวายสังฆทาน และความเชื่อในการทอดกฐิน ผ้าป่า ช่วยบําเพ็ญสาธารณะประโยชน์ ถ้าจะแบ่งความเชื่อของร่างทรงออกเป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและความเชื่ออื่น อื่น ๆ พบว่า ร่างทรงที่มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมที่กระทําสูงสุดคือ การปฏิบัติธรรมสวดมนต์พระคาถาต่าง ๆ อาทิเช่น ก่อนการเริ่มพิธีกรรมนั้นร่างทรง และผู้ที่จะเข้าร่วมประกอบพิธีนั้นจะมีการสวดมนต์ นมัสการพระรัตนตรัย บทชุมนุมเทวดา บทเจริญคุณ พระคาถายอดพระกัณไตรปิฎกพระคาถาชินบัญชร พาหุงมหากา มลคลจักวาล เป็นต้น ซึ่งบทสวดเหล่านี้บรรดาร่างทรงที่มีการประกอบพิธีกรรมได้นํามาประยุกต์ใช้ในการ ประกอบพิธีรองลงมาคือ ทําบุญให้ทานตามโอกาสต่าง ๆ ร่างทรงที่มีความเชื่อด้านอื่น ๆ คือ พิธีกรรมไหว้ครู ประจําปี รองลงมาคือ การรักษาโรค การถอนคุณไสย การทําพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา

คำสำคัญ : ร่างทรง เข้าทรง

ที่มา : เบญจมาศ ผิวขาว และคนอื่น ๆ. (2566). ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา. วารสารกำแพงเพชรศึกษา, 6(6). 37-46.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2251&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2251&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ตักบาตรข้าวต้ม

ตักบาตรข้าวต้ม

ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,028

ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้ มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม วิธีการเล่น หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,955

ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา

ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา

พิธีกรรมการเข้าทรง เป็นพิธีกรรมที่มีมานาน โดยมีหลายท่านให้ความหมายไว้ว่า คนทรง หรือ ร่างทรง หมายถึง คนที่ให้เจ้าหรือผีมาเข้าสิงในตัว การเข้าสิงนั้น เรียกว่า "การเข้าทรง" Lan Anh -VOV5 (2557) กล่าวว่า การทรงเจ้าเป็นพิธีการสื่อสารกับเทพเจ้าต่าง ๆ ผ่าน ร่างทรง ลักษณะของการเข้าทรงก็คือ การกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่มีวิญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูง มาประทับร่างเพื่อประทานพรให้มนุษย์ ณิชาพร จําเนียร และ อรพรรณ พิศลยบุตร (2565) กล่าวว่า พิธีกรรม เข้าทรง หรือ ร่างทรง ในความหมายของคนทั่วไปคือ บุคคลที่สามารถจะรับจิต วิญญาณของผู้อื่นที่จากไปแล้ว หรือ จากจิตวิญญาณของผู้อื่นที่เป็นเทพ เทวดา มาสิงสถิตอยู่ในร่างกายของตัวเองได้

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 1,449

ต้นทับทิมกับฮวงจุ้ยแบบไทยๆ

ต้นทับทิมกับฮวงจุ้ยแบบไทยๆ

ต้นทับทิม จัดเป็นต้นไม้มงคลปลูกหน้าบ้านที่ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย โดยสามารถนําใบต้นทับทิมมาปะพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลหรือขจัดสิ่งชั่วร้ายได้ อีกทั้งผลทับทิมก็ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและบํารุงฟันให้แข็งแรง ทับทิมเป็นผลไม้มงคลของจีน กิ่งใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลที่ใช้ทุกงานที่มีน้ำมนต์ประกอบพิธี โดยจะใช้พรมน้ำมนต์และมีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองกันภัย มีเรื่องเล่าว่าเพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ถูกนํามาเผยแพร่ในเมืองจีนพร้อมกับพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 1,860

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,089

ประเพณีการตาย

ประเพณีการตาย

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 8,095

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

บ้านร้านดอกไม้ ในอดีต กลายมาเป็นบ้านลานดอกไม้ในปัจจุบัน ริมฝั่งน้ำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรไปเล็กน้อย มีชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ชุมชนโบราณบ้านลานดอกไม้ ในชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนดั้งเดิม ประชาชนอาศัยอยู่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมจึงฝังรากลึก ในบ้านลานดอกไม้ เพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมากว่าร้อยปี จึงอยู่ในสายเลือดของชาวบ้าน การตามหาเพลงพื้นบ้าน โดยการไปพบแม่เปรื่อง ผิวพรรณ วัย 70 ปี ลูกศิษย์เอกของแม่ต่อ นุ่มน่วม แม่เพลงในอดีต ที่เสียชีวิตไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,755

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 6,567

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 4,064

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,915