ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านเลอตอ
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้ชม 25
[17.0609966, 98.4523452, ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านเลอตอ]
ชาวกะเหรี่ยง บ้านเลอตอ อำเภอแม่ระมาด เป็นชนเผ่าที่มีความเป็นอัตลักษณ์ (identity) ในด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากชนเผ่าอื่น อัตลักษณ์จะแสดงความเป็นตัวตนและสังคม เนื่องจากทุกชนเผ่าสร้างอัตลักษณ์ที่ร่วมกัน แตกต่างกัน เช่น ถ่ายทอดเพลงพื้นบ้าน นิทาน การสร้างและดำรงวัฒนธรรม การสร้างบ้านเรือน เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ชนเผ่าที่อยู่ตามแม่น้ำเดียวกันมีการจัดพิธีกรรมร่วมกัน อัตลักษณ์เหล่านี้มีการผลิตซ้ำและสร้างขึ้นมาใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมและวิธีคิดโดยอัตลักษณ์ชนเผ่ากะเหรี่ยงที่มีคุณค่าและโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ซึ่งชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อแต่โบราณว่าลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยงโดยที่งูตัวนั้นจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย คือ ลายโยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อล่อ ที่ข่า เกอแนเดอ เซอกอพอ และแชะฉ่าแอะ แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปัก มี 4 ลายคือ โยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อลอ และลายทีข่า ปัจจุบันยังมีการคิดค้นลายใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ชาวปากอเญอ มีพื้นฐานการทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการผลิตไว้ใช้ในครัวเรือน ที่เหลือจึงนำมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ลักษณะลายผ้าที่ผลิตกันจะเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ลายผ้าเป็นไปตามความอำเภอใจของผู้ทอ ไม่มีเอกลักษณ์ มาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกัน
จนปัจจุบันมีหน่วยงานในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้ามามีส่วนผลักดันอนุรักษ์ ฟื้นฟูต่อยอดภูมิปัญญาการทอผ้า โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ที่สามารถดำเนินการได้ในเชิงพาณิชย์ ก่อให้เกิดมูลค่าใหม่ของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
จึงเกิดการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (วัฒนธรรมชนเผ่ากะเหรี่ยง) ของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกิดการเรียนรู้และต่อยอดผ้าทอกะเหรี่ยงให้มีคุณค่าและมีคุณภาพเพื่อออกสู่ตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เกิดความเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่า สร้างจิตสำนึกและนำคุณค่าของอัตลักษณ์ชนเผ่ากะเหรี่ยงมาสร้างรายได้ในเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างยั่งยืน
สถานที่ตั้ง บ้านเลอตอ ต.แม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก 63000
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายบัญประชา ทองโชติ หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ
ที่อยู่ หมู่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 63140
เบอร์โทรศัพท์ 090-758-7035
คำสำคัญ : ผ้าทอกะเหรี่ยง
ที่มา : https://tak.m-culture.go.th/th/db-95-tak-74/240076
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านเลอตอ. สืบค้น 17 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2279&code_db=610004&code_type=TK008
Google search
"พิธี ลื่อทีบอโค๊ะ" หรือประเพณีการเลี้ยงผีฝาย ของชาวปาเกอะญอ ณ บ้านป่าไร่เหนือ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก โดยประเพณีนี้จะจัดขึ้นสืบต่อกันมาทุกปี เมื่อฤดูฝนมาเยือน ก่อนมี่ชาวนาจะทำนาปลูกข้าว จะต้องเลี้ยงผีฝาย(ลื่อทีบอโค๊ะ) ก่อน เพื่อเป็นบอกกล่าวผีฝาย เพื่อจะช่วยดูแลข้าว ดูแลน้ำท่าให้ดี ให้ผลผลิตที่ดีและงอกงาม
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 40
ประเพณีสรงน้ำธาตุเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ จึงได้จัดทำโครงการประเพณีสรงน้ำธาตุ ขึ้น ประจำทุกปี
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,694
ตำบลพระธาตุเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 6 ตำบล ของอำเภอแม่ระมาด ซึ่งแยกเป็นตำบลมาจากตำบลแม่จะเรา มีหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง 6 หมู่บ้าน อีก 2 หมู่บ้าน เป็นชาวไทยพื้นราบ ชาวตำบลพระธาตุมีความแตกต่างกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่มีความผสมกลมกลืนกันไม่มีความขัดแย้งกัน และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในทุกปีหลังเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ณ สำนักสงฆ์บ้านตีนธาตุ หมู่ที่ 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุ อันเป็นที่เคารพและสักการะของชาวตำบลพระธาตุและตำบลใกล้เคียง
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 812
“ผ้าทอกะเหรี่ยง” ซึ่งชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อแต่โบราณว่าลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยงโดยที่งูตัวนั้นจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย คือ ลายโยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อล่อ ที่ข่า เกอแนเดอ เซอกอพอ และแชะฉ่าแอะ แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปัก มี 4 ลายคือ โยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อลอ และลายทีข่า ปัจจุบันยังมีการคิดค้นลายใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ชาวปากอเญอ มีพื้นฐานการทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการผลิตไว้ใช้ในครัวเรือน ที่เหลือจึงนำมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 25
คำว่า “ตานต๊อด” ภาษากลาง คือ ทานทอด เป็นคำประสมระหว่างคำว่า ทาน กับ ทอด ความหมายคือ “วางของให้” ก็คือการให้ทาน ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงความเอื้ออาทรของชาวบ้านที่มีต่อคนทุกข์ยาก เป็นการทำบุญด้วยใจไม่หวังผลตอบแทน ประเพณีตานต๊อดมีต้นกำเนิดมาจากล้านนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำบุญประเภทนี้จึงมีแต่เฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และในปัจจุบันการตานต๊อดไม่ค่อยแพร่หลาย เด็กและเยาวชนรุ่นหลังส่วนใหญ่ไม่รู้จักประเพณีตานต๊อดกันแล้ว จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า หากไม่มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู ประเพณีที่ดีงามดังกล่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 2,374
คำว่า “ตานต๊อด” ภาษากลาง คือ ทานทอด เป็นคำประสมระหว่างคำว่า ทาน กับ ทอด ความหมายคือ “วางของให้” ก็คือการให้ทาน ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงความเอื้ออาทรของชาวบ้านที่มีต่อคนทุกข์ยาก เป็นการทำบุญด้วยใจไม่หวังผลตอบแทน ประเพณีตานต๊อดมีต้นกำเนิดมาจากล้านนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำบุญประเภทนี้จึงมีแต่เฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และในปัจจุบัน การตานต๊อดไม่ค่อยแพร่หลาย เด็กและเยาวชนรุ่นหลังส่วนใหญ่ไม่รู้จักประเพณีตานต๊อดกันแล้ว จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า หากไม่มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู ประเพณีที่ดีงามดังกล่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย ประเพณีตานต๊อด ยังพอมีให้พบเห็นอยู่บ้างที่ตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เนื่องจากประชาชน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน ดังนั้น จึงสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวล้านนาไว้ แต่จะจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นส่วนเด็กและเยาวชนในตำบลมีน้อยคนนักที่จะรู้จักประเพณีตานต๊อด เนื่องจากข้อจำกัดของพิธีตานต๊อดที่เป็นสาเหตุให้เด็กและเยาวชนไม่รู้จักก็คือ พิธีตานต๊อดจะจัดในช่วงกลางคืน เว ลาประมาณ ๒๒.๐๐ –๒๔.๐๐ น. ซึ่งเด็ก ๆ นอนหลับกันหมดแล้ว จึงมีแต่กลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้นที่ไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 903