ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้ชม 62

[16.2352595, 99.6036215, ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร]

บทนำ
        พิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้องส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้เสียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแลคนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของ ตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมดห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น ม้งมีความเชื่อว่าระหว่างการเดินทางไปยังปรโลก วิญญาณของผู้ตายอาจถูกรั้งไว้ ด้วยการปอกหัวหอม ในชั้นปรโลก ทําให้เดินทางไปเกิดได้ช้าลง ดังนั้นชาวม้งจึงนิยมพันนิ้วมือศพด้วยด้ายสีแดง เพื่อให้วิญญาณ สามารถอ้างได้ว่าเจ็บนิ้ว ไม่สามารถปอกหอมได้ รวมทั้งมีการสวมรองเท้าให้ศพ ตามความเชื่อที่ว่าวิญญาณ จะต้องเดินทางฝ่าดงบุ้งยักษ์ ซึ่งศพจะถูกจัดวางบนแคร่หามสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร ตั้งบนพื้นใกล้ศาลพระภูมิ หรือศาลบรรพชน ภาษาม้งเรียกว่า "สื่อ ก๋ง-xwm kaab" รอให้ญาติมารวมกันครบ ระหว่างรอญาติเดินทางมา จะมีการตั้งข้าวให้ศพ วันละ 3 เวลา แต่ละครั้งจะต้องยิงปืน 3 นัด และมีการจุดตะเกียงวางไว้ที่ลําตัวของศพ

ความเชื่อการเกิดของคนม้ง
       ในอดีตม้งมีความเชื่อว่าการตั้งครรภ์เกิดจากผีพ่อมีแม่ให้เด็กมาเกิด เวลาใกล้คลอดหญิงมีครรภ์จะไม่ไปไหน มาไหนโดยลําพัง จะต้องมีเพื่อนไปด้วยอย่างน้อย 1 คน การคลอดบุตรเป็นไปตามธรรมชาติ โดยหญิงตั้งครรภ์ จะนั่งอยู่บนม้านั่งขนาดเล็ก หน้าห้องนอนเอนตัวพิงสามี ปิดประตูบ้านห้ามเด็กเข้าไปยุ่งในบ้าน หลังจากคลอดเสร็จจะทําความสะอาดเด็ก ตัดรกด้วยกรรไกร ถ้าเป็นเด็กชายจะนํารกไปฝังไว้ที่เสากลางบ้าน ซึ่งเป็นเสาที่มีผีเสาสถิตอยู่ เพราะเด็กผู้ชายควรจะรู้เรื่องผี ถ้าบุตรเป็นหญิงจะฝังรกไว้ใต้แคร่นอนของมารดา เพราะต้องการให้ลูกสาวรู้จักรักนวลสงวนตัว และรู้จักการบ้านการเรือน
       เด็กที่เกิดได้ 3 วัน บิดาจะทําพิธีตั้งชื่อ โดยต้องนําไก่มาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ 2 ตัว และขอบคุณผีพ่อมีแม่ที่ส่งเด็กมาเกิด พร้อมทั้งบอกผีบ้านขอให้คุ้มครองเด็ก และรับไว้เป็นสมาชิกของครอบครัวของวงศ์ตระกูล ม้งเชื่อว่าถ้าเด็กที่เกิดมายังไม่ครบ 3 วัน ยังไม่เป็นมนุษย์ หรือยังเป็นลูกผีอยู่ จึงยังไม่ตั้งชื่อให้ หากเด็กนั้น ตายลงจะไม่ทําบุญศพให้ตามประเพณี และสามารถนําไปฝังได้เลย
       ในปัจจุบันนี้ม้งที่เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่บางคนยังมีความเชื่อนี้อยู่ แต่ม้งที่ได้รับการศึกษา จะไม่ค่อยมีความเชื่อเช่นนี้ แต่เด็กหรือบุตรที่เกิดมาจะต้องมีการทําพิธีตามประเพณีของม้งทุกประการ ส่วนการเกิดในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะไปคลอดที่โรงพยาบาลเท่านั้น ม้งจะไม่คลอดเองตามธรรมชาติ เนื่องจากเกรงว่าอาจจะเกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ได้ด้วย (njoy, 2550)

ความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดของเผ่าม้ง
        ประเพณีการเกิด การตั้งครรภ์มีทั้งแบบปกติคือเกิดจากคู่สามีภรรยา ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แต่บางครั้งหากเกิดขึ้นกับหญิงสาวชาวม้งที่คบผู้ชายหลายคน และไม่ทราบว่าตั้งครรภ์กับใคร หญิงสาวก็จะบอกให้พ่อแม่ทราบ เพื่อจะได้หาทางทําแท้ง แต่หากสามารถบอกชื่อชายหนุ่มคนใดคนหนึ่งได้ ผู้ถูกเอ่ยนามก็จะต้องยินยอมแต่งงานด้วย ถ้าปฏิเสธก็จะถูกปรับเป็นค่าทําคลอด แล้วแต่กรณีไป แต่หากครรภ์แก่ใกล้คลอด หญิงสาวจะคลอดบุตร ในบ้านบิดามารดาไม่ได้ดังนั้นบิดาจะสร้างกระท่อมหลังเล็ก ๆ ใกล้บ้านเพื่อให้ลูกสาวคลอดบุตร จากนั้น 1 เดือน จึงจะยอมให้เข้าอยู่บ้านใหญ่ได้ ชาวม้งเชื่อว่า การตั้งครรภ์เกิดจากผีพ่อแม่ให้เด็กมาเกิด เมื่อเวลาใกล้คลอด หญิงมีครรภ์จะไม่ไปไหนมาไหนโดยลําพังต้องมีเพื่อนอยู่ด้วยอย่างน้อย 1 คน การคลอดบุตรโดยทั่วไปจะเป็น ไปตามธรรมชาติสังคมชาวม้งนั้น ไม่มีผู้ทําคลอดในตําแหน่งหมอตําแยอย่างเป็นทางการ (ไม่ได้มีประจํา ในลักษณะที่เวลาคลอดต้องไปเรียกหมอตําแยคนนี้ตลอด) ดังนั้นเมื่อผู้หญิงจะคลอดบุตร นอกเหนือจากสามีแล้ว ผู้ช่วยทําคลอดส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิงโดยเฉพาะมารดาของสามีหรือญาติเพศหญิงก่อนการคลอดนั้นจะมีการ เตรียมต้มน้ํา เพื่อเช็ดทําความสะอาดมีดหรือกรรไกรคมๆไว้สําหรับตัดสายรก ยาสมานแผลสมุนไพร และให้หญิงตั้งครรภ์ที่ใกล้จะคลอดบุตรจะนั่งอยู่บนม้านั่งขนาดเล็กหน้าห้องนอน ตัวคลุมด้วยผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัวเด็ก นอนเอนตัวพิงสามี ปิดประตูบ้านห้ามเด็กเข้าไปยุ่งในบ้าน หลังจากคลอดจะทําความสะอาดเด็ก ตัดรกด้วย กรรไกรหลังจากคลอดออกมาแล้วหากเป็นชายจะเอารกไปฝังบริเวณเสาผีกลางบ้าน ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษเรือ ที่เรียกว่าเสายึดเหนี่ยววิญญาณบรรพบุรุษ เนื่องจากเชื่อว่าลูกผู้ชายจะต้องสืบสกุลและรับภารกิจของครอบครัวต่อจากบิดามารดา หากเป็นหญิงก็จะนํารกไปฝังไว้ใต้เตียงห้องนอนของพ่อแม่เด็ก เหตุผลเพราะ ชาวม้งเห็นว่าผู้หญิงจะต้องแต่งงานออกเรือนไปหลังจากนั้น อีก 3 วันจะทําพิธีเรียกขวัญ และตั้งชื่อให้เด็ก แต่ถ้าหากเด็กเสียชีวิตภายใน 3 วันก่อนที่จะทําพิธีเรียกขวัญ ก็จะนําศพไปฝังอย่างง่ายๆ เพราะถือว่ายังไม่เป็นคน โดยสมบูรณ์แต่ถ้าหากไปคลอดที่โรงพยาบาลก็จะไม่มีการทําพิธีฝังรกแต่จะมีพิธีเรียกขวัญเด็ก โดยปกติหญิงที่ คลอดลูกจะต้องอยู่ไฟ (ไจ๋) ที่เตาไฟเล็กภายในบ้าน หลังจากที่คลอดแล้วจะต้องกินข้าวกับไก่หรือไข่เป็นเวลา 30 วัน บ้านไหนที่มีการคลอดลูกจะมีเฉลว หรือกิ่งไม้สดปักไว้ที่ประตูบ้าน ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่า บุคคลภายนอกห้ามเข้าหากมีเรื่องจําเป็นก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น ถอดรองเท้า ถอดหมวก ปลดถุงย่ามออกก่อน เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้หลายแห่งได้คลายความเคร่งครัดในข้อปฏิบัติเหล่านี้ลงมากแล้ว เมื่อครบกําหนดก็เป็นอันสิ้นสุดการอยู่ไฟ

การเกิด ตามหลักความเชื่อพุทธศาสนา
        ประวิทย์ เฮงพระธานี และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (2561) การเกิดชีวิต ในทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น เป็นการเกิด 2 ครั้ง ครั้งแรกคือการเกิดทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจิตเดิมนั้นเป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง ไม่มีกิเลส ส่วนการเกิดครั้งที่ 2 เป็นการเกิดในจิตใจ เกิดโดยวิญญาณ ซึ่งไม่มีพ่อแม่เป็นปัจจัยให้เกิด เป็นการ เกิดความทุกข์ สาเหตุมาจากเด็กมีสภาพจิตด้อยด้วยคุณธรรม ขาดสติ ไม่มีปัญญารู้ชัดตามความเป็นจริง (อวิชชา) ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ฯลฯ ซึ่งเป็นกระบวนการเกิดความทุกข์ในจิตใจ ความทุกข์จะเกิดดับ เกิดดับ สลับกันไปเป็นลูกโซ่ ประดุจสายฟ้าแลบ เป็นวงกลมหมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปตลอดชีวิต จนกว่าจะดับทุกข์ได้
        ส่วนการเกิดในโลกของมนุษย์ เช่นการเกิดของคนและสัตว์ ต้องอาศัยพ่อแม่เป็นเชื้อให้ด้วยการผสมพันธุ์ อาศัยธรรมชาติ อาศัยอาหาร ตามนัยอภิธรรมกล่าวไว้ว่า การเกิดเป็นมนุษย์เริ่มตั้งแต่มีปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นต่อจากจุติจิตในมรณาสันนวิถี อันเป็นดวงจิตสุดท้ายต่อจากชาติก่อน ตายจากชาติก่อนแล้วเกิดทันที ไม่มีระหว่างคั่น ปฏิสนธิจิตนี้แหละเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นของชีวิต 3 อย่างคือ
        - บิดามารดาอยู่ร่วมกัน
        - มารดามีระดู (ไข่พร้อมที่จะสืบพันธุ์)
        - คันธัพพะ (มีปฏิสนธิจิตหรือปฏิสนธิวิญญาณมาอาศัย)

การเกิดตามหลักความเชื่อศาสนาคริสต์
        คริสต์ศาสนามองว่ามนุษย์ไม่ใช่เจ้าของชีวิตของตน พ่อแม่ก็ไม่ใช่เจ้าของชีวิตที่ตนให้กําเนิด พ่อแม่เป็น ส่วนหนึ่งในการสร้างของพระเป็นเจ้า การให้กําเนิดชีวิตมนุษย์เป็นอํานาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เหนือธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การปลูกถั่วเขียว มนุษย์นําถั่วเขียวไปใส่ในถาดและรดน้ํา นําไปไว้ในสถานที่และอุณหภูมิที่เหมาะสม มนุษย์ไม่ใช่ผู้ทําให้ถั่วเขียวงอก แต่เป็นอํานาจเหนือธรรมชาติ เพราะถั่วเขียวที่ปลูก ไม่ใช่ทุกเมล็ดจะงอก ฉันใดก็ฉันนั้น พ่อแม่เป็นเพียงผู้สร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่พระเจ้าเป็นผู้บันดาลให้ ชีวิตมนุษย์เกิดขึ้น
        เมื่อชีวิตมนุษย์เกิดมาทุกคนต้องมีเกิด เจ็บป่วย แก่ และตาย อันเป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อนําเสนอโลกทัศน์หรือมุมมองของคริสต์ศาสนิกชนต่อชีวิตของตนว่าเป็นอย่างไร มุมมองต่อชีวิตจะส่งผลต่อการปฏิบัติในชีวิตประจําวัน เช่น คนที่มีนามสกุลดังๆ หรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก อาจมีโลกทัศน์ว่าคนอื่นต้องมารับใช้ตนเองแต่ถ้าคนนั้นมีโลกทัศน์ว่าตน เท่าเทียมคนอื่น เขาก็อาจจะไม่ถือตัว หรืออาจจะอยู่กับคนอื่นได้อย่างมีความสุข การทําพิธีรับขวัญลูกของเผ่าม้ง
        เด็กที่เกิดได้ 3 วัน บิดาจะทําพิธีตั้งชื่อ โดยต้องนําไก่มาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ 2 ตัว และขอบคุณผีพ่อมีแม่ ที่ส่งเด็กมาเกิด พร้อมทั้งบอกผีบ้านขอให้คุ้มครองเด็ก และรับไว้เป็นสมาชิกของครอบครัวของวงศ์ตระกูล กําหนดกาลและเวลาของการทําพิธีรับขวัญ

การรับขวัญเด็ก และตั้งชื่อให้เด็ก จัดทำพิธีในเช้าวันที่ 3 หลังจากการคลอดลูกแล้ว
        - เชิญญาติผู้ใหญ่มาเข้าพิธี เพื่อรับรู้เพื่อรับรู้การับเด็กเป็นสมาชิกของครอบครัววงศ์ตระกูล
        - ปู่หรือย่าของเด็ก เริ่มการทำพิธีรับขวัญ
        - จุดธูป เทียน ไว้กลางบ้าน เพื่อให้ผีบรรพบุรุษรับรู้
        - นำไก่มาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ 2 ตัว
        - กินข้าวร่วมโต๊ะสำหรับญาติผู้ใหญ่
        - หลังกินข้าวเสร็จ บิดาญาติผู้ใหญ่ที่มาร่วมงาน ให้มาผูกข้อมือเด็ก เพื่ออวยพรให้ไม่เจ็บไม่ไข้ และเติบโตมาเป็นเด็กดี

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพิธีรับขวัญ
        - อาหาร 1 มื้อ สำหรับญาติผู้ใหญ่
        - ธูป เทียน
        - ไก่ที่มีลักษณะสมบูรณ์ 2 ตัว
        - สายศิลป์

ความหมายของการตาย
        ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความ โดดเดี่ยว (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2550)

ความเชื่อการตายของเผ่าม้ง
        njoy (2550) ม้งเชื่อว่า พิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้อง จึงจะส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายใน บ้านของตนหรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้เสียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุม พร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแลคนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้นเป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมดห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่า สิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น ชาวบ้าน หรือญาติใกล้เคียงจะมาช่วยกันจัดงานให้กับผู้ตาย โดยอาบน้ำให้ศพก่อน จากนั้นก็จะแต่งกายให้ศพด้วยเสื้อผ้าที่ลูกหลานได้เตรียมไว้ให้ก่อนตาย ซึ่งเป็นผ้าปักด้วยลวดลายงดงาม มีผ้ารองศีรษะต่างหมอน หากว่าเป็นผู้ชายจะมีผ้าคาดเอว หรือปกเสื้อ หากว่าเป็นผู้หญิงบริเวณใบหน้าจะคลุมด้วยผ้าแดง เพื่อไม่ให้ ผู้ตายต้องตากหน้าต่อหน้าธารกํานัล ผู้ชายจะให้แต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายของผู้หญิง ส่วนผู้ตายที่เป็นผู้หญิง จะให้แต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายของผู้ชาย แล้วนําศพไปวางนอนขนานกับฝาผนังซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับประตูบ้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละนามสกุลที่แตกต่างกันออกไป จะมีการผูกข้อมือญาติทุกคนด้วยผ้าสีแดง ห้ามแกะออกจนกว่าจะเสร็จงานศพ บางแซ่จะมีการคาดศีรษะด้วยผ้าสีขาว ดังเช่นพิธีศพของชาวจีนชาวม้งเชื่อว่าเมื่อมีเด็กหรือใครก็ตามที่หกล้มบริเวณบ้านของผู้ตาย ให้รีบทําพิธีเรียกขวัญบุคคลนั้นกลับมา มิฉะนั้นวิญญาณ ของผู้ตายจะนําวิญญาณของผู้หกล้มไปด้วย ชาวม้งมีความเชื่อว่าระหว่างการเดินทางไปยังปรโลก วิญญาณของผู้ตายอาจถูกรั้งไว้ ด้วยการปอกหัวหอม ในชั้นปรโลก ทําให้เดินทางไปเกิดได้ช้าลง ดังนั้นชาวม้งจึงนิยมพัน นิ้วมือศพด้วยด้ายสีแดง เพื่อให้วิญญาณ สามารถอ้างได้ว่าเจ็บนิ้ว ไม่สามารถปอกหอมได้ รวมทั้งมีการสวมรองเท้าให้ศพ ตามความเชื่อที่ว่าวิญญาณ จะต้องเดินทางฝ่าดงบุ้งยักษ์ ซึ่งศพจะถูกจัดวางบนแคร่หามสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร ตั้งบนพื้นใกล้ศาลพระภูมิ หรือศาลบรรพชน ภาษาม้งเรียกว่า "สื่อ ก๋ง-xwm kaab" รอให้ญาติมารวมกันครบ ระหว่างรอญาติเดินทางมา จะมีการตั้งข้าวให้ศพ วันละ 3 เวลา แต่ละครั้งจะต้องยิงปืน 3 นัด และมีการจุดตะเกียงวางไว้ที่ลําตัวของศพ
        หากผู้ตายยังมีหนี้สินอยู่ ญาติจะช่วยกันชําระหนี้แทนให้เรียบร้อยก่อนจะฝังศพ เพื่อให้ผู้ตายมีชีวิตที่ เป็นอิสระ มั่งคั่ง และมีความสุขในชาติหน้า (ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการนําศพไว้ในโลง เพื่อไม่ให้ศพมีสภาพที่ไม่น่าดู แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวนั้น ๆ ด้วย) เมื่อญาติมากันครบแล้ว จึงนําแคร่วางศพตั้งในที่สูงเหนือพื้น และฆ่าไก่สําหรับเซ่นไหว้นําไปวางไว้ข้างศีรษะศพ ผู้เฒ่าซึ่งเป็นหมอผีในการทําพิธีสวดให้ผู้ตายไปสู่ปรโลก โดยจะใช้ไม้เสี่ยงทายยาวประมาณเจ็ดนิ้ว เสี่ยงทายทางให้กับวิญญาณผู้ตายพร้อม ๆ กับรินเหล้า และตักข้าวปลาอาหารไปด้วย ผู้เฒ่าจะบอกกับวิญญาณว่าเมื่อไปถึงที่ใดให้ทําอย่างไร เช่น หากร้อนแดด ให้เข้าอาศัยร่มเงาจากปีกไก่ หรือใต้หางไก่ หากฝนตกให้เดินทางสายกลางตามไก่ เพื่อไปสู่ดินแดนแห่งบรรพชน เมื่อไปถึงสถานที่ตรงนี้ให้จุดธูป จุดเทียนเผากระดาษ เป็นต้น ซึ่งในระหว่างที่ผู้ตายเดินทางไปสู่ปรโลก หากว่า พิธีกรรมไม่นาน แสดงว่าวิญญาณของผู้ตายรับรู้ และยินยอมที่จะไปตามทางที่ว่านั้น แต่หากว่าพิธีกรรมนาน แสดงว่าวิญญาณของผู้ตายไม่ยอมไป ยังมีความเป็นห่วงลูกหลาน ญาติ พี่น้องอยู่ในระหว่างจัดพิธีศพนั้น จะมีการ พับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปเรือ กระดาษที่ใช้จะเป็นกระดาษเงิน กระดาษทอง เพื่อให้วิญญาณของผู้ตาย จะได้ไม่ลําบากในระหว่างเดินทางไปสู่ปรโลก และจะได้มั่งมีศรีสุขในชาติหน้า
         หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ลูกหลานจะรวมตัวกัน เพื่อคาราวะศพทุกวัน เช้า และเย็น ภาษาม้งเรียกว่า "ซอก-xyom" มีพิธีการมอบผ้าปัก เป็นผ้าสี่เหลี่ยมสีแดง มีการปักเป็นลวดลายต่าง ๆ ภาษาม้งเรียกว่า "น้อง จ๋อง-noob ncoos" ซึ่งผ้าเหล่านี้จะทําให้วิญญาณมีไร่ มีนา มีทรัพย์สิน มั่งคั่งร่ํารวยในชาติหน้า ผู้ที่จะให้น้อง จ๋อง-noob ncoos นี้คือลูกสาวของผู้ตายจะเป็นผู้ที่ทําให้ มีการตัดกระดาษแขวนไว้ข้างฝาทั้งสองข้างของ ตัวบ้าน เพื่อที่จะเผา และเป็นการส่งตัวผู้ตายให้ไปถึงที่หมายด้วย (ปัจจุบันได้มีการนําพวงหรีดไว้อาลัยร่วมกับ การแขวนกระดาษด้วย) พิธีศพของม้งบรรดาญาติ และผู้คนทั้งที่อยู่ในหมู่บ้านนั้น ๆ และต่างหมู่บ้านจะมา ช่วยเหลือพิธีกรรมด้วยทุกคืนโดยเฉพาะสมาชิกในบ้านที่เป็นผู้ชาย ภาษาม้งเรียกว่า "เป้า หยุ่น-txwg tuag” ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อเราได้ ให้ความช่วยเหลือเขา และเมื่อครอบครัวของเรามีงานศพจะได้มีคนอื่นมาช่วยอีก เป็นการแสดงน้ําใจอย่างหนึ่ง ของชาวม้งเรา หากผู้ตายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และเป็นที่นับหน้าถือตาแก่บุคคลทั่วไป จะจัดพิธีใหญ่โต และ ครบถ้วนแขกเหรื่อ หรือบุคคลที่รู้จักกับผู้ตาย จะมาร่วมแสดงความอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อหน้าผู้ตาย โดยทายาทของ ผู้ตายจะเป็นผู้ไปรับแขกด้วยตัวเองถึงประตูบ้าน และเชิญให้แขกมายังตัวศพเพื่อร่วมไว้อาลัย
         เมื่อมีแขกที่ให้ความช่วยเหลือทุนทรัพย์ในการจัดพิธีศพ ทายาทของผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าภาพจะต้องกล่าว ขอบคุณแขกผู้นั้นด้วย ซึ่งในคืนก่อนวันที่จะนําศพไปฝังจะมีการสวด และบอกเรื่องราวต่าง ๆ ในภาษาม้งเรียกว่า "ฮ่า จืด สาย-has txw xaiv" โดยจะมีคนหนึ่ง ซึ่งร่ําเรียนมาทางด้านการสวดโดยเฉพาะเป็นผู้บอกกล่าว นิยม ทํากันกรณีที่ผู้ตายเป็นผู้ใหญ่ที่มีลูกหลาน หรือญาติพี่น้องเยอะ และผู้ตายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่นับหน้า ถือตาซึ่งพิธีนี้จะเป็นการสั่งสอนลูกหลานว่าเมื่อตัวเองไม่มีหัวหน้า ครอบครัวแล้วควรจะทําอย่างไรต่อไป ซึ่งจะบอก เป็นท่วงทํานองที่คล้องจองกันไพเราะและซาบซึ้งมาก หากไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบจะไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ พูดได้ จะพูดเป็นเรื่องราวติดต่อกัน ตั้งแต่เวลาประมาณสองทุ่มไปจนถึงสองยาม หรือประมาณตีสองตีสาม ในคืนนี้จะมีบรรดาเพื่อนบ้าน หรือญาติพี่น้องมารวมตัวกัน เพื่อที่จะฟังการสวดด้วย วันที่จะนําศพไปฝัง ช่วงเช้าจะให้ลูกหลานของผู้ตายทําความสะอาดศพอีกรอบ โดยจะล้างมือของศพให้ครบทุกคน จะมีการฆ่าวัว เพื่อบูชาศพ บางนามสกุล ญาตินําคานมาหามแคร่วางศพออกจากเรือน เพื่อนําไปยังลานที่ได้เตรียมไว้เพื่อทํา พิธีกรรมอีกรอบ ซึ่งเรียกว่า "ชื่อ น้า-tswm tshaay" แต่บางแซ่จะไม่มีการ "ชื่อ น้า-tswm tshaay" เมื่อทําพิธี เสร็จแล้วญาติจะนําคานมาหามศพไปฝังในสุสาน ในช่วงเวลาประมาณบ่ายคล้อย หรือ 16.00 น.
        ในขบวนแห่ศพจะมีผู้นําขบวนเดินเป่าแคนไม้ซางตลอดทาง ตามด้วยสาวถือคบเพลิง เพื่อส่องทางให้ศพ แต่เมื่อนําศพผ่านพ้นเขตหมู่บ้าน สาวจะโยนคบเพลิงทิ้งแล้ววิ่งหนีกลับบ้านไป ซึ่งเชื่อว่าจะทําให้วิญญาณไม่สามารถ ย้อนกลับเข้าบ้านได้ เมื่อขบวนถึงสุสาน จะมีผู้เฒ่าสวดทําพิธีอีกครั้งหนึ่ง ศพจะถูกหย่อนลงในหลุมที่เตรียมไว้ ซึ่งหลุมศพนี้จะดูจากตําราฮวงจุ้ย หรือผู้เฒ่าที่เชี่ยวชาญเรื่องฮวงจุ้ยในหมู่บ้านนั้น ๆ บางครั้งก็เป็นสถานที่ฝัง ศพผู้ตายได้ตระเตรียมบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกหลาน ว่า เมื่อถึงเวลาตัวเองสิ้นลมหายใจ ให้นําศพตัวเองไปฝัง ไว้ยังสถานที่ที่ตนได้บอกไว้ จากนั้นญาติจะกลบดินปิดปากหลุม แล้วจัดวางก้อนหินเหนือหลุมศพ รวมทั้งปิด ด้วยกิ่งไม้เพื่อไม่ให้สัตว์มาคุ้ยเขี่ยหลุมศพ แล้วจึงจัดการเผากระดาษ หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่มอบให้กับศพ เมื่อครั้งจัดพิธีที่บ้านส่วนแคร่ที่หามศพมานั้น จะถูกตัดครึ่งเพื่อไม่ให้กลับบ้านไป พาคนอื่นสู่ปรโลกอีก ในระหว่างทางนั้น ห้ามไม่ให้เด็ดดอกไม้ หรือใบหญ้าใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้วิญญาณได้ไปสู่สุคติ และห้าม ไม่ให้ลูกหลาน หรือญาติร้องไห้ในระหว่างทาง มิฉะนั้นวิญญาณจะกังวลใจในการไปสู่ปรโลก สําหรับศพของผู้มีอายุจะถูกฝังตามไหล่เขา ซึ่งมีสันเขาขนานอยู่รอบด้าน สันเขาด้านซ้ายหากหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จะมี บริเวณฝังศพของญาติฝ่ายหญิง ด้านขวาของสันเขาเป็นของญาติฝ่ายชาย ทิวเขาที่รายล้อมรอบเขาที่ฝังศพ ส่งผลต่อลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยนับจากทิวเขาที่อยู่ด้านซ้ายของศพ เป็นฝั่งที่บอกถึงความเจริญรุ่งเรือง สุขภาพ และความมั่งมีศรีสุข หากมีทิวเขาที่อยู่ด้านซ้ายของศพยาวมากกว่า หรือสูงกว่าอีกฝั่ง แสดงว่าจะมี ความเจริญรุ่งเรืองมากกว่า
        ม้งห้ามฝังศพลูกในวันคล้ายวันฝั่งบิดามารดา เพราะเชื่อว่าจะทําให้การทํามาหากินไม่เจริญ และห้ามนําศพอื่นไปฝังในระดับเดียวกันอีกในไหล่เขานั้น เว้นแต่จะฝังให้ต่ํากว่า หรือเยื้องไปจากศพที่ฝังไว้ก่อน ถ้าฝังอยู่ในระดับเดียวกันจะทําให้ผู้ตายแย่งที่ทํากินกัน และจะกลับมารบกวนทําให้ญาติพี่น้องเจ็บป่วย ห้ามฝังศพไว้ บนไหล่เขาซึ่งมีหมู่บ้านตั้งอยู่ สําหรับศพเด็กนิยมฝังไว้ในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้เป็นเพื่อนเล่นกันแก้เหงา ม้งเชื่อว่าเด็กนั้นยังความกลัวผีมาก ฉะนั้นจึงนําไปฝังที่ใกล้ ๆ กัน หรือที่เดียวกัน
        บางครอบครัวอาจจะล้อมรั้วบริเวณหลุมศพ เพื่อไม่ให้สัตว์ หรือแมลงต่าง ๆ มาคุ้ยเขี่ยหลุมศพได้ พอหลังจากนี้แล้วห้ามไม่ให้ญาติไปดูแลหลุมศพของผู้ตายอีก เมื่อครบ 13 วัน จะมีการทําพิธีปลดปล่อยดวง วิญญาณของผู้ตายให้ไปผุดไปเกิด และหากเมื่อพ้น 13 วันไปแล้ว จึงจะสามารถไปดูแลหลุมศพ หรือสร้างสุสาน (ฮวงซุ้ย) ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละนามสกุลด้วยเช่นกัน ที่จะทิ้งช่วงเป็นระยะเวลากี่วัน กี่ปี จึงจะไปดูแลหลุมศพได้
        ชาวม้งเชื่อว่าหลุมศพ หรือสุสานที่มีหญ้ารก ๆ เช่น ผักโขม (ที่มีหนาม) จะทําให้ครอบครัวญาติพี่น้อง ของผู้ตายอยู่ดีมีสุข อย่างไรก็ตาม ความเชื่อสําหรับกรณีที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ หรือถูกทําร้ายด้วยอาวุธ บางนามสกุลญาติจะไม่นําศพเข้าบ้าน แต่จะจัดสุราอาหารออกไปเซ่นไหว้ให้ไกลจากตัวบ้านออกไป ก่อนจะ ฝังศพในลักษณะเดียวกับศพทั่วไป แต่บางนามสกุลก็จัดพิธีในบ้านเช่นเดียวกับศพทั่วไปเช่นกัน
        การไว้ทุกข์ ญาติพี่น้องจะไว้ทุกข์ให้ผู้ตายประมาณ 13 วัน ไม่มีการแต่งตัวเป็นพิเศษแต่อย่างใด คงเป็น ไปตามปกติ แต่ห้ามปฏิบัติกิจบางอย่างซึ่งจะทําให้ผู้ตายไปเกิดไม่ได้ กล่าวคือ ห้ามซักเสื้อผ้าและหวีผม เพราะสิ่ง สกปรกในผ้าจะเข้าไปในอาหารของผู้ตาย ห้ามต่อด้ายเพราะด้ายจะพันแข้งขาของผู้ตาย ห้ามเย็บผ้าเพราะเชื่อว่า ผู้ตายจะถูกเข็มแทง ถ้าสามีหรือภรรยาตาย ห้ามแต่งงานใหม่ในทันที จนกว่าจะพ้น 13 วันไปแล้ว เพราะจะทําให้ผู้ตายมีความกังวลในสามีหรือภรรยาของตน ในปัจจุบันม้งยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมนี้ไว้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะเปลี่ยนก็คือมีการนําศพมาบรรจุไว้ในโลงศพ เพื่อให้แขกที่มาแสดงความเสียใจจะได้มีความรู้สึกที่ดีไปด้วย ส่วนในอดีตนั้นไม่มีการนําศพมาใส่โลง และจะนํามาใส่แคร่ไม้แทน

ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง ตามหลักศาสานาพุทธ
        มนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ รูป (ร่างกาย) และจิต ร่างกายอาจเสื่อมถอยไปตามอายุขัยและ แตกดับไป แต่จิตยังคงวนเวียนไปตามผลกรรมที่ได้กระทําเมื่อยามที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งแนวคิดนี้มีความคล้ายคลึง กับวิญญาณจิตของศาสนาคริสต์ หากต้องการให้จิตหลุดพ้นจากวัฏจักรอันเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุดต้องประกอบกรรม ดีละเว้นจากการทําบาปทั้งปวง และมุ่งฝึกพัฒนาจิต ละกิเลสซึ่งเป็นเครื่องผูกมัดเหนี่ยวรั้งใจทั้งปวง จึงจะได้พบกับนิพพาน การหลุดพ้นหรือจุดสูงสุดของพุทธศาสนา แต่ในความหมายของพระพุทธศาสนา ความตายเป็นการดับของขันธ์ 5 ซึ่งประกอบด้วย รูป วิญญาณ สัญญา เวทนา และสังขาร เมื่อขันธ์ 5 ดับ คือกายกับจิตดับลง จุดนั้นเรียกว่าความตาย การแพทย์เรียกว่าความ ตายก็ต่อเมื่อ “หัวใจหยุดเต้น” หรือ “สมองหยุดทํางาน” ดังนั้นจึงจํากัดอยู่เฉพาะทางกาย เท่านั้น แต่ในทาง พุทธศาสนา ความหมายของความตาย ไม่ใช่เฉพาะทางกาย แต่ยังรวมถึงการดับลงของจิตด้วย ดังนั้น แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในทางพุทธ จึงต้องดูแลครอบคลุมทั้งมิติทางกาย ใจ และจิตวิญญาณ พิธีกรรมของชาวพุทธส่วนใหญ่จึงเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เพราะเชื่อว่าจะส่งผลให้วิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ ไปสู่ภพภูมิที่ดีการประกอบพิธีกรรมหลายวันของคนไทยก็เป็นการคลายความโศกเศร้า การได้ พบหน้าพบตากันของบรรดาญาติมิตรสหาย การร่วมกันบําเพ็ญจิตกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ ตามประเพณีดั้งเดิม ของคนไทยการจัดงานพิธีศพมีขั้นตอนแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. วันถึงแก่กรรม 2 วันตั้งศพบําเพ็ญกุศล 3. วันฌาปนกิจ (วันเผา) 4. วันหลังฌาปนกิจ

งานศพไทย
        แต่ละขั้นตอนของพิธีศพล้วนแฝงคติธรรมเพื่อเตือนใจให้ระลึกถึงความตายและพิจารณาถึงความไม่ เที่ยงแท้ของชีวิต เช่น ทิศทางการวางศพ โดยหันศีรษะของศพไปทางทิศตะวันตก เพราะเชื่อว่าเป็นทิศของคนตาย ซึ่งแฝงคติธรรมให้พิจารณาว่าการตายคือการเสื่อมสิ้นไป เหมือนพระอาทิตย์ที่ตกทางทิศตะวันตกเสมอ นอกจากนี้พิธีกรรมในหลายขั้นตอนยังสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย เช่น พิธีนําเงินใส่ปากศพ โดยถือว่าเป็นการมอบทุนทรัพย์ให้ผู้ตายติดตัวไว้ใช้ในการเดินทางสู่โลกหน้า
        การตั้งศพบําเพ็ญกุศลอาจกําหนดเป็น 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน แล้วแต่ฐานะของเจ้าภาพ แต่ถ้าเป็นการตายแบบผิดธรรมชาติหรือตายเร็วกว่าเวลาที่ควรจะเป็นอาจตั้งศพบําเพ็ญกุศลเพียงหนึ่งคืน และประกอบพิธี ฌาปนกิจให้เร็วที่สุด การนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรม แม้จะมองดูว่าเป็นการกระทําเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ แต่มีคติธรรมที่แฝงอยู่คือการเตือนสติให้ญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่ได้พิจารณามรณานุสติความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ให้มีสติกํากับการใช้ชีวิตอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต ทําความดีและสร้างสมบุญกุศลทั้งปวงเพื่อความสุขทั้งยามมีชีวิตและเมื่อละสังขาร
        การไปร่วมงานศพและการเคารพศพถือเป็นการแสดงความระลึกถึงผู้ล่วงลับ ขอขมาลาโทษและอโหสิกรรม ให้แก่กัน วันที่สําคัญที่สุดของประเพณีงานศพคือวันฌาปนกิจหรือวันเผา เนื่องจากมีขั้นตอนพิธีกรรมมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่ครอบครัว ญาติมิตร และเพื่อนฝูงจะได้ส่งผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย ตามประเพณีจะไม่นิยม เผาศพในวันพระและวันศุกร์
        วันหลังฌาปนกิจ ลูกหลานและญาติมิตรของผู้ล่วงลับจะนิมนต์พระสงฆ์มาทําพิธีบังสุกุลและเก็บกระดูกหรืออัฐิใส่โกศหรือภาชนะมีฝาปิดตามแต่ฐานะของครอบครัวผู้ล่วงลับ เพื่อนําไปเก็บรักษาไว้ที่วัด บางรายอาจแบ่ง อัฐิบางส่วนมาเก็บไว้ที่บ้าน ส่วนเถ้าถ่านที่เผาศพจะรวบรวมและนําห่อผ้าขาวไปลอยที่แม่น้ําลําคลองหรือทะเล สมัยก่อนงานศพส่วนใหญ่จัดขึ้นที่บ้านของผู้ล่วงลับ แต่ปัจจุบันนิยมจัดพิธีบําเพ็ญกุศลที่วัด เพราะสะดวกทั้งเรื่องสถานที่และการทําพิธีกรรม

ความเชื่อที่เกี่ยวข้องตามหลักศาสนาคริสต์
        หัวใจของคริสต์ศาสนา รวมถึงพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายต่างๆ สัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องการสิ้นพระชนม์ การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ไถ่บาปของมนุษย์ และการกลับคืนของพระชนมชีพนั้นก็เป็นการนําเอาชีวิตและวิญญาณจิตกลับมาสู่มนุษย์อีกครั้ง คริสต์ศาสนิกชนโยงความตายกับแนวคิดเรื่องบาปว่า ความตายเป็นผลจากบาปของมนุษย์ เป็นราคาที่มนุษย์ต้องจ่ายเพราะฝ่าฝืนน้ำพระทัยของพระเจ้า คําว่า “ความตาย” นี้ไม่ได้หมายถึง ความตายทางเนื้อหนังร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว แต่การที่ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และการต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่รัก รวมทั้งความวิปโยคโศกเศร้าทั้งมวลที่เกิดขึ้นในชีวิตของ มนุษย์นั้น ก็ถือว่าเป็นความหมายของความตายด้วยเช่นเดียวกัน
        ตามคติของคริสต์ศาสนา ความเชื่อเรื่องความตาย ทุกคนเกิดมาพร้อมกับมีวิญญาณจิตและมีบาปติดตัว มาด้วยตั้งแต่ตอนเกิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยู่คู่กับชีวิตตนจนสิ้นอายุขัยที่พระเจ้าทรงประทานให้ ทุกคนต้องตายทางร่างกายในครั้งแรก ส่วนวิญญาณจิตจะดําเนินต่อไปเป็นนิรันดร โดยไม่ต้องอาศัยเนื้อหนังร่างกายอีกต่อไป ดังนั้นช่วงเวลาที่วิญญาณจิตของมนุษย์ดําเนินไปในเนื้อหนังร่างกาย คือช่วงสําคัญและมีค่าที่สุด
        เริ่มแรกนั้น คริสต์ศาสนิกชน ได้ขยายแนวคิดเรื่องครอบครัว และวงศ์ญาติ รวมถึงพระศาสนจักร โดยถือว่าล้วนเป็นเพื่อน หรือญาติพี่น้องที่จะต้องตายจากกันด้วยในที่สุด เพื่อรอพระผู้เป็นเจ้าเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง และกลับมามีชีวิตอันนิรันดรอีกครั้ง ในพระอาณาจักรแห่งพระองค์ ความคิดเรื่องการฟื้นคืนชีพนี้คาดว่า ทําให้บรรดาคริสต์ศาสนิกชนนิยมการฝังมากกว่าการเผา แม้จะมีผู้แย้งว่า อันที่จริงในอดีต ชาวยิวที่ยังไม่ได้ เข้ารีต ก็ทําพิธีศพด้วยการฝังโดยจะเก็บกระดูกไว้ในโถ เนื่องจากความเชื่อที่ว่าผู้ตายจะฟื้นคืนชีวิตใหม่ในภายหลัง แนวคิดของคริสต์ศาสนิกชน เรื่องการฝังนี้เข้ามาแทนที่การเผา ซึ่งเดิมเป็นที่นิยมในอาณาจักรโรมัน ดังพบว่าในระยะต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่อขุดหลุมศพของชาวโรมัน จะพบแต่เถ้ากระดูก เมื่อล่วงเข้ากลางศตวรรษ บางหลุมศพก็จะเป็นเพียงกระดูก ขณะที่บางหลุมเป็นเถ้ากระดูก และสุดท้ายเมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 2 หลุมศพที่ขุดพบส่วนใหญ่มักจะพบแต่กระดูกของผู้ตายเท่านั้น
        ในอังกฤษนั้น ประเพณีการฝังนี้ได้ดํารงอยู่จนกระทั่งเมื่อถึงประมาณศตวรรษที่ 17 โดยมีการปฏิวัติ อุตสาหกรรม ชุมชนเมืองเริ่มขายตัว เกิดความแออัด ยากต่อการหาที่ฝังศพ ทําให้ประเพณีการทําศพเริ่มเกิด การเปลี่ยนแปลงในเมืองใหญ่ เช่น สุสานมักเริ่มย้ายไปตั้งห่างออกจากตัวเมือง และเริ่มมีการทําศพด้วยวิธีการ เผาศพ อย่างไรก็ตามคริสต์ศาสนาบางนิกายยังยืนยันที่จะทําศพด้วยกันฟัง เมื่อมีผู้ป่วยหนักใกล้จะตาย ญาติพี่น้อง จะรีบเชิญบาทหลวงไปประกอบพิธี ยังสถานที่ ที่คนป่วยรักษาตัวอยู่ เพื่อให้ตายในศีลในพระพรของพระเป็นเจ้า สุสานชาวยิว คริสต์ศาสนิกชนนั้นเชื่อว่า เมื่อตายวิญญาณจะออกจากร่างกาย การจากไปอย่างสงบแสดงว่า วิญญาณนั้นมีความสุข ขณะที่ผู้ซึ่งตายอย่างยากลําบาก เจ็บปวด ทรมาน แสดงถึงปัญหาต่างๆ กับผู้ที่กําลังจะจากไปและผู้ที่ยังอยู่ ดังนั้นในพิธีเป็นปกติที่จะต้องไม่แสดงความเศร้าโศกออกมาเนื่องจากเชื่อว่า จะเป็นการ รบกวนการจากไปของผู้ที่กําลังจะสิ้นใจ

ความเชื่อเรื่องความตายของศาสนาคริสต์ มีอยู่ 3 ประการ
        1. เป็นสภาวะการเปลี่ยนผ่าน “เราจะไม่ไปไหน มีเพียงร่างกายที่เปลี่ยน” ความตายเป็นสิ่งที่ดํารงอยู่แล้วและกําลังจะมาถึง ซึ่งนําไปสู่การตั้งคําถามว่า “เราจะมีชีวิต โดยใช้ชีวิตอย่างไร”
        2. ความเป็นหนึ่งเดียวของชีวิตและความตาย การมีชีวิตจึงต้องเป็นไปเพื่อสร้างความหมาย เพื่อรับใช้สังคมและโลก
        3. โลกไม่ใช้กลไก หากประกอบด้วยชีวิตภายในประวัติศาสตร์ มนุษย์ไม่ได้มีแต่เพียงประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจ การเมืองหากยังประกอบด้วยมิติทางศาสนธรรม และจริยธรรม (จิตวิวัฒน์, 2549)
        นอกจากนี้แล้ว ความตายในทัศนะของคริสตศาสนิกชน ไม่ได้หมายถึงความตายของปัจเจกเท่านั้น หากยังรวมถึงความบีบคั้น การบิดเบียน ความอยุติธรรมในสังคม การทําลายสิ่งแวดล้อมและโลก เหล่านี้เป็นบาป เป็นความตายเชิงคุณค่า คริสตศาสนิกชนย่อมต้องทําลายบาปเหล่านั้น ด้วยการใช้ชีวิตในการสร้างสังคมที่ดี
        โลกทัศน์ของคริสตศาสนิกชน คือการมองว่าสรรพสิ่ง ล้วนประกอบด้วยความมีชีวิต และชีวิตย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ โลกที่ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เป็นโลกเดียวกับโลกียะ ความอยู่รอดของบุคคลย่อมเป็นสิ่งเดียวกับความอยู่รอดของโลกและจักรวาล

รูปแบบของการเตรียมศพ
        - เมื่อมีการตายเกิดขึ้น ณ บ้านใด ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น
        - อาบน้ำให้ศพจากนั้นก็จะแต่งกายให้ศพด้วยเสื้อผ้าชุดชนเผ่าม้ง
        - พันนิ้วมือศพด้วยด้ายสีแดงและสวมรองเท้าให้ศพ
        - จัดวางศพบนแคร่และหามสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร
        - ตั้งข้าวให้ศพ วันละ 3 เวลา แต่ละครั้งจะต้องยิงปืน 3 นัด และมีกำรจุดตะเกียงวางไว้ที่ลำตัวของศพ
        - ผูกข้อมือญาติทุกคนด้วยผ้าสีแดงและห้ามแกะออกจนกว่าจะเสร็จงานศพ บางแซ่จะมีการคาดศีรษะด้วยผ้าสีขำว
        - ก่อนจะนำศพไปฝังจะมีพิธี “ชือ ฉ้า” (Tswm Tshaav) โดยพิธีกรรมนี้จะต้องจัดในลำนกว้าง ๆ
        - เมื่อขบวนถึงสุสานจะมีผู้เฒ่าทำพิธีที่หลุมอีกครั้งหลังจากนั้นจะเผากระดาษหรือทุกสิ่งทุกอย่างที่จะมอบให้กับผู้ตาย จึงหย่อนศพลงหลุมและกลบดินปิดปากหลุม
        - หลังจำกฝังแล้วจะไว้ทุกข์ ให้ผู้ตายประมาณ 13 วัน มีข้อห้ามระหว่างการไว้ทุกข์คือ ห้ามซักเสื้อผ้าและหวีผม

การเป่าแคน
       ใช้แคนเป็นตัวแทนในการส่งจิตวิญญาณของผู้ตาย เพื่อนำทางให้ผู้ตายไปถึงจุดหมาย

การตีกลอง
       กลองที่ใช้ในงานศพ ทำจากหนังวัวและโครงไม้ใช้เชือกครึง ทั้งการเป่าแคน และการตีกลองล้วนต้องเรียนกันมาทั้งนั้น การตีกลองและเป่าแคนอย่างมีจังหวะล้วนมีความหมายในตัว

การแต่งกายศพ
       ลูกสาวและลูกสะใภ้ทุกคน ทุกบ้านจะต้องมีเตรียมไว้เสมอ เผื่อมีเหตุฉุกเฉินจึงได้หาได้ทันท้วงที ดังนั้นผู้ตายก็อาจได้ใส่หลายชุดซ้อน ๆ กัน เสื้อผ้าผู้ตาย จะต้องใหม่สะอาด โดยมีชุดที่เต็มไปด้วยลายปัก มักนิยมใช้สีแดง มีผ้าสีแดงคลุมหัว เรียกว่า “น๋อง จ๋อง” (Noob Ncoos) มีความหมายว่า เป็นที่ดิน ไร่นำ ในโลกวิญญาณ เพื่อให้ไปใช้ชีวิตอย่ำงไม่ลำบาก รองเท้า จะต้องมีการเตรียมรองเท้าให้ผู้ตายด้วย โดยจะเป็นผ้า มีความเชื่อว่าหากมีรองเท้าให้ผู้ตายในกำรเดินทางไปโลกวิญญาณ ก็จะไปได้อย่างสะดวกไม่กลับมารบกวนลูกหลาน

คำสำคัญ : ชาวม้ง ความเชื่อ

ที่มา : อภิญญา แซ่ยั้ง และคนอื่น ๆ. (2566). ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารกำแพงเพชรศึกษา, 6 (6) หน้า 1 -10.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 2 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2249&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2249&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 944

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,510

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,136

ชนเผ่าม้ง : การฉุด

ชนเผ่าม้ง : การฉุด

ในอดีตนั้นม้งนิยมการแต่งงานโดยการฉุดเป็นส่วนมาก การฉุดจะกระทำเมื่อหญิงสาวไม่เต็มใจรับรักชายหนุ่ม จะใช้วิธีการฉุด ซึ่งนำไปสู่การแต่งงานในภายหลัง บิดาทางฝ่ายชายจะหาวิธีในการฉุด และจัดหาคนไปช่วยบุตรชายของตนด้วย การฉุดจะกระทำกันนอกบ้านโดยลวงหญิงรักออกจากบ้านพัก เพราะถ้าฉุดในบ้านถือว่าเป็นการผิดผี จะต้องเสียค่าปรับไหม ฝ่ายหญิงสาวจะไม่ยอมให้ความร่วมมือ และกระทำทุกวิธีทางที่จะให้ญาติช่วยเหลือตนเอง ขณะแย่งชิงกันญาติผู้ใหญ่ทาง ฝ่ายชายจะอ้อนวอนญาติทางฝ่ายหญิงให้ปล่อยหญิงสาวไปกับตนเมื่อตัวหญิงสาวไปถึงบ้านฝ่ายชายแล้วจะถูกจัดให้อยู่ในห้องเดียวกับชายหนุ่มที่ต้องการแต่งงานด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 75

ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน

ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน

ในอดีตการหมั้นของม้ง จะนิยมหมั้นระหว่างญาติลูกพี่ลูกน้องต่างแซ่กัน กล่าวคือ ลูกของพี่ หรือน้องชาย กับลูกของพี่ หรือน้องสาว การหมั้นจะกระทำตั้งแต่บุตรของทั้งสองฝ่ายมีอายุประมาณ 1 เดือน ทางฝ่ายชายเป็นผู้ไปหมั้น โดยนำสิ่งของตาม ธรรมเนียมไปมอบให้บิดามารดาของฝ่ายหญิง โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า ถ้าบุตรโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วจะให้แต่งงานกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สัญญาจะต้องเสียค่าปรับให้คู่สัญญาตามธรรมเนียมการหมั้น ปัจจุบันม้งยังคงยืดถือปฏิบัติกันอยู่ แต่พบน้อยมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 181

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 7,621

ชนเผ่าม้ง : ข้อห้าม

ชนเผ่าม้ง : ข้อห้าม

ชาวเขาเผ่าม้งมีความยึดมั่นในข้อปฏิบัติเฉพาะประจำกลุ่ม ประจำแซ่สกุลของตนเอง ม้งแต่ละสกุลหรือแต่ละแซ่มาอยู่ร่วมกัน เป็นชุมชนหมู่บ้านม้ง ทุกคนต่างก็จะตระหนักถึงข้อปฏิบัติให้อยู่ในกรอบ ซึ่งข้อกำหนดหรือข้อปฏิบัติ อาทิ สมาชิกม้งที่มีนามสกุลเดียวกัน จะแต่งงานด้วยกันไม่ได้ ถ้าจำเป็นต้องแต่งงงานกันจริง ๆ จะต้องให้หญิงและชายคู่กรณี ทำพิธีตัดญาติก่อน แล้วจึงจะแต่งงานกันได้ ชายหญิงม้งจะต้องไม่แสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกชอบพอกันต่อหน้าพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิงเด็ดขาด หรือในที่สาธารณะ เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 163

ปีใหม่ลูกข่าง

ปีใหม่ลูกข่าง

เป็นประเพณีเปลี่ยนฤดูกาลทำมาเลี้ยงชีพ จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ตรงกับเดือนอาข่า คือ “ท้องลาบาลา” คนทั่วไปนิยมเรียกประเพณีนี้ว่า ปีใหม่ลูกข่าง ประเพณีนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลทำมาหากิน ซึ่งภายหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์จากท้องไร่นา เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ฤดูแห่งการพักผ่อน ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย โดยผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมีการทำลูกข่าง “ฉ่อง” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,940

ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน

ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน

อุปกรณ์ เครื่องใช้ของม้งโดยปกติแล้วม้งจะมีการทำงานหนักในไร่หรือในสวนต่าง ๆ ม้งจึงมีการตีมีดให้เหมาะสมกับงานที่ทำเช่น การตัดไม้จะต้องใช้ มีดด้ามยาว (เม้าะจั๊วะ) หรืออาจจะใช้ขวานก็ได้ ส่วนการทำอาหารต่างจะใช้มีดด้ามสั้นหรือมีดปลายแหลม ส่วนงานที่หนักจะต้องใช้มีดที่มีขนาดใหญ่ เหมาะกับการใช้งาน

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 189

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 15,163