ข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน
เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้ชม 22
[16.7558946, 98.5490519, ข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน]
“ข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน” เป็นอาหารที่จะทำกันในช่วง “เหลินสามมน” ขึ้นสิบห้าค่ำ หรือวันมาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณี 12 เดือน ของชาวไทยใหญ่ ประเพณี“ข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน” เป็นประเพณีหนึ่งที่จัดขึ้นทุกปี และเป็นประเพณีที่มีความผูกพันกับชาวบ้านผู้ทำการเกษตรมาช้านานถือว่าเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่จัดขึ้นและสืบทอดแก่ลูกหลานสืบมา โดยชาวไทยใหญ่มีความเชื่อว่าหลังการทำนาหรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ต้องมีการระลึกถึงบุญคุณของข้าว(พระแม่โพสพ) ที่ได้คุ้มครองไร่นาหรือให้ชาวนามีข้าวไว้หล่อเลี้ยงชีวิต และเมื่อได้ข้าวมาก็จะนำไปถวายวัดเพื่อเป็นศิริมงคล และข้าวนั้นต้องเป็นข้าวใหม่ ในเช้าวัน “เหลินสามมน”หรือวันมาฆบูชา ชาวบ้านในชุมชนจะรวมตัวกันที่วัดเพื่อร่วมด้วยช่วยกันกวนข้าวหย่าฮู้ และข้าวถัมมะแน หลังจากมีการกวนข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน เสร็จแล้วจะนำไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันมาฆบูชา และส่วนที่เหลือทั้งหมดจะนำไปตาน (ให้ทาน) คนเฒ่าคนแก่ที่บุคคลนั้นๆ ให้ความเคารพนับถือ หรือแจกเป็นทานในหมู่บ้านหรือตามบ้านญาติสนิทมิตรสหาย และทำการแจกจ่ายให้แก่กันและกันอย่างทั่วถึง เพราะชาวไทยใหญ่มีความเชื่อว่าการได้รับข้าวหย่าฮู้ ข้าวถัมมะแนนั้น เป็นอานิสงค์ อันยิ่งใหญ่ ซึ่งผู้ที่ได้รับข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน จะเป็นผู้มีบุญวาสนา หากได้รับประทานแล้ว จะทำให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายแข็งแรง มีสติปัญญาที่ดี เป็นศิริมงคลต่อชีวิต ซึ่งชาวไทยใหญ่และกลุ่มชาติพันธ์ บ้านแม่ตาว หมู่ที่ 1 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เพราะสิ่งนี้ถือเป็นการสร้างความสุขทางด้านจิตใจในการได้ทำบุญ และเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีให้กับพี่น้องในชุมชนสืบต่อไป
วัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
- ข้าวหย่าฮู้ (1 หม้อ) ประกอบด้วย
1. ข้าวเหนียว 1/2 ถัง (ครึ่งถัง หรือ 4 แป่)
2. น้ำอ้อย 8 ห่อ (8 กก.)
3. ถั่วลิสง 1 กก.
4. งาขาวคั่ว 1 กก.
5. มะพร้าวขูด 3 กก.
กรรมวิธีในการกวนข้าวหย่าฮู้
วิธีทำ เคี่ยวน้ำอ้อยให้เหนียวพอสมควรในกระทะใบบัว ใส่งาขาวคั่ว ถั่วลิสงทุบพอแตก มะพร้าวขูด ใส่น้ำผึ้ง ใส่ข้าวเหนียวนึ่ง ลงไปกวนให้ทั่ว พอเหนียวก็สำเร็จเป็นข้าวหย่าฮู้
- ข้าว ถัมมะแน (1 หม้อ) ประกอบด้วย
๑. ข้าวเหนียว 1/2 ถัง (ครึ่งถัง หรือ 4 แป่)
๒. น้ำมันพืช 2 1/2 ขวด (2 1/2ลิตร)
๓ .ถั่วลิสงคั่ว 1 กก.
๔. งาขาวคั่ว 1 กก.
๕. มะพร้าวหั่นทอด 3 กก. (หรือมะพร้าว 15 ลูก)
๖. ขิงหั่นฝอย 1/2 กก.
๗. กระเทียมแกะผ่าซีก 1/2 กก.
๘. เกลือป่น 2 ขีด
๙. น้ำสะอาด 9 ลิตร ( ๙ กก.)
กรรมวิธีในการกวนข้าวถัมมะแน
วิธีทำ ตั้งกระทะใบบัวให้ร้อน ใส่มะพร้าวที่หั่นเป็นเส้นฝอย คั่วให้สุกพอเหลือง ล้างข้าวเหนียวใส่ลงไปคลุกเคล้าในน้ำมันพืช เติมน้ำร้อนแล้วปิดฝา อบไว้ด้วยใบตองกล้วยเพื่อให้ข้าวเหนียวสุก แล้วจึงใส่ถั่วลิสงคั่วทุบพอแตก งาขาว กระเทียมแกะเปลือกผ่าซีก ขิงฝอย เติมเกลือ เพื่อให้ได้รสชาติที่เหมาะสม ก็สำเร็จเป็นข้าวถัมมะแน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
- วัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
- นายสุพร กาวินำ 32 หมู่ 1 ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
คำสำคัญ : ข้าวหย่าฮู้
ที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. (2566). https://tak.m-culture.go.th/th/db_95_tak_43/186419
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน. สืบค้น 24 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2261&code_db=610008&code_type=TK007
Google search
ส้ามะเขือแจ้ หรือ ส้ามะเขือขื่น “มะเขือแจ้” เป็นภาษาเรียกทางภาคเหนือ ส่วน “มะเขือขื่น” คือภาษาเรียกทางภาคกลาง เป็นลูกสีเหลือง นำมาซอยบางๆ และปรุงรส คำว่า “ส้า” คือการนำมาปรุง จึงเรียกว่าส้ามะเขือนั่นเอง
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,940
ข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน เป็นอาหารที่จะทำกันในช่วง “เหลินสามมน” ขึ้นสิบห้าค่ำ หรือวันมาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณี 12 เดือน ของชาวไทยใหญ่ ประเพณี“ข้าวหย่าฮู้ ถัมมะแน” เป็นประเพณีหนึ่งที่จัดขึ้นทุกปี และเป็นประเพณีที่มีความผูกพันกับชาวบ้านผู้ทำการเกษตรมาช้านานถือว่าเป็นประเพณีของชาวไทใหญ่จัดขึ้นและสืบทอดแก่ลูกหลานสืบมา
เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 22
อุ๊บไก่ หรือ อุ๊กไก่ เป็นอาหารของชาวไทใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่าทางตอนใต้ของจีน เมืองชายของของอินเดีย ลาว รวมถึงทางภาคเหนือของไทย อุ๊บไก่ คือ ไก่อบด้วยเครื่องแกงที่มีพริก หอม กระเทียม ขิง ตะไคร้ ปรุงรสด้วยถั่วเน่า เกลือ ซีอิ๊วและรับประทานคู่กับข้าวเหนียวเหลืองที่หุงด้วยขมิ้น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 13,619
จะส่าน" เป็นอาหารของชาวไทใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับก๋วยเตี๋ยวแห้งบ้านเรา แต่ความพิเศษของ "จะส่าน" จะมีเอกลักษณ์ที่เป็นของชาวไทใหญ่เอง ลักษณะเด่นของจะส่าน คือ ใช้เส้นชนิดเล็กปรุงด้วยกุ้งแห้งป่น แคบหมูชิ้นเล็ก หอมกระเทียมเจียว หมูบด น้ำตาลทราย น้ำมะนาว น้ำปลามีทั้งชนิดแห้ง และน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,551