ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้ชม 29

[16.5498787, 99.1249011, ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก]

      ม้ง เป็นกลุ่มชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน และด้วยผลจากสงครามจึงอพยพมาอาศัยอยู่ใน พม่า ลาว เวียดนาม และประเทศไทย ปัจจุบันม้งที่พบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ม้งขาว ม้งดำ และม้งลาย
      ชาวม้งมักจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อว่างจากการเพาะปลูกในไร่นา ผู้ชายม้งจะทำงานตีเหล็กและเครื่องเงิน ขณะที่ฝ่ายผู้หญิงจะเย็บปักเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม จึงมีคำกล่าวว่า “ผู้หญิงปักผ้า ผู้ชายตีมีด”
      ผ้าปักลายม้ง สะท้อนถึงวิถีชีวิตและเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชาวม้งที่สืบทอดกันมา เทคนิคที่ใช้การปักผ้าม้งโดยหลักจะมี 2 แบบคือ แบบปักเป็นกากบาทคล้ายลายปักครอสติช และอีกแบบหนึ่งคือ การปักแบบเย็บปะติด ลวดลายที่ปักจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ลวดลายสร้างสรรค์จากจินตนาการเลียนแบบมาจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว วิถีชีวิต ตำนาน ความเชื่อ เรื่องเล่า และในปัจจุบันมีการปรับลวดลายให้เข้ากับยุคสมัย

ผู้ให้ข้อมูล นายอาทิตย์ แสงว่าง ผู้ใหญ่บ้านศรีคีรีรักษ์ 0615700974

คำสำคัญ : ผ้าปักลายม้ง

ที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. (2566). ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. https://tak.m-culture.go.th/th/db_95_tak_51/262136

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. สืบค้น 24 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2270&code_db=620001&code_type=TK004

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2270&code_db=620001&code_type=TK004

Google search

Mic

ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

ผ้าปักลายม้ง บ้านศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

ผ้าปักลายม้ง สะท้อนถึงวิถีชีวิตและเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชาวม้งที่สืบทอดกันมา เทคนิคที่ใช้การปักผ้าม้งโดยหลักจะมี 2 แบบคือ แบบปักเป็นกากบาทคล้ายลายปักครอสติช และอีกแบบหนึ่งคือ การปักแบบเย็บปะติด ลวดลายที่ปักจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ลวดลายสร้างสรรค์จากจินตนาการเลียนแบบมาจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว วิถีชีวิต ตำนาน ความเชื่อ เรื่องเล่า และในปัจจุบันมีการปรับลวดลายให้เข้ากับยุคสมัย

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 29