พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้ชม 58
[16.8895739, 99.105954, พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์]
พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เป็นการนำผ้าผืนยาวที่คนในชุมชนร่วมใจกันถวายขึ้นไปห่มองค์พระธาตุเจดีย์ โดยให้คนในชุมชนร่วมใจกันถือผ้าที่จะใช้ห่มองค์พระธาตุเจดีย์ เดินเวียนเทียนรอบพระธาตุเจดีย์ จำนวน ๓ รอบ โดยจะต้องตั้งฐานจิตเพื่อสืบทอดพระศาสนา เจริญบุญกุศลในธรรม จรรโลงคุณงามความดี ก่อนจะนำผ้าขึ้นไปห่มรอบองค์พระธาตุเจดีย์
ผ้าห่มพระธาตุเป็นสื่อนำจิตของเราให้ตั้งปณิธานเพื่อที่จะทำตามเจตนารมณ์ที่ตั้งฐานจิตไว้ ซึ่งการห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ถูกจัดว่าเป็นมหาบุญกุศลที่ใหญ่ ด้วยเหตุผลดังนี้
1. พระธาตุเจดีย์เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า
2. พระธาตุเจดีย์เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี เป็นนิมิตหมายเครื่องเตือนใจ ละชั่วทำดี
การห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ จะมีใจความของการห่มอยู่ 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพระธาตุเจดีย์ โดยมีที่มาจาก
1. ในพระธาตุเจดีย์ก็มีพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูก) ของพระพุทธเจ้าอยู่ ก็ถือว่าเป็นพระพุทธ
2. ในพระธาตุเจดีย์ก็มีพระธรรมอยู่ในพระธาตุ ถ้าไม่มีพระธรรมพระธาตุเจดีย์ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ และ
3. พระธาตุเจดีย์ก็มีพระสงฆ์เป็นผู้นำการก่อสร้าง เป็นผู้ดูแล
เมื่อมีการนำผ้าห่มพระธาตุมาถวายห่มพระเจดีย์ ถือเป็นการรักษาให้พระเจดีย์ยังคงอยู่สืบทอดต่อไป และเพื่อแสดงปณิธานเจตนารมณ์ ที่จะยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เท่ากับยังพระศาสนาให้ยั่งยืนตลอดกาล ก็เปรียบเสมือนเราได้ทำบุญกับพระพุทธเจ้าและเหล่าผู้คน ได้ทำความดี ละเว้นความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำให้โลกนี้เกิดปลอดภัย พบสันติสุข
โดยพระธาตุเจดีย์ที่ตั้งอยู่ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นพระธาตุเจดีย์ทรงมอญสีทอง มีวิหารแบบไทยอยู่ด้านหน้าติดกับพระเจดีย์ ด้านในวิหารประดิษฐานหลวงพ่อพุทธมนต์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อสำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย แต่เดิมนั้น พระธาตุเจดีย์ทรงมอญเป็นสีขาว ภายหลังบูรณะเป็นสีทองสวยงาม เหตุที่สร้างเคียงกันกับวิหาร ซึ่งเป็นวิหารแบบไทยนั้น คาดว่าน่าจะมาจาก เรื่องราวในประวัติศาสตร์เพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์ในสมัยก่อนของคนไทย และคนมอญที่มีการติดต่อไปมาหาสู่กัน เป็นไปตามประวัติได้บันทึกไว้ เมื่อครั้ง “มะกะโท” ชาวมอญแห่งเมืองเมาตะมะ เมืองพม่าได้เข้ามารับราชการอยู่ในกรุงสุโขทัยสมัยราชวงศ์พระร่วง ราวปี พ.ศ.1800 หรือราวกว่า 700 ปีมาแล้ว มะกะโทได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์มอญนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว เมื่อปี พ.ศ. 1836 ครั้งนั้นมอญอยู่ในอำนาจการปกครองของกรุงสุโขทัย พระเจ้าแสนเมืองมิ่ง กษัตริย์มอญองค์ต่อมาก็ยังขึ้นตรงต่อสุโขทัย จนกระทั้งสิ้นรัชกาล พ่อขุนรามคำแหง มอญจึงแยกตัวเป็นอิสระ บันทึกประวัติศาสตร์ไทยกล่าวถึงชาวมอญ เคยมีอำนาจรุ่งเรืองปกครองภาคใต้ของพม่าเคยประกาศเอกราชที่เมืองหงสาวดี รวมไปถึงพุทธสถานสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศพม่า คือ เจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง ก็เป็นผลงานการก่อสร้างของชาวมอญ ทั้งนี้ เจดีย์ขาวบริสุทธิ์แห่งวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นอิทธิพลแห่งศิลปกรรม วัฒนธรรม ที่สืบสานต่อมาและยืนยันความสัมพันธ์แห่งเผ่าพันธ์เชื้อชาติ ของคนไทย และคนมอญที่มีการติดต่อไปมาหาสู่กัน
ประวัติวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2400 ผู้สร้างคือ พระยาวิชิตรักษา (แก้ว เจ้าเมืองตาก) อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ.2410 แต่เดิมนั้นมีอยู่ 2 วัด ติดต่อกันคือ วัดโบสถ์มณีราษฎร์ กับวัดศรีบุญเรือง โดยมีกำแพงกั้นอยู่ด้านหลังอุโบสถของวัดโบสถ์มณีราษฎร์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2456 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการพระสงฆ์ จังหวัดตาก ได้เสด็จเยี่ยมวัดโบสถ์มณีราษฎร์วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2456 พระองค์ทรงปรารภว่า ถ้าได้รวมวัดศรีบุญเรืองกับวัดโบสถ์มณีราษฎร์เป็นวัดเดียว โดยให้ชื่อว่า “วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง” จะเป็นการดียิ่ง หลังจากนั้นจึงได้มีการรวมวัดทั้งสองดังกล่าวเป็นวัดเดียว ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ให้มีนามว่า “วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง” เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2497 นับเป็นวัดชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วประมาณ พ.ศ.2410
สถานที่ตั้ง
ที่ตั้งเลขที่ 231 บ้านรมณีย์ ถนนตากสิน ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
คำสำคัญ : พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์
ที่มา : https://tak.m-culture.go.th/th/db-95-tak-72/240072
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์. สืบค้น 17 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2281&code_db=610004&code_type=TK001
Google search
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 11,500
ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ในวันเพ็ญเดือนสิบสองจะมีการลอยโคม เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยโคมจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ โคมลมหรือเรียกอีกอย่างว่า ว่าวควัน จะลอยในช่วงกลางวัน และโคมไฟที่ใช้ในตอนกลางคืน ในปัจจุบันเกิดความเชื่อใหม่ขึ้น คือ ลอยโคมเพื่อปล่อยทุกข์ปล่อยโศกหรือเรื่องร้ายไปกับโคม ไม่ใช่เพื่อนมัสการพระเกศแก้วจุฬามณีอีกต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 8,205
มวยคาดเชือก เป็นการชกมวยไทยในสมัยโบราณที่ใช้ เชือกพันที่หมัดทั้ง 2 ข้าง เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีการพัฒนาสืบทอดกันมา โดยใช้หลายส่วนของร่างกาย คือ หมัด เข่า ศอก พิษสงของมวยคาดเชือกถือการพันหมัดด้วยเชือก ชุบแป้ง ให้แห้งแข็ง เชือกชุบเมื่อสัมผัสผิวคู่ต่อสู้เพียงเฉียดๆ ก็อาจทำให้เลือดตกยางออกได้ บางครั้งอาจผูกเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของแต่ละคน
เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 31
พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เป็นการนำผ้าผืนยาวที่คนในชุมชนร่วมใจกันถวายขึ้นไปห่มองค์พระธาตุเจดีย์ โดยให้คนในชุมชนร่วมใจกันถือผ้าที่จะใช้ห่มองค์พระธาตุเจดีย์ เดินเวียนเทียนรอบพระธาตุเจดีย์ จำนวน ๓ รอบ โดยจะต้องตั้งฐานจิตเพื่อสืบทอดพระศาสนา เจริญบุญกุศลในธรรม จรรโลงคุณงามความดี ก่อนจะนำผ้าขึ้นไปห่มรอบองค์พระธาตุเจดีย์
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 58
กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 798
“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 938
หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 822
ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,589
หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"
เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 3,847
การทำบุญกลางบ้าน คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธีเลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็กๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้นๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 771