คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้ชม 28
[16.9128677, 99.0890916, คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร]
คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร เป็นคัมภีร์ใบลานที่มีอายุเก่าแก่พอๆกับการสร้างวัดเกาะตาเถียร เพราะในอดีตพระสงฆ์จะเรียนหนังสือจากคัมภีร์ใบลาน โดยภาษาในพระคัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียรนั้นได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย เพราะในสมัยนั้นจะเรียนภาษาขอมร่วมกับภาษาไทยภาคกลาง พร้อมกับการเรียน
การเขียนตัวอักษรลงในใบลาน เรียกว่า “การจาร” การเขียนตัวหนังสือลงในใบลาน เพื่อจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร นิยมเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติพระพุทธเจ้า, กัณฑ์เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์, บทสวดมนต์ เป็นต้น เพื่อใช้ในการท่องสวดมนต์หรือใช้ประกอบการเทศน์มหาชาติในวันสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป เจ้าอาวาสและพระสงฆ์วัดเกาะตาเถียรในอดีต ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดทำคัมภีร์บางส่วน โดยเปลี่ยนวัสดุจากใบลานเป็นกระดาษ เรียกว่า “ทานธรรม” โดยนิยมเขียนเกี่ยวกับเรื่องบาปบุญคุณโทษ นิทานชาดก และประวัติการก่อตั้งวัดเกาะตาเถียร ซึ่งคัมภีร์ทานธรรมที่ทำมาจากกระดาษมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างจากคัมภีร์ใบลานที่ว่า ข้อดีคือสามารถใช้สีเอกรงค์หรือสีที่ได้จากธรรมชาติ ในการวาดภาพ เพื่อบรรยายลักษณะของตัวบทนั้น ๆ อาทิ การวาดภาพสวรรค์ดาวดึงส์, นรก 7 ชั้น, นิทานชาดก ซึ่งส่วนใหญ่จะจ้างช่างมาเขียน เพื่อนำไปถวายวัด ข้อเสียคือไม่สามารถเก็บในพื้นที่ที่มีอากาศชื้นได้ในหอพระไตร อีกทั้งเสี่ยงต่อการถูกปลวกกัดกินและสีอาจจะจางหายเร็วขึ้น จึงต้องมีวิธีการเก็บรักษาคัมภีร์ใบลานเป็นการเฉพาะ ดังนี้
อุปกรณ์การเก็บคัมภีร์ใบลาน
1) เชือก
2) ผ้าดิบชุบน้ำยา (น้ำยาสมุนไพร)
3) กระดาษไข
4) แปรงทาสี (ขนนุ่ม)
วิธีทำ
1) นำคัมภีร์ใบลานออกจากตู้พระธรรมในหอพระไตร โดยแยกพระคัมภีร์ที่มีสภาพสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์แยกออกจากัน
2) แกะเชือกออกจากคัมภีร์ใบลาน จากนั้นเรียงหน้าคัมภีร์ใบลานใหม่ โดยให้เช็คสภาพคัมภีร์ในแต่ละหน้าอย่างเบามือ (คัมภีร์ทานธรรมก็ทำความสะอาดขั้นตอนเหมือนคัมภีร์ใบลาน)
3) นำไม้แปลงทาสีที่มีลักษณะขนที่นุ่มๆ มาปัดฝุ่นออกจากคัมภีร์ใบลาน โดยค่อยๆปัดออกไปในทางเดียวกัน ทีละหน้าทีละแผ่น
4) เมื่อทำความสะอาดคัมภีร์ใบลานครบทุกแผ่นแล้ว นำเชือกมามัดใหม่ตามรูของใบลานใหม่
5) นำกระดาษไขมาห่อคัมภีร์ใบลาน เพื่อไม่ให้ความชื่นเข้าไปข้างในได้
6) นำผ้าที่ย้อมสมุนไพรมาห่ออีกหนึ่งชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้แมลง เช่น มด ปลวก เป็นต้น มากัดกินได้ พร้อมนำเชือกมามัดให้เน้นและเขียนหมายเลขป้ายกำกับโบราณวัตถุลงในกระดาษ เพื่อเป็นการทำป้ายบัตรผูกติดกับวัตถุทุกชิ้น เมื่อยังไม่ได้มีการทำทะเบียนและถ่ายภาพเพื่อใช้ในการแบ่งแยกประเภทชนิดต่าง ๆ มีรายการที่ต้องบันทึกในบัตรชั่วคราวดังนี้ เลขประจำวัตถุ, ชื่อวัตถุ, ประวัติ จากนั้นนำทั้งหมดไปจะใส่ในตู้กระจกเก็บรักษาให้มิดชิด
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
พระครูประทีปจันทรังษี (ถาวร จนฺทธมฺโม) เจ้าคณะตำบลไม้งาม เจ้าอาวาสวัดเกาะตาเถียร
นายนครินทร์ น้ำใจดี อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เลขที่ 108 หมู่ 1 ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
คำสำคัญ : คัมภีร์ใบลาน
ที่มา : https://tak.m-culture.go.th/th/db-95-tak-75/261124
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร. สืบค้น 17 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2277&code_db=610004&code_type=TK001
Google search
มวยคาดเชือก เป็นการชกมวยไทยในสมัยโบราณที่ใช้ เชือกพันที่หมัดทั้ง 2 ข้าง เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีการพัฒนาสืบทอดกันมา โดยใช้หลายส่วนของร่างกาย คือ หมัด เข่า ศอก พิษสงของมวยคาดเชือกถือการพันหมัดด้วยเชือก ชุบแป้ง ให้แห้งแข็ง เชือกชุบเมื่อสัมผัสผิวคู่ต่อสู้เพียงเฉียดๆ ก็อาจทำให้เลือดตกยางออกได้ บางครั้งอาจผูกเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของแต่ละคน
เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 31
กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 798
ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ในวันเพ็ญเดือนสิบสองจะมีการลอยโคม เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยโคมจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ โคมลมหรือเรียกอีกอย่างว่า ว่าวควัน จะลอยในช่วงกลางวัน และโคมไฟที่ใช้ในตอนกลางคืน ในปัจจุบันเกิดความเชื่อใหม่ขึ้น คือ ลอยโคมเพื่อปล่อยทุกข์ปล่อยโศกหรือเรื่องร้ายไปกับโคม ไม่ใช่เพื่อนมัสการพระเกศแก้วจุฬามณีอีกต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 8,205
วัฒนธรรมจังหวัดตาก เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน หรือแบบพหุวัฒนธรรม ชนชาวตากในเขตเทศบาลและใกล้เคียงมีกลุ่มชนหลายกลุ่ม เช่น มอญ ลาว(คนเมือง) ไทย จีน เป็นต้น แต่ที่มีความเชื่อคล้ายกันคือ การไหว้ผีปู่ย่าหหรือผีบรรพบุรุษ ก่อนที่จะกระทำพิธีต่างๆ ต่อไป ตากจึงมีการแห่นาคไปสักการะบอกกล่าวพระเจ้าตากสิน ซึ่งนับถือเช่นเดียวกับผีบรรพบุรุษ นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะเข้ามาถึง บ้างพื้นที่จึงมีการไหว้ผีปู่ย่าหรือทรงผีปู่ย่า เพื่อเป็นการเลี้ยงฮ้าวหรือถึงใจ ให้เป็นการขอขมา
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 30
งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ของจังหวัดตาก เป็นงานประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบที่โดดเด่น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,658
ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณการทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง และยังเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคม เช่น ผ้าทอที่มีลวดลายสวยงาม มีสีสันและพิสดารนั้นมักใช้เฉพาะเจ้านายในราชสำนัก หรือ คนที่มีความร่ำรวย ส่วนผ้าซิ่นลายธรรมดาเรียบงายสีสันน้อยมักใช้ในกลุ่มชาวบ้านโดยทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 739
หากเอ๋ยถึงผี คนทั่วไปมักนึกถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาสัมผัส และแทนในรูปความน่ากลัว ความเชื่อในเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดในสังคมอาคเนย์ แม้ในระยะหลังเรานับถือพุทธมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์) แต่เราก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีที่ฝั่งลึกในจิตวิญญาณของเราอยู่ สะท้อนผ่านในรูปพิธีกรรม ความเชื่อ ผีจึงถูกผูกร้อยกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนเหนือ ที่นับถือผีข้างมารดา ถือว่าเป็นเก๊า (หลัก) ของสายตระกูล คนเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ สร้างหิ้งบูชาผีไว้ที่ด้านเหนือของเรือนเป็นหิ้งผีไว้สักการะยามทำงานบุญงานทาน ก่อนเข้าพรรษา หรือปีใหม่ไทย ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูด้วยการจัดเครื่องไหว้ผี ตามจารีตของคนในท้องถิ่น
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 929
พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เป็นการนำผ้าผืนยาวที่คนในชุมชนร่วมใจกันถวายขึ้นไปห่มองค์พระธาตุเจดีย์ โดยให้คนในชุมชนร่วมใจกันถือผ้าที่จะใช้ห่มองค์พระธาตุเจดีย์ เดินเวียนเทียนรอบพระธาตุเจดีย์ จำนวน ๓ รอบ โดยจะต้องตั้งฐานจิตเพื่อสืบทอดพระศาสนา เจริญบุญกุศลในธรรม จรรโลงคุณงามความดี ก่อนจะนำผ้าขึ้นไปห่มรอบองค์พระธาตุเจดีย์
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 57
หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,078
คัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียร เป็นคัมภีร์ใบลานที่มีอายุเก่าแก่พอๆกับการสร้างวัดเกาะตาเถียร เพราะในอดีตพระสงฆ์จะเรียนหนังสือจากคัมภีร์ใบลาน โดยภาษาในพระคัมภีร์ใบลาน วัดเกาะตาเถียรนั้นได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย เพราะในสมัยนั้นจะเรียนภาษาขอมร่วมกับภาษาไทยภาคกลาง พร้อมกับการเรียน การเขียนตัวอักษรลงในใบลาน เรียกว่า “การจาร” การเขียนตัวหนังสือลงในใบลาน เพื่อจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร นิยมเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติพระพุทธเจ้า, กัณฑ์เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์, บทสวดมนต์ เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 28