โครงการหลวงเลอตอ
เผยแพร่เมื่อ 11-12-2024 ผู้ชม 14
[17.233648, 98.4314112, โครงการหลวงเลอตอ]
ความเป็นมา
บ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีความสูงเฉลี่ยบริเวณกลางหมู่บ้านความสูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่เศษ มีปัญหาเรื่องการลักลอบปลูกฝิ่นจำนวนมาก จึงมีการจัดตั้งเป็นพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนบ้านเลอตอ จนกระทั่งวันที่ 17 ตุลาคม 2559 มจ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิโครงการหลวง มีพระดำริให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งที่ 39 ขึ้นที่ บ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อสภาพภูมิสังคมบนพื้นที่สูง
2) เพื่อพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
3) เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟู และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์
4) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการตลาดสินค้าโครงการหลวง
5) เพื่อพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน
เป้าหมาย
มูลนิธิโครงการหลวงมีเป้าหมายการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานไว้กับโครงการหลวง ดังนี้
1) ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
2) ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร
3) กำจัดการปลูกฝิ่น
4) รักษาดินและใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือให้ป่าอยู่ในส่วนที่เป็นและทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูกอย่าให้สองส่วนนี้รุกล้ำซึ้งกันและกัน
การดำเนินงาน
หลังจากที่ มจ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง มีพระดำริให้จัดตั้งศูหนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งที่ 39 และเลือกบ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการแล้ว เจ้าหน้าที่มูลนิธิโครงการหลวงและหน่วยงานราชการในพื้นที่ ได้เประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่บ้านเลอตอทราบถึงการดำเนินงานโครงการ ทำคัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยมีผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ราย โดยใช้พื้นที่ทำกินของตนเอง จากนั้นมูลนิธิฯได้ขอใช้ประโยชน์ในที่ดินตรวจยึดฯของกรมป่าไม้เนื้อที่ 39 ไร่เศษ เพื่อใช้ทำแปลงสาธิต สร้างโรงคัดแยกผัก ผลไม้ และสร้างอาคารสำนักงาน
ในการดำเนินการระยะเริ่มต้นนี้ จะทำการปลูกพืชเมืองหนาวอายุสั้น ได้แก่ สตรอเบอรีและผักเมืองหนาว เพื่อสามารถขายได้ภายในเดือนมราคม 2560 และจะนำผลไม้เมืองหนาวเช่น กีวี, สาลี่, อะโวคาโด ฯลฯ มาทดลองปลูกในแปลงทดลองเมื่อได้ผลจะทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไป
เมื่อการดำเนินโครงการในพื้นที่บ้านเลอตอประสบผลสำเร็จ จะดำเนินการขยายผลไปยังกลุ่มบ้านที่อยู่ข้างเคียงต่อไป สรุปสั่งการ ม.จ.ภีศเดช รัชนี การขอใช้พื้นที่ป่าไม้สำหรับทำโครงการหลวง จะทำโดยใช้คำสั่งของกรมป่าไม้ โดยให้ ผอ.สมชายฯ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการทำคำสั่งจากหน่วยเหนือลงมา ประชาชนในพื้นที่ยังมีการทำไร่หมุนเวียน(ไร่เลื่อนลอย) บนพื้นที่สูง (เห็นจากสภาพพื้นที่) จะต้องหาแนวทางนำคนที่ทำไร่หมูนเวียนในพื้นที่สูงให้ลงมาข้างล่าง ปล่อยพื้นที่สูงชันให้เป็นป่า ต้องการให้ประชาชนเลิกปลูกฝิ่น ตามคณะกรรมการช่วยเหลือโครงการหลวง การแก้ปัญการการปลูกฝิ่นคือการทำตามแนวทางพระเจ้าอยู่หัว โดยการปลูกพืชเมืองหนาวที่มีราคาแพงทดแทน ให้ประชาชนมีรายได้ เมื่อมีรายได้ก็จะเลิกปลูกฝิ่น เรื่องถนนสำคัญ เพราะจะช่วยเรื่องการขนส่งผัก ผลไม้ ถ้าถนนไม่ดำจะทำให้ผัก ผลไม้ช้ำ ขายไม่ได้ราคา แต่ถ้าถนนดีก็จะสามารถคัดคุณภาพและรักษาคุณภาพของผักผลไม้ได้ เรื่องไร่หมุนเวียนให้พัฒนาที่ดินช่วยหาแนวทางแก้ไข ป่าไม้จะทำอย่างไรเพราะเกษตรกรที่ใช้ที่ดินในโครงการหลวง ป่าไม้ต้องเห็นด้วย ยอมให้ทำเกษตรในพื้นที่ชันไม่มากและจำเป็นต้องเอาต้นไม้ออก ป่าไม้สามารถยอมรับได้หรือไม่ นำคนที่ทำไร่หมุนเวียนบนที่ชันมากลงมาข้างล่าง ปล่อยที่ชันมากเป็นป่า ยกตัวอย่างกะเหรี่ยงที่เชียงใหม่ปัจจุบันปลูกดอกกุหลาบได้เงินเดือนละ 200,000 บาท ปัจจุบันทำเป็นกองทุน ให้คนที่ต้องงการปลูกใหม่ได้ยืมเป็นทุนก่อน เมื่อสามารถตั้งตัวได้ก็นำมาคืนเพื่อให้รายอื่นได้ยืมต่อไป ปัจจุบันโครงการหลวงสามารถขายผักได้วันละ 3 ล้านบาท เดือนละประมาณ 50 ล้านบาท ต่อไปจะปลูกผักในโรงเรือน เพื่อจะได้ไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก เน้นปลูกพืชโดยใช้พื้นที่น้อย โดยในเบื้องต้นมูลนิธิฯอาจให้ยืมเงินคนละ 20,000 บาท เมื่อมีรายได้ให้ส่งคืน ชาวเขาหายังทำไร่หมุนเวียนอยู่ก็จะแย่ ให้เปลี่ยนจากที่ปลูกบนเขาชันมากๆ ลงมาปลูกในที่ไม่ชันมาก เปลี่ยนจากไร่หมุนเวียนเป็นพืชมืองหนาวราคาแพง และให้ขายโครงการจากบ้านเลอตอไปหมู่บ้านอื่นด้วย เมื่อชาวบ้านปลูกพืชเสร็จแล้วจะให้ไปดูงานโครงการหลวงที่เชียงใหม่ ให้ผู้ใหญ่บ้าน,นายอำเภอไปด้วย ผลไม้เมืองหนาวเช่น สาลี่,อะโวคาโด,กีวี ฯลฯ ให้นำมาทดลองปลูกให้ชาวบ้านเห็นก่อน แล้วส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกต่อไป การแก้ไขปัญหาเรื่องฝิ่น ในหลวงรับสั่งฯ ให้แก้ไขด้วยการปลูกพืชเมืองหนาวราคาแพงทดแทน ให้พัฒนาที่ดินขอภาพถ่ายทางอากาศจาก ดร.อานนท์ฯ สนาม ฮ. ให้ทำเครื่องหมายไว้ การปลูกพืชให้หมู่บ้านรวมกันปลูกเป็นกลุ่ม
คำสำคัญ : โครงการหลวงเลอตอ
ที่มา :
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). โครงการหลวงเลอตอ. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2275&code_db=610001&code_type=TK008
Google search
บ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีความสูงเฉลี่ยบริเวณกลางหมู่บ้านความสูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่เศษ มีปัญหาเรื่องการลักลอบปลูกฝิ่นจำนวนมาก จึงมีการจัดตั้งเป็นพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนบ้านเลอตอ จนกระทั่งวันที่ 17 ตุลาคม 2559 มจ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิโครงการหลวง มีพระดำริให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งที่ 39 ขึ้นที่ บ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
เผยแพร่เมื่อ 11-12-2024 ผู้เช้าชม 14
ความเป็นมาของอำเภอ สันนิษฐานว่า เดิมเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงมานานกว่า 100 ปี ต่อมามีชาวไทยจากทางภาคเหนือได้พากันอพยพลงมาหาที่ทำกิน และเห็นว่าเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ จึงได้ตั้งหลักฐานอยู่อาศัยและมีคนอพยพมาอยู่เรื่อยๆ จนเป็นหมู่บ้านใหญ่ จึงได้ตั้งเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอแม่สอด เมื่อหมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้นอีก พระอินทรคีรี นายอำเภอแม่สอด ในสมัยนั้น จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอแม่ระมาด และได้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ระมาด และแต่งตั้งให้ขุนโสภิตบรรณลักษณ์เป็นปลัดกิ่งอำเภอคนแรก และที่ว่าการอำเภอยังตั้งอยู่ ณ ที่เดิมจนทุกวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,179
บ้านเลอตอ พื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จึงมีการการส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ภายหลังการสร้างศูนย์โครงการหลวงเลอตอและข้อจำกัดที่เกิดจากการประกาศพื้นที่เขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ชุมชนจึงหันมาเพาะปลูกพืชไร่และไม้ยืนต้นแทนการปลูกฝิ่น และการทำไร่หมุนเวียน
เผยแพร่เมื่อ 11-12-2024 ผู้เช้าชม 13