มวยคาดเชือก

มวยคาดเชือก

เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้ชม 31

[16.8873721, 98.8173086, มวยคาดเชือก]

"มวยคาดเชือก" เป็นการชกมวยไทยในสมัยโบราณที่ใช้ เชือกพันที่หมัดทั้ง 2 ข้าง เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีการพัฒนาสืบทอดกันมา โดยใช้หลายส่วนของร่างกาย คือ หมัด เข่า ศอก พิษสงของมวยคาดเชือกถือการพันหมัดด้วยเชือก ชุบแป้ง ให้แห้งแข็ง เชือกชุบเมื่อสัมผัสผิวคู่ต่อสู้เพียงเฉียดๆ ก็อาจทำให้เลือดตกยางออกได้ บางครั้งอาจผูกเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของแต่ละคน ปัจจุบันนิยมใช้ผ้าดิบพันหมัดแทนเชือก ทักษะของมวยนี้สามารถนำไปใช้ผสมผสานกับการใช้อาวุธต่าง ๆ ได้แก่ มีด ดาบ หอก เพื่อป้องกันตนเองและประเทศชาติ ดังเช่นใน ครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อนจะเสด็จขึ้นครองราช สมบัติได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตาก ทรงนิยมจัดการแข่งขัน ชกมวยต่อหน้าพระที่นั่ง จึงมีนักมวยต่างถิ่นที่มาแสดงฝีมือเข้าร่วม การแข่งขันชกมวยต่อหน้าพระที่นั่ง จึงมีนักมวยต่างถิ่นที่มาแสดง ฝีมือเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อคัดเลือกไปเป็นทหารไปเพื่อการสู้รบ ในยามที่มีศึกสงคราม จึงเกิดนักมวยฝีมือดีมากมาย ทหารเอก คู่พระทัยและซื่อสัตย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นที่รู้จักดีได้แก่ "พระยาพิชัยดาบหัก" ก็เริ่มต้นจากการชกมวย ณ ที่เมืองตากแห่งนี้

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
       สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก เลขที่ 3 ถนนกิตติขจร ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก โทรศัพท์/โทรสาร 055517722

คำสำคัญ : มวยคาดเชือก

ที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. (2566). https://tak.m-culture.go.th/th/db_95_tak_50/72491

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). มวยคาดเชือก. สืบค้น 17 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2258&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2258&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

ต๋าแหลว

ต๋าแหลว

ต๋าแหลวหรือตาเหลวเครื่องจักรสานทำจากไม้ไผ่และหญ้าคาถักเป็นรูปแฉกมีความหมายถึงตาของนกเหยี่ยว (นกแหลว) ไว้เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดการระบาดด้วยโรคภัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 4,183

การไหว้ผีปู่ย่าหรือผีบรรพบุรุษ

การไหว้ผีปู่ย่าหรือผีบรรพบุรุษ

วัฒนธรรมจังหวัดตาก เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน หรือแบบพหุวัฒนธรรม ชนชาวตากในเขตเทศบาลและใกล้เคียงมีกลุ่มชนหลายกลุ่ม เช่น มอญ ลาว(คนเมือง) ไทย จีน เป็นต้น แต่ที่มีความเชื่อคล้ายกันคือ การไหว้ผีปู่ย่าหหรือผีบรรพบุรุษ ก่อนที่จะกระทำพิธีต่างๆ ต่อไป ตากจึงมีการแห่นาคไปสักการะบอกกล่าวพระเจ้าตากสิน ซึ่งนับถือเช่นเดียวกับผีบรรพบุรุษ นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะเข้ามาถึง บ้างพื้นที่จึงมีการไหว้ผีปู่ย่าหรือทรงผีปู่ย่า เพื่อเป็นการเลี้ยงฮ้าวหรือถึงใจ ให้เป็นการขอขมา

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 30

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

ตากตั้งอยู่จุดกึ่งกลางเส้นทางในลำน้ำปิงที่ใช้ขึ้นลงระหว่างกรุงเทพ และหัวเมืองทางเหนือจึงมีการขยายตัวนับเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวจีนริมฝั่งแม่น้ำปิงตั้งรกรากเป็นตลาดบกการค้าริมแม่น้ำปิง จนกระทั่งการคมนาทางถนนและทางรถไฟเกิดการขยายตัวได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างมาก ลำน้ำปิงจึงลดบทบาทลงไปพร้อม ๆ กับความคึกคักของตลาดการค้าริมทางน้ำสู่การตั้งร้านค้าและเกิดเป็นชุมชนการค้าแห่งใหม่ทางด้านเหนือของตลาดการค้าเดิม (ตรอกบ้านจีน) ต่อมาเรียกพื้นที่ตลาดการค้าใหม่นี้ว่าตลาดใน ตลาดในจึงกลายเป็นชุมชนจีนใหม่ที่คึกคักมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา การเข้าของจีนใหม่นำไปสู่การพยายามรักษาจารีตแบบจีนโบราณไว้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 558

จิบอกไฟ

จิบอกไฟ

การตั้งธรรมหลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมชาวพุทธมายาวนานในสังคมภาคเหนือนิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนยี่(เหนือ) หรือในช่วงลอยกระทง ชุมชนลาวในเมืองตากในอดีตมีการสืบทอดประเพณีการตั้งธรรมหลวงในช่วงวันยี่เป็ง หนึ่งในกิจกรรมการละเล่นที่นิยมของกลุ่มชายชาวลาวในเมืองตากคือ การจิบอกไฟ หรือการจุดบอกไฟเมื่อใกล้ถึงช่วงเทศการกลุ่มผู้ชายมักช่วงกันตำดินประสิวและวัสดุประกอบบรรจุลงบนกระบอกไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกเมื่อถึงวันงานต่างแห่จากบ้านมาที่วัดและจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาในปัจจุบันแทบจะหาภาพแบบนั้นได้น้อยลงเนื่องจากความยุ่งยากในการทำบอกไฟและอันตรายหากผู้ทำไม่เชี่ยวชาญในระหว่างทำอาจจะระเบิดได้

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,145

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง

งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป  1000 ดวง ของจังหวัดตาก เป็นงานประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบที่โดดเด่น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,658

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,383

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 2,354

พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์

พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์

พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เป็นการนำผ้าผืนยาวที่คนในชุมชนร่วมใจกันถวายขึ้นไปห่มองค์พระธาตุเจดีย์ โดยให้คนในชุมชนร่วมใจกันถือผ้าที่จะใช้ห่มองค์พระธาตุเจดีย์ เดินเวียนเทียนรอบพระธาตุเจดีย์ จำนวน ๓ รอบ โดยจะต้องตั้งฐานจิตเพื่อสืบทอดพระศาสนา เจริญบุญกุศลในธรรม จรรโลงคุณงามความดี ก่อนจะนำผ้าขึ้นไปห่มรอบองค์พระธาตุเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 57

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,087

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

การแทงหยวก ถือว่าเป็นงานปราณีตศิลป์ชนิดหนึ่งของไทยที่ในปัจจุบันหาช่างผีมือที่ทำงานศิลปะชิ้นนี้ได้น้อยมาก เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การตระเตรียมอุปกรณ์ แกะสลัก(แทงหยวก) ร้อยมาลัย แกะสลักผักผลไม้ ในการประดับให้เกิดความสวยงามต่าง ๆ รวมไปถึงงานตอกกระกระดาษที่ต้องทำในช่วงตลอดคืนก่อนการทำฌาปนกิจ หรือเผาผี ในช่วงบ่าย ๆ ของวันรุ่งขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 998