ประเพณีแห่นาค ประเพณีโบราณจากพุทธกาลสู่ปัจจุบันกาล
ในปัจจุบัน ประเพณีการบวชนาคกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธ สำหรักผู้ที่ต้องการจะบวชพระ จะต้องทำการบวชนาคก่อน เพื่อรำลึกถึงนาคผู้มีความตั้งใจบวช ในแต่ละท้องที่ในประเทศไทย ประเพณีบวชนาคและแห่นาคจะแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น บวชนาคแบบธรรมดาเพื่อเตรียมบวช บวชนาคที่จัดพิธีแห่นาคอย่างประเพณีม้าแห่นาค เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการบวชนาคแบบใด ก็สะท้อนถึงประเพณีความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนในชาติ หากแต่ท้ายที่สุดการบวชนาคเป็นไปเพื่อสำหรับการบวชพระ ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางสายกลางตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้แต่กาลก่อน
16.2354607, 99.5449164
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 9,230
ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
บ้านวังน้ำ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในส่วนปกครองย่อยของตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง โดยในอดีตมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่าบริบูรณ์เป็นอย่างดี ด้วยมีลำคลองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีถนนหนทางที่เดินทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก ลักษณะเช่นนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในตั้งชุมชนและประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรรม จากการที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการประกอบอาชีพทำให้มีผู้คนหลากหลายเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพตามความรู้ตามความถนัด ชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านแห่งนี้โดยมาจากหลายจังหวัดด้วยกัน พร้อมทั้งยังได้นำพาวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ครั้งบรรพกาล ที่บรรพบุรุษได้มีการกระทำสืบต่อเนื่องกันมา สานต่อลงในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างเคร่งครัด ตามความเชื่อดั้งเดิมอีกด้วย
16.2354607, 99.5449164
เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 1,320
วัฒนธรรมลาวครั่ง
ลาวคั่ง หรือลาวครั่ง ในเขตภาคกลางตอนบนนั้น มีหลักฐานประวัติความเป็นมา พบว่าบรรพ บุรุษได้อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาที่ ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของ ประเทศไทย จากการสันนิษฐานลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสาย ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ ในภาคกลางของประเทศไทยเช่นในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง"
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 6,855
พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง
ลาวครั่ง มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษ คือผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือมีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมาก แม้แต่ในแง่ของการดำเนินชีวติไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือการดำรงชีวติประจำวัน ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีของบรรพบุรุษ เนื่องจากอาชีพหลักของชาวลาวครั่ง คือการทำนา จึงมีประเพณีความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมา เพื่อความอุดมสมบูรณ์ คือ พิธีบูชาเซ่นสรวงแม่ธรณี และแม่โพสพ ก่อนหว่านข้าวเป็นการบอกกล่าวแม่ธรณีโดยจัดวางเครื่องเซ่นไว้บนพื้นดินบริเวณหัวคันนาและกล่าวแก่แม่ธรณีว่าจะทำนาแล้วขอให้คนและควายอยู่ดีมีสุขสบาย
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 12,598
ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่
ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 13-15 เดือนเมษายน (เดือน 5) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้าหรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวัน เวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม ความสำคัญประเพณี อาบน้ำผู้ใหญ่เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือแก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกลู รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 6,859
ประเพณีการสรงน้ำพระ
การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรืออัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณรจะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่าน หรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ จะมีการถวายผา้สบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 11,703
ประเพณีการยกธง
ประเพณี “ยกธงเลิกวันสงกรานต์” ประวัติิความเป็นมาในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านแม่ลาดใหญ่ ตำบลแม่ลาด มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง พักอาศัยอยู่จึงได้นำเอาวัฒนธรรมท้องถิ่น การยกธงเลิกสงกรานต์มาสืบทอด โดยถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี ซึ่งคำว่าสงกรานต์ แปลว่า ล่วง หรือเลยไป เคลื่อนไป การต้อนรับปีใหม่ถือว่าสำคัญเพราะปีหนึ่งมีครั้งเดียว การได้รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุพร้อมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งที่คนไทยทุกคน ทุกชนชั้นได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 4,703
ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน
ลักษณะความเชื่อเป็นการทำบุญ ตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความสำคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านให้มีความรักสามัคคี ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 6,578
ประเพณีการแห่ดอกไม้
เช้าวันที่ 14 เมษายน วันแรกของการแห่ต้นดอกไม้ แต่เดิมชาวบ้านแม่ลาดใหญ่ ผู้ชายจะไปตัดไม้ไผ่ในหมู่บ้านมาเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า เช้านั้นสนุกสนานมากได้นั่งรถอีแต๊กแบบที่เรียกว่ารถไถไทย ประดิษฐ์ แต่นำมาดัดแปลงใส่ที่นั่งทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อตัดไม้ไผ่ โดยจะเลือกตัดหลายขนาด ตามแต่ว่าจะนำไปใช้ทำโครงสร้างส่วนใดของต้นดอกไม้ มีทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่เมื่อได้ไม้ไผ่ที่ต้องการ แล้วก็จะนำมาช่วยกันประกอบโครง โดยโครงสร้างจะต้องทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่มีลวด ตะปู โดยไม่ว่าจะเป็นต้นดอกไม้ขนาดเล็กหรือใหญ่
16.2349931, 99.4048103
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 3,071
การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง
เมื่อข้าวออกรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้แล้วจะเป็นสีเหลืองอร่ามไปทั่วทุ่งนา ชาวนาจะต้องระมัดระวังสัตว์ร้ายหลายประเภทที่เป็นศัตรูข้าว เช่น นกกระจาบที่ชอบพากันมากินข้าวเป็นฝูง ๆ หรือปูที่ทำอันตรายต้นข้าวมากกว่านกกระจาบ นอกนั้นมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น หนูพุก และเต่านา ดังนั้นในตอนนี้ชาวนาต้องทำหุ่นไล่กา หรือทำที่พักสำหรับไล่นก หรือทำเป็นกังหันให้ลมพัดหมุนมีเสียงดังหรือทำอย่างอื่นเพื่อคอยดูแลต้นข้าว นอกจากนี้มีพิธีไล่หนู นก เพลี้ย แมลง ปู หนอน และศัตรูข้าวอื่น ๆ พิธีทำขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกนก หนูและสัตว์อื่น ๆ มาทำลายต้นข้าว
16.2354607, 99.5449164
เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 2,341
Google search
-
ฐานข้อมูล - 146 ประวัติความเป็นมา
- 170 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 179 ประเพณีและวัฒนธรรม
- อำเภอเมืองกำแพงเพชร
- อำเภอคลองขลุง
- อำเภอคลองลาน
- อำเภอขาณุวรลักษบุรี
- อำเภอพรานกระต่าย
- อำเภอปางศิลาทอง
- อำเภอบึงสามัคคี
- อำเภอลานกระบือ
- อำเภอเมืองตาก_ตาก
- อำเภออุ้มผาง_ตาก
- อำเภอพบพระ_ตาก
- อำเภอวังเจ้า_ตาก
- อำเภอบ้านตาก_ตาก
- อำเภอแม่สอด_ตาก
- อำเภอแม่ระมาด_ตาก
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 108 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 101 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 39 ของฝาก
“เขื่อนภูมิพล” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปีพ.ศ. 2500 เดิมชื่อ เขื่อนยันฮี ส่ว
บูสท์ อัป คาเฟ่ x โค เวิร์คกิ้ง สเปซ
เริ่มต้นกันที่ Boost Up Café x Co-Working Space คาเฟ่สุดชิคที่ตกแต่งตัวร้านด้วยสไตล์ยุโรปแบบวินเทจ ภายในตัวร้า
น้ำตกนางครวญเป็นน้ำตกขนาดกลางที่งดงามด้วยลักษณะของน้ำตกซึ่งไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเล็กๆ ท่ามกลางป่าเขาอันร่มรื่น โดยมีต้นนำมาจากลำคลองริมท้องนาข้างท
กล่าวกันว่าในสมัยกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรือง ราวประมาณ พ.ศ. 1420 มีเมืองหนึ่งชื่อ “พระมหาพุทธสาคร” วันหนึ่งพระมหาพุทธสาครเสด็จ