วัดหนองลังกา
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้ชม 3,310
[16.468258, 99.511141, วัดหนองลังกา]
เป็นวัดขนาดใหญ่ตั้งอยู่นอกอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ทางด้านทิศใต้หรือเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม นับเป็นวัดที่มีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากที่สุดของเขตอรัญญิก สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำโดยรอบทั้ง 4 ด้าน เป็นอุทกสีมา ตามแบบแผนสุโขทัย โดดเด่นด้วยเจดีย์ทรงระฆังรูปทรงเพรียวงาม เจดีย์ประธานเป็นลักษณะ เจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังแบบศิลปสุโขทัยก่อด้วยอิฐอยู่ภายในกําแพงแก้ว มีซุ้มพระยื่นออกมาจากฐานตอนล่าง ทั้ง 4 ด้าน ชั้นมาลัยเถาซึ่งรองรับองค์ระฆังเป็นแบบบัวคว่ำ - บัวหงาย ซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น องค์ระฆังค่อนข้าง เพรียวหรือชะลูด ปากระฆังไม่ผายออกมากนัก ถัดจากองค์ระฆังเป็นส่วนที่เรียกว่าบัลลังก์และส่วนยอดเจดีย์ซึ่ง ประกอบด้วยแกนปล้องไฉน บัวฝาระมี ปล้องไฉนและปลียอด โดยมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ปรากฏทั้งสี่ด้าน ส่วนผังของวัดนั้นหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ ประกอบด้วย
พระวิหาร ตั้งอยู่ส่วนหน้าของโบราณสถาน ก่อด้วยอิฐ ส่วนของผนังก่อเป็นซุ้มเข้าไปแบบช่องเว้นช่อง
เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ ศิลปะสุโขทัย ก่อด้วยอิฐทั้งองค์ ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร เป็นเจดีย์ที่มีรูปลักษณ์โดเด่นเป็นพิเศษ คือ มีการทำซุ้มประดิษฐานองค์พระที่ฐานเจดีย์โดยรอบทั้งสี่ทิศ ฐานเจดีย์เป็นฐานสี่เหลี่ยม หน้ากระดานทำซุ้มลึกเข้าไปในผนังอย่างสวยงาม ถัดขึ้นไปเป็นชั้นมาลัยเถา มีบัวคว่ำและบัวหงายซ้อนกันสามชั้น รับปากระฆังซึ่งมีขนาดที่ไม่ผายมาก องค์ระฆังค่อนข้างเพรียว ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัลลังก์ ส่วนของท้องไม้ประดับด้วยบัวลูกแก้วอกไก่ ด้านบนเป็นแกนปล้องไฉน ซึ่งประดับลูกแก้วอกไก่สองแถว ต่อด้วยบัวฝาละมี ปล้องไฉน และปลียอด
ภาพโดย : http://nakhonchum.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=190
คำสำคัญ : วัดหนองลังกา
ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2011/03/16/entry-2
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดหนองลังกา. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=280&code_db=610009&code_type=01
Google search
วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,758
บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 4,210
เป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาหายไปทั้งหมดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,114
เป็นวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาจากทางวัดสิงห์แล้วให้ตรงไปตามทางจนเจอแยกให้ดูป้ายจะมีป้ายบอกว่าวัดกำแพงงามมาทางซ้ายตรงมาประมาณ 100-200 เมตร ก็จะถึงวัดกำแพงงาม วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 3,047
วัดป่ามืดในแห่งนี้ ที่น่าชมยิ่ง ไม่เหมือนวัดใดทุกแห่งในกำแพงเพชร คือมณฑปที่ขนาดใหญ่และงดงามที่สุด ในอดีตเมื่อมองภาพย้อนกลับไป วัดป่ามืดในจะงดงามน่าชม เหลือที่จะพรรณนา เมื่อมีโอกาสชมมณฑปของวัดป่ามืดใน จะประทับใจไปอีกนานแสนนาน
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,641
วัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,767
กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,310
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,300
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,151
เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า “บ่อสามแสน” และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม
เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,373