ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้ชม 1,006

[16.4264988, 99.2157188, ระบำชากังราว]

บทนำ
         ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดง ในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่นงานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร การแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมระดับจังหวัด ระดับชาติ และระดับนานาชาติในการจัดการแสดงเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ชมการแสดงและมีการประเมินความพึ่งพอใจ รวมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ เพื่อมาประเมินผลความถูกต้อง ความเหมาะสม ความสมบูรณ์ของรูปแบบการแสดงระบำ รวมถึงความถูกต้อง ด้านเนื้อหา ท่ารำ เพลง การแต่งกาย การแปรแถวและองค์ประกอบๆ ในการสร้างชุดการแสดงระบำชากังราว ได้ถ่ายทอดความรู้และวิธีการแสดงให้กับคณะครูในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรและได้นำชุดการแสดงระบำชากังราวเป็นส่วนหนึ่งของหลังสูตรท้องถิ่น เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยมอบหมายให้คณะครูนำการแสดงระบำชากังราวไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียนนอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดระบำชากังราวให้กับเยาวชนในจังหวัดกำแพงเพชรอย่างต่อเนื่อง ระบำชากังราวได้จัดทำบันทึกวีดีทัศน์ท่ารำ และวิธีการสอนถ่ายทอดท่ารำ จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือในการฝึกปฏิบัติและเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไป

จุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน
         1. เพื่อให้เกิดการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจังหวัดกำแพงเพชร
         2. เพื่อใช้การแสดงระบำชากังราวการแสดงในโอกาสต่างๆ

การดำเนินการสร้างสรรค์ผลงาน
         1. การศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของการแสดง
         2. การศึกษารูปแบบการแสดง “ระบำชากังราว”
             2.1 การออกแบบเครื่องแต่งกาย
             2.2 ออกแบบท่ารำ
             2.3 เพลงประกอบและวงดนตรี
             2.4 ออกแบบรูปแบบแถว
         3. การดำเนินการวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย
         4. การดำเนินการเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” และจัดทำสื่อเผยแพร่ เช่น วีดีทัศน์ และรูปเล่มเอกสาร

สรุปผลการสร้างสรรค์ผลงาน
         1. ผลของการศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของการแสดง
         สืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2529-2531 สถาบันได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ไปเผยแพร่วัฒนธรรม ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีข้อกำหนดให้แต่ละจังหวัดนำชุดการแสดงที่เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด  การแสดงที่สื่อความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรในขณะนั้นมีการแสดงพื้นบ้าน เช่น รำโทน ระบำ ก. ไก่ รำคล้องช้าง ได้นำไปแสดง ปรากฏว่าได้รับความพึงพอใจของผู้ชมระดับหนึ่ง
         ดังนั้น ภาควิชานาฏศิลป์จึงได้ริเริ่มคิดประดิษฐ์ระบำชุดใหม่ขึ้น เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2535 โดยศึกษาข้อมูลการคิดประดิษฐ์ท่ารำ การตั้งชื่อชุดการแสดงการสร้างเครื่องแต่งกาย เพลงประกอบการแสดง จึงได้มาซึ่ง “ระบำชากังราว”
         การพัฒนาชุดการแสดง “ระบำชากังราว” โดยระบำชากังราวได้พัฒนามาเป็นระยะ เช่น ด้านท่ารำได้ปรับเปลี่ยนท่ารำบางท่าให้ง่ายขึ้นเหมาะสมกับประสบการณ์ของผู้รำ เพราะบางครั้งนักแสดงไม่ใช่นักศึกษาโปรแกรมนาฏศิลป์และการละครโดยตรง ด้านเครื่องแต่งกาย ปรับ- เปลี่ยนสีให้งดงามยิ่งขึ้นส่วนเครื่องประดับได้ศึกษาเพิ่มเติมและพัฒนาให้นักแสดงสวมเครื่องประดับให้งดงามยิ่งขึ้น
         ชื่อชุดการแสดง ตั้งชื่อชุดการแสดงตามประวัติศาสตร์ของกำแพงเพชร เดิมชื่อว่าเมืองชากังราว และเปลี่ยนเรียกชื่อเป็นกำแพงเพชร ภายหลังเพราะฉะนั้นการตั้งชื่อชุดการแสดง จึงมีความจำเป็นในการที่จะบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชุดการแสดงได้อย่างชัดเจน
         2. การศึกษารูปแบบการแสดง “ระบำชากังราว”
             2.1 การออกแบบเครื่องแต่งกาย แรงบันดาลใจในการประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย ได้มาจากรูปเทวสตรีในพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร และเครื่องแต่งกายระบำ   ชากังราว ออกแบบเครื่องแต่งกายโดยอาจารย์รุ่งธรรม  ธรรมปิยานันท์ อาจารย์ผู้สอนประจำวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
             2.2 การออกแบบท่ารำ ได้นำภาษาท่าทางของนาฏศิลป์ไทยมาใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำและได้แนวคิดการนำท่าทางจากพุทธลีลาที่เป็นลักษณะเด่น เช่น ท่าปางลีลา ปางประทานพร ปางเปิดโลก นำมาคิดประดิษฐ์เป็นนาฏลีลาท่ารำที่สวยงาม
             2.3 เพลงประกอบและวงดนตรี การบรรจุเพลงโดย ดร.ศิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในขณะนั้น ตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการ คือ อธิบดีกรมศิลปากร

เพลงระบำชากังราว
ท่อน 1

----

---ซฺ

---ลฺ

-ทฺ-ด

-รดท

-ด--

รดลด

-ร-ม-

----

----

-ร-ม

-ฟ-ซ

-ลซฟ

-ซ--

ลซลรํ

-ดํ-ล

--ดํดํ

รํดํลดํ

--ลล

ดํลซล

--ซซ

ลซมซ

--มม

ซมรม

---ซ

---ดํ

-ท-ล

-ซ-ม

--ซฺลฺ

ดรมซ

มรดร

มซ-ด

ท่อน 2

ซซซซ

(ซซซซ)

ดดดด

(ดดดด)

ดํดํดํดํ

(ดํดํดํดํ)

ทลซล

ทดํรํมํ

---ดํ

---ล

---ซ

---ม

---ร

---ม

ลซมซ

ลซดํล

--ดํดํ

รํดํลดํ

--ลล

ดํลซล

--ซซ

ลซมซ

--มม

ซมรม

---ซ

---ดํ

-ท-ล

-ซ-ม

--ซฺลฺ

ดรมซ

มรดร

มซ-ด

ชั้นเดียว/ท่อน 1

-ดดด

-ซฺ-ด

รดซฺด

-ร-ม

--รม

ฟซฟซ

ลซลรํ

-ดํ-ล

--ดํดํ

รํดํลดํ

--ลล

ดํลซล

--ซซ

ลซมซ

--มม

ซมรม

ท่อน 2

-ดดด

-ซ-ดํ

รํดํซด

-รํ-มํ

--ดํล

ซมซม

--รม

ซลซล

--มํรํ

ดํลํดํลํ

--ดํล

ซมซม

--ซฺลฺ

ดรมซ

มรดร

มซ-ด

วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุด “ระบำชากังราว” ใช้วงปี่พาทย์

             2.4 การแปรแถว การแปรรูปแบบแถวในการแสดงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการแสดงระบำทุกชุดการแสดง ระบำชากังราวมีรูปแบบการแปรแถว โดยรวม 24 รูปแบบ อาทิ แถววีคว่ำ แถวตอน แถวตั้งซุ้ม แถวครึ่งวงกลม แถววงกลม แถวเฉียง ฯลฯ
         3. การดำเนินการวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย
         การดำเนินการวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญ ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นการจัดรูปแบบการแสดงให้เกิดมาตรฐานนาฏศิลป์และเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์มาวิพากษ์ ประกอบด้วย
             1. รศ.ฉันทนา เอี่ยมสกุล   จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
             2. รศ.นิสา เมสานนท์       จากมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
             3. รศ.อมรา กล่ำเจริญ      ข้าราชการบำนาญ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
         การดำเนินการเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” และจัดทำสื่อเผยแพร่ เช่น วีดีทัศน์ และรูปเล่มเอกสาร

การเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว”
ระดับประเทศ
         - เผยแพร่โดยเป็นตัวแทนกาชาดจังหวัดภาคเหนือ รำหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ณ จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2537
         - เผยแพร่การแสดงในจังหวัดกำแพงเพชรในโอกาสงานเทศกาลต่างๆ
         - เผยแพร่การแสดงในต่างจังหวัดตามโอกาสงานต่างๆ
         - การแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวของจังหวัดและในโอกาสงานประเพณีต่างๆ
         - เผยแพร่ในการแสดงงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา
         - เผยแพร่การแสดงในสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่นและระดับประเทศ

ระดับต่างประเทศ
         - ปี พ.ศ. 2557         เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศอินโดนีเซีย
         - ปี พ.ศ. 2556         เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศเวียดนาม
         - ปี พ.ศ. 2554        เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศไต้หวัน และสาธารณรัฐประชาชนจีน
         - ปี พ.ศ. 2553        เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสวีเดน ประเทศตุรกี และประเทศสหรัฐอเมริกา
         - ปี พ.ศ. 2550        เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศตุรกี
         - ปี พ.ศ. 2548-2549 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
         - ปี พ.ศ. 2547        เผยแพร่วัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์
         - ปี พ.ศ. 2546        เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสวีเดน และประเทศเดนมาร์ก
         - ปี พ.ศ. 2545         เผยแพร่งานวัฒนธรรม ททท. ณ ประเทศกรีซ

ผลของการสร้างสรรค์
         เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยยึดหลักรูปแบบโครงสร้างของระบำ คือ มีจำนวนคนรำมากกว่า 2 คนขึ้นไป มีการแปรแถวที่สวยงาม มีท่ารำ เพลง ดนตรี เครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร

ข้อเสนอแนะ
         ในการนำการแสดงชุดนี้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ สามารถปรับ เพิ่มจำนวนคนได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ในการแสดง และควรแต่งกายให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ และควรมีการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้น เป็นการเพิ่มและพัฒนารูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ให้มีความหลากหลายและยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของนาฏศิลปินอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ : ระบำชากังราว นาฏศิลป์ กำแพงเพชร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ระบำชากังราว

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ระบำชากังราว. สืบค้น 11 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2125&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2125&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

รำโทน

รำโทน

รำโทนมีมาก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการพบปะกันระหว่างหนุ่มสาวในงานเทศกาลต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ผู้สืบค้น แม่ลำภุ ทองธรรมชาติ และแสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น  ดนตรีและนักร้องเริ่มบรรเลง หนุ่มสาวจะออกรำเป็นคู่ๆ รำไปรอบลงจะมีลีลาและท่าทางประกอบในแต่ละเพลง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,732

ตักบาตรข้าวต้ม

ตักบาตรข้าวต้ม

ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,070

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,530

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)มีขึ้นภายหลังจากที่มีการอยู่กรรมจากการเผาไฟในไร่ช่วงกลางเดือนเมษายน ตรงกับเดือนอาข่า "ขึ่มสึ บาลา"อาข่าจะประกอบพิธี "ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว" เป็นประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีปีใหม่ชนไข่ เนื่องจากประเพณีนี้มีการนำไข่มาใช้ประกอบพิธี เด็กๆ จะมีการเล่นชนไข่ โดยการย้อมเปลือกไข่ให้เป็นสีแดง และใส่ตะกร้าห้อยไปมา เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,108

ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้

ระบำร้องแก้ มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม วิธีการเล่น หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,173

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,487

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,153

ระบำคล้องช้าง

ระบำคล้องช้าง

เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,998

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 17,810

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,017