ประเพณีการแห่ดอกไม้

ประเพณีการแห่ดอกไม้

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้ชม 2,734

[16.2349931, 99.4048103, ประเพณีการแห่ดอกไม้]

         เช้าวันที่ 14 เมษายน วันแรกของการแห่ต้นดอกไม้ แต่เดิมชาวบ้านแม่ลาดใหญ่ ผู้ชายจะไปตัดไม้ไผ่ในหมู่บ้านมาเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า เช้านั้นสนุกสนานมากได้นั่งรถอีแต๊กแบบที่เรียกว่ารถไถไทย ประดิษฐ์ แต่นำมาดัดแปลงใส่ที่นั่งทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อตัดไม้ไผ่ โดยจะเลือกตัดหลายขนาด ตามแต่ว่าจะนำไปใช้ทำโครงสร้างส่วนใดของต้นดอกไม้ มีทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่เมื่อได้ไม้ไผ่ที่ต้องการ แล้วก็จะนำมาช่วยกันประกอบโครง โดยโครงสร้างจะต้องทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่มีลวด ตะปู โดยไม่ว่าจะเป็นต้นดอกไม้ขนาดเล็กหรือใหญ่ 
         ระหว่างที่ฝ่ายชายกำลังทำต้นอยู่ อีกฝ่ายหญิงก็จะไปหาดอกไม้สดที่มีอยู่ทั่วไปในหมู่บ้านมา เตรียมเอาไว้ประดับโครงต้นดอกไม้ โดยดอกไม้ที่เราเห็นส่วนใหญ่ก็จะเป็นดอกไม้ที่ออกในฤดูร้อนคือ ดอกคูณหรือดอกราชพฤกษ์ที่มีดอกเป็นพวงสีเหลืองๆ ดอกหางนกยงู สีส้มๆ และดอกตะแบก สีม่วงอมชมพู บางต้นก็มีดอกเฟืองฟ้าด้วย เมื่อทำโครงเสร็จสิ้นชาวบ้านก็จะมาช่วยกันมัดดอกไม้เข้ากับโครงด้วยไม้ไผ่ที่ทำเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ ให้พอมัดได้ ต้นดอกไม้ทั้งเล็กและใหญ่นี้ จะต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียวเท่านั้น และทันแห่ตอนหนึ่งทุ่มอีกด้วย นอกจากความร่วมมือร่วมใจกันทำแล้ว ยังเห็นถึงความสนุกสนานและความสามัคคีกันระหว่างที่ช่วยกันทำต้นดอกไม้ เค้าก็จะเปิดเพลงไปด้วย บ้างก็เต้นไปทำไป บ้างก็เอาน้ำมาสาดกันเพิ่มความสดชื่นให้ทั้งดอกไม้และคนทำ เมื่อประกอบโครงและตกแต่งต้นดอกไม้จนเสร็จแล้วไม่เกินหกโมงเย็น ชาวบ้านหมู่ไหนที่ทำเสร็จแล้วก็จะช่วยกันแห่ต้นดอกไม้มายังที่วัดแล้วนำมาตั้งไว้ข้าง ๆ โบสถ์ในบริเวณวัดแม่ลาดใหญ่ สถานที่จัดงานประเพณีแห่ต้นดอกไม้ งานนี้เต็มไปด้วยชาวบ้านที่มาร่วมงาน มาร่วมงานและรอถ่ายรูปกันอย่างคึกคัก ก่อนจะถึงเวลาแห่ ก็จำนำเทียนเล็ก ๆ มาจุดเรียงเป็นแถวที่คานสำหรับหามต้นดอกไม้ ทางวัดจะตีกลองเพล เพื่อเป็นสัญญาณให้ชุมชนรู้ว่าใกล้ถึงเวลาแล้ว ชาวบ้านจะปีนขึ้นไปในต้นดอกไม้เพื่อจุดเทียนที่อยู่ด้านใน โดยทำเป็นรางไม้ไผ่เสียบ เทียนแท่งใหญ่ประมาณข้อมือที่เรียงเป็นแถวด้านในต้นดอกไม้ ชาวบ้านจะแบ่งหน้าที่กันทำ เป็น 3 ฝ่าย คือหามต้นดอกไม้, ตีกลอง ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ แคน พิณ และฝ่ายแห่ต้นดอกไม้นำหน้า การแห่ต้นดอกไม้เริ่มต้นด้วยการสวดมนต์ของพระและชาวบ้าน เมื่อเสียงสวดมนต์เงียบลง เสียงดนตรีอันสนุกสนาน คึกคักก็เริ่มขึ้น ทุกคนร้องรำกันอย่างสนุกสนาน ไม่เว้นแม้แต่ต้นดอกไม้ที่ต้องโยกไปด้วยตามจังหวะกลองด้วย
        การแห่ต้นดอกไม้นี้ชาวบ้านจะแห่กัน 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์  และเมื่อแห่ครบสามรอบก็จะวางต้นดอกไม้ทุกต้นไว้รอบอุโบสถเพื่อบูชาพระรัตนตรัยทั้งคืน พอตอนเช้าก็จะนำต้นดอกไม้ออกจากวัดไปซ่อมแซมต้นที่ชำรุดและเปลี่ยนดอกไม้สำหรับใช้ในคืนถัดไป งานประเพณีแห่ดอกไม้ โดยจะมีการจัดขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งจะเริ่มต้นแห่กันตั้งแต่วันที่ ๑๔ เมษายน ติดต่อกัน ในเวลา 16.00-18.00 น. และโดยมีความเชื่อว่าเป็นสิริมงคล ที่ได้นำดอกไม้มาบูชาพระรัตนตรัย ทำให้อยู่ดีมีสุข ฝนตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองร่มเย็น ปราศจากโรคภภัย วัว ควาย สัตว์เลี้ยงขยายคอกออกผลสมบูรณ์ จะมีพระภิกษุ ผู้ใหญ่ นั่งรถนำหน้า แต่ในสมัยโบราณมีการเดินแห่ดอกไม้กันอย่างสนุกสนานสมควร ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง

คำสำคัญ : การแห่ดอกไม้

ที่มา : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด. (2558). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประเพณีการแห่ดอกไม้. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1343&code_db=610004&code_type=03

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1343&code_db=610004&code_type=03

Google search

Mic

ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน

ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน

ลักษณะความเชื่อเป็นการทำบุญ ตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความสำคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านให้มีความรักสามัคคี ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 5,558

การก่อพระเจดีย์ข้าวเปลือก

การก่อพระเจดีย์ข้าวเปลือก

การก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญศาสนาของชาวบ้านด้วยการนำผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญมาร่วมกันบริจาคเพื่อให้ทางวัดได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนา การก่อพระทรายข้าวเปลือก ก็มีวิธีดำเนินการเช่นเดียวกัน คือ นัดวันเมื่อถึงวันกำหนดชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกใส่กระบุงไปวัด แล้วเอาไปเทกองรวมกันในที่วัดจัดไว้เป็นพระเจดีย์ควบคู่ไปกับการทำบุญข้าวเปลือกที่ได้ทางวัดจะนำไปขาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยมาใช้จ่ายในการทำนุบำรุงศาสนสถานของวัดต่อไป จะนิยมกันในวันสงกรานต์ เช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 4,710

ไทยทรงดำ

ไทยทรงดำ

ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า “ลาวโซ่ง” ที่หมู่ 6 บ้านห้วยน้อย ตำบลแม่ลาด ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนสิบสองจุไท ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ชาวไทยทรงดำเรียกตัวเองว่า “ผู้ไต” หรือผู้ไตดำ” ชนชาตินี้มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะวัฒนธรรมและจารีตประเพณี มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและปฏิทินขึ้นใช้เองในชนเผ่า วัฒนธรรมการแต่งกายมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว หญิงและชายจะสวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีดำเป็นสีพื้นและมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 5,585

ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่

ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่

ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 13-15 เดือนเมษายน (เดือน 5) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้าหรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวัน เวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม ความสำคัญประเพณี อาบน้ำผู้ใหญ่เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือแก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกลู รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 5,673

ประเพณีการแห่ดอกไม้

ประเพณีการแห่ดอกไม้

เช้าวันที่ 14 เมษายน วันแรกของการแห่ต้นดอกไม้ แต่เดิมชาวบ้านแม่ลาดใหญ่ ผู้ชายจะไปตัดไม้ไผ่ในหมู่บ้านมาเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า เช้านั้นสนุกสนานมากได้นั่งรถอีแต๊กแบบที่เรียกว่ารถไถไทย ประดิษฐ์ แต่นำมาดัดแปลงใส่ที่นั่งทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อตัดไม้ไผ่ โดยจะเลือกตัดหลายขนาด ตามแต่ว่าจะนำไปใช้ทำโครงสร้างส่วนใดของต้นดอกไม้ มีทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่เมื่อได้ไม้ไผ่ที่ต้องการ แล้วก็จะนำมาช่วยกันประกอบโครง โดยโครงสร้างจะต้องทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่มีลวด ตะปู โดยไม่ว่าจะเป็นต้นดอกไม้ขนาดเล็กหรือใหญ่ 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,734

การก่อเจดีย์ทราย

การก่อเจดีย์ทราย

มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาว บริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ 8 หมื่น 4 พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง 8 หมื่น 4 พันองค์ หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 8,423

ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

บ้านวังน้ำ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในส่วนปกครองย่อยของตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง โดยในอดีตมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่าบริบูรณ์เป็นอย่างดี ด้วยมีลำคลองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีถนนหนทางที่เดินทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก ลักษณะเช่นนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในตั้งชุมชนและประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรรม จากการที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการประกอบอาชีพทำให้มีผู้คนหลากหลายเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพตามความรู้ตามความถนัด ชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านแห่งนี้โดยมาจากหลายจังหวัดด้วยกัน พร้อมทั้งยังได้นำพาวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ครั้งบรรพกาล ที่บรรพบุรุษได้มีการกระทำสืบต่อเนื่องกันมา สานต่อลงในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างเคร่งครัด ตามความเชื่อดั้งเดิมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 970

ประเพณีแห่นาค ประเพณีโบราณจากพุทธกาลสู่ปัจจุบันกาล

ประเพณีแห่นาค ประเพณีโบราณจากพุทธกาลสู่ปัจจุบันกาล

ในปัจจุบัน ประเพณีการบวชนาคกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธ สำหรักผู้ที่ต้องการจะบวชพระ จะต้องทำการบวชนาคก่อน เพื่อรำลึกถึงนาคผู้มีความตั้งใจบวช ในแต่ละท้องที่ในประเทศไทย ประเพณีบวชนาคและแห่นาคจะแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น บวชนาคแบบธรรมดาเพื่อเตรียมบวช บวชนาคที่จัดพิธีแห่นาคอย่างประเพณีม้าแห่นาค เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการบวชนาคแบบใด ก็สะท้อนถึงประเพณีความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนในชาติ หากแต่ท้ายที่สุดการบวชนาคเป็นไปเพื่อสำหรับการบวชพระ ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางสายกลางตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้แต่กาลก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 7,093

ประเพณีการยกธง

ประเพณีการยกธง

ประเพณี “ยกธงเลิกวันสงกรานต์” ประวัติิความเป็นมาในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านแม่ลาดใหญ่ ตำบลแม่ลาด มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง พักอาศัยอยู่จึงได้นำเอาวัฒนธรรมท้องถิ่น การยกธงเลิกสงกรานต์มาสืบทอด โดยถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี ซึ่งคำว่าสงกรานต์ แปลว่า ล่วง หรือเลยไป เคลื่อนไป การต้อนรับปีใหม่ถือว่าสำคัญเพราะปีหนึ่งมีครั้งเดียว การได้รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุพร้อมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งที่คนไทยทุกคน ทุกชนชั้นได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 3,839

การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง

การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง

เมื่อข้าวออกรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้แล้วจะเป็นสีเหลืองอร่ามไปทั่วทุ่งนา ชาวนาจะต้องระมัดระวังสัตว์ร้ายหลายประเภทที่เป็นศัตรูข้าว เช่น นกกระจาบที่ชอบพากันมากินข้าวเป็นฝูง ๆ หรือปูที่ทำอันตรายต้นข้าวมากกว่านกกระจาบ นอกนั้นมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น หนูพุก และเต่านา ดังนั้นในตอนนี้ชาวนาต้องทำหุ่นไล่กา หรือทำที่พักสำหรับไล่นก หรือทำเป็นกังหันให้ลมพัดหมุนมีเสียงดังหรือทำอย่างอื่นเพื่อคอยดูแลต้นข้าว นอกจากนี้มีพิธีไล่หนู นก เพลี้ย แมลง ปู หนอน และศัตรูข้าวอื่น ๆ พิธีทำขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกนก หนูและสัตว์อื่น ๆ มาทำลายต้นข้าว 

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 2,131