ลายผ้าปักชาวลีซอ หรือ ลีซู (Lisu)
เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายของชนเผ่าลีซู ใช้เทคนิคหลักคือ เป็นการเย็บแถบผ้าเล็ก ๆ สลับสีที่หลากหลาย และการสร้างลวดลายที่ต้องการด้วยการเย็บติดผ้า ตัดปะลงบนผ้าแถบพื้นสีต่าง ๆ เป็นรูปร่างเชิงเรขาคณิต เน้นการตัดกันของรูปทรงที่เป็นเส้นตรง มีการเข้ามุมของลวดลายอย่างชัดเจน ทั้งมุมฉาก มุมแหลม นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดจากการใช้สีสันที่ตัดกันอย่างฉูดฉาด จนเกิดเป็นเอกลักษณ์และกลายเป็นเสน่ห์ของชนเผ่าลีซูที่สะดุดสายตา
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 6
ลายผ้าปักชาวปกาเกอะญอ หรือกะเหรี่ยง (Karen)
เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของผ้าทอกระเหรี่ยง มีลักษณะเป็นผ้าทอหน้าแคบ ลักษณะลายเป็นสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปแบบต่าง ๆ ลายดอกไม้ ลายเส้นตรง ลายกากบาท ผสานกันเทคนิคและภูมิปัญญาที่สั่งสมและถูกถ่ายทอดสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษ สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งเทคนิคการมัดหมี่ จก ขิด และยกดอก ผ้าทอของชนเผ่ากระเหรี่ยงจึงมีความงดงาม โดดเด่นด้วยสีสันที่หลากหลาย หากเราเห็นผืนผ้าที่มีเอกลักษณ์เช่นนี้เราก็สามารถรับรู้ได้ทันทีว่า นี่คือผ้าทอของชนเผ่ากระเหรี่ยง
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 3
ลายผ้าปักชาวลั๊วะ หรือ ละว้า (Lua)
ลายผ้าปักชาวลั๊วะ มีเอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของเผ่าลั้วะ มีลักษณะเด่น คือ ทอแน่น และหนา เหมาะสำหรับการนุ่งในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากของมีคมได้ นอกจากนี้ยังมีการการทอด้วยลวดลายตกแต่งสวยงาม มีการปักเข้ามาผสมผสานเมื่อมีการตัดเป็นเสื้อ ผ้าทอผู้ชาย มักจะใช้สีแดงเป็นหลัก ส่วนผู้หญิงมักจะใช้สีดำ แดง เหลืองเป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีการใช้สีเคมีมากขึ้น ทำให้มีการใช้สีอื่น ๆ เข้ามาแทรกร่วมด้วย จึงมีสีสันที่สดใสร่วมสมัยมากขึ้น
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 3
ลายผ้าปักชาวม้ง หรือ แม้ว (Hmong)
ผ้าปักชาติพันธุ์ม้งหรือแม้ว (HMONG) เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของเผ่าม้ง ลวดลายบนผืนผ้าม้ง และเทคนิคการสร้างสรรค์ลวดลายประกอบด้วย 3 เทคนิคหลัก ๆ ได้แก่ส การปัก การเย็บติด และการเขียนเทียน โดยทั้ง 3 เทคนิคนั้นแม้จะมีอุปกรณ์ ขั้นตอน หรือวิธีทำที่แตกต่างกัน แต่หลักสำคัญที่ปรากฏให้เห็นจนเป็นเอกลักษณ์เดียวกันในม้งทุกกลุ่ม คือ ความละเอียดของชิ้นงาน การปัก การเย็บ หรือการเขียนลวดลายต่อเนื่องจนเต็มแน่นตลอดผืนผ้า ประกอบด้วยลายหลัก ลายประกอบเล็กน้อย ต่างสีสันลดหลั่นกันไปจนเต็มตลอดผืนผ้า รวมทั้งงานปักม้งไม่นิยมการเว้นที่ว่างโล่งบนผืนผ้าอย่างไร้ความหมาย กลายเป็นเอกลักษณ์ศิลปะลวดลายที่มีเส้นลวดลายงดงามที่สะดุดตา
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 4
ลายผ้าปักชาวลาหู่ หรือ มูเซอ (Lahu)
ลายผ้าปักลาหู่ จะมีเอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของเผ่าลาหู่ (มูเซอ) มักนิยมตกแต่งลวดลายบนเครื่องแต่งกาย ด้วยการปักเส้นด้ายสีสันต่าง ๆ เป็นลวดลายที่เป็นเอกลายค่อนข้างหลากหลาย และมีการปักผสมผสานลวดลายจากชนเผ่าอื่นเข้ามาด้วย ทำให้สะดุดตา สีที่นิยมมากเป็นพิเศษคือ สีแดง และสีเขียว
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 4
ลายผ้าปักชาวเมี่ยน หรือ เย้า (Yao)
เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของเผ่าเมี่ยน (เย้า) ศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายงานปักแต่ละลายที่ปรากฏบนผืนผ้าแทบทุกผืนยังคงเป็นลวดลายโบราณ เอกลักษณ์ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้สีในลวดลายปักก็ ยังคงยืดถือด้วยการใช้สีเส้นด้ายที่ไม่น้อยกว่า 7 สี โดยสี 7 สีหลักของชาวเมี่ยนตามตำนาน ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วง สีดำ และสีขาว ผ้าปักของชาวเมี่ยนบางผืนอาจพบลวดลายมากกว่า 10 ลวดลายรวมกันอยู่ในผืนเดียว ลวดลายเหล่านี้เป็นลวดลายโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษของชนเผ่าเมี่ยนนับหลายร้อยปีที่ต้องอยู่ในผืนผ้าเมี่ยน แทบทุกผืน
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 2
ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร
ชาวเมี่ยนมีศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าที่เลืองลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ การปักลวดลาย งานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชาวเมี่ยน แม้ปัจจุบันก็ยังคงพบได้บนผืนผ้าแทบทุกผืนเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์คงเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษสมัยโบราณกาล ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกจากประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าผสมกลมกลืนกับลวดลายที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์ป่าน้อยใหญ่ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ ด้วยความประณีตและเป็นเลิศในฝีมือ
16.2845982, 98.6713147
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,082
เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน
16.2851021, 98.9325563
เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,840
กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา
ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลานตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลานห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ อันได้แก่เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอและกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอคลองขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่ายเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วยศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร
16.1465417, 99.3256227
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,143
สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่ากับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด
16.2358785, 99.3145572
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,725
Google search
-
ฐานข้อมูล - 153 ประวัติความเป็นมา
- 171 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 190 ประเพณีและวัฒนธรรม
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 113 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- อำเภอเมืองกำแพงเพชร
- อำเภอโกสัมพีนคร
- อำเภอคลองขลุง
- อำเภอไทรงาม
- อำเภอคลองลาน
- อำเภอพรานกระต่าย
- อำเภอทรายทองวัฒนา
- อำเภอพบพระ_ตาก
- อำเภอวังเจ้า_ตาก
- อำเภอบ้านตาก_ตาก
- อำเภอแม่สอด_ตาก
- อำเภอแม่ระมาด_ตาก
- 107 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 45 ของฝาก
ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเว
White House Hotel โรงแรมสีขาว หรูหราดูสวยสะอาดตา ภายในโรงแรมตกแต่งราวกลับพระราชวัง ด้วยความที่สีส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นสีขาวทำให้บรรยากาศดูผ่อนคายเหมาะก
วันที่ 31 พฤษภาคม 2536กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศการปกครองและยกฐานะการปกครองของ ของ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพธ์ทอง ตำบลหินดาดและตำบลปางตาไวซึ่งอยู่ในการปกคร