เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 907

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร]

           มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี จึงมีพระนามชื่อนางแก้วกัลญานี มีอายุได้ 17-18 ปี มีพระทัยสภัคยินดีด้วยราคจิต คิดอยากเสวยมะเขือเป็นกำลังยิ่งนัก จึงให้ทาสาทาสีไปเที่ยวหาซื้อมะเขือ ทาสาทาสีนั้นจึงไปเที่ยวหาซื้อมะเขือที่ตลาดใต้เหนือหลายแห่งไม่ได้มะเขือ จึงสืบเสาะไปจนถึงไร่ของบุรุษนั้น จึงซื้อมะเขือลูกใหญ่งามของ บุรุษเป็นปมนั้นได้ จึงนำถวายแก่พระราชธิดา พระราชธิดาจึงเสวยมะเขือนั้น จะมีเหตุให้บังเกิดโอชารสซับซาบ ให้นางมีจิตปิติโสมมนัสยินดียิ่งนักเป็นกำลัง จนมีกายกำเริบต่าง ๆ ทั้งนี้นางนั้นจะได้พระราชบุตรผู้มีบุญมาเกิด แลจะได้พระภัสดาสามีผู้มีบุญาธิการมาก อนึ่งเหตุภาวะแห่งคนทั้งสามนั้นได้กระทำบุญมาด้วยกันแต่ก่อน ในกาลนั้นสัตว์ผู้หนึ่งมีบุญญาธิการได้กระทำมามาก มาอุบัติปฏิสนธิบังเกิดในครรภ์นิเครธรนแห่งพระราชธิดานั้น ด้วยเหตุว่านางได้เสวยมะเขืออันเป็นชื้ออุปสัยสัมภวะแห่งบุรุษสีวรกายเป็นปม อันกระทำปัสสาวะในที่ใกล้ริมต้นมะเขือนั้น ครรภ์อุทรแห่งนางแก้วกัลป์ยานีนั้นก็เห็นปรากฏขึ้นมา ฝ่ายพระญาติพระวงศาครั้นเห็นครรภ์แห่งนางเห็นวิปริต จึงไต่ถามตามประเพณีคดีโลก ได้ฟังเหตุอันนางด้วยวาจาสัจว่าข้านี้มิได้คบหาสังวาสด้วยบุรุษ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นอันขาด ก็เห็นความจริงด้วยสุจริต ด้วยอาณุภาพบุญแห่งสัตว์อันอยู่ในครรภ์นั้น พระญาติวงศ์ทั้งหลายมิได้โกรธ เชื่อถือช่วยกันอภิบาลรักษาครรภ์ด้วยเมตตาจิต นางนั้นก็รักษาครรภ์นั้นมา เมื่อถ้วนกำหนดทศมาศจึงคลอดซึ่งพระราชบุตร ทรงพระรูปโฉมงามยิ่งนักประดุจรูปทอง ประกอบด้วยลักษณะอันบริบูรณ์
           พระญาติวงศ์มีพระเมตตารักใคร่ ช่วยบำรุงบำเรออุปถัมภนาการ เลี้ยงรักษาด้วยสุจริตเป็นปกติมา สมเด็จพระอัยกานั้นมีพระทัยปรารถนา เพื่อจะเสี่ยงทายพระราชนัดดา ทดลองดูจะใคร่รู้ว่าบุรุษผู้ใดจะเป็นบิดาของพระราชกุมาร ครั้งทรงพระดำริแล้วจึงสั่งแก่ราชบุรุษทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย จงให้คนเอาฆ้องกลองไปเที่ยวตีป่าวบอกกล่าวแก่บุรุษทั้งหลายในกรุงนอกกรุงศรีฯ แขวง จังหวัดจงทั่วตั้งแต่พรุ่งนี้ไป 3 วัน  ให้บุรุษทั้งหลายเข้ามาในพระราชวังให้ถือมาซึ่งขนมและผลไม้ต่าง ๆ ตามที่มีแต่สิ่งละน้อยให้เร่งเข้ามา” ราชบุรุษทั้งหลายก็ให้ไปเที่ยวตีฆ้องร้องป่าวทั่วทุกทิศตามรับสั่ง ฝ่ายบุรุษทั้งหลายรู้ว่ารับสั่งให้เข้าไปในพระราชวัง ดังนั้นได้ขนมบ้าง ได้ผลไม้ต่าง ๆ กัน เผือก มัน กล้วย อ้อย ตามที่มีก็ถือเข้าไปในพระราชวัง สมเด็จพระอัยกาให้ตกแต่งประดับพระราชนัดดา ด้วยเครื่องกุมารอาภรณ์อลังกาอันวิจิตร วิภูษิตสังวาล งามเลิศแล้ว จึงให้พระหลานแก้วนิสีทนาการเหนือราชอาสน์ อันตกแต่งเป็นอันดีในพระราชฐาน แล้วให้เรียกหาบุรุษเข้ามาทีละคนให้ถือขนมของกินกล้วยอ้อยผลไม้เข้าไปสู่สำนักแห่งพระราชกุมาร สมเด็จพระอัยกาจึงอธิษฐานว่า “บุรุษผู้ใดเป็นบิดาของราชกุมารแท้จริงไซร้ ก็ให้พระราชกุมารนี้จงถือข้าวของวัตถุของบุรุษนั้น ถ้ามิใช่บิดา อย่าให้พระราชกุมารถือข้าวของวัตถุของบุรุษผู้นั้นเลย” ครั้นตั้งอธิฐานแล้วก็ให้พระราชกุมารเข้าไปถือเอาของวัตถุบุรุษนั้น แลชายแสนปมนั้นได้แต่ก้อนข้าวเย็นถือมาก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็เข้ากอดคอแล้วรับเอาก้อนข้าวเย็นมาเสวย ชนทั้งปวงเห็นพิศวงชวนกันติเตียนต่าง ๆ พระเจ้าไตรตรึงษ์ พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยได้ความอัปยศ จึงพระราชทานพระราชธิดาและพระราชนัดดาให้แก่นายแสนปม ให้ใส่แพลอยไปถึงที่ไร่มะเขือ อันเป็นที่อยู่ไกลจากพระนครวันหนึ่งชายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นสู่ไร่ ด้วยเดชะบุญชนทั้ง 3 บันดาลให้สมเด็จจอมอมรินทราธิราช นิมิตกายเป็นวานร เอากลองทิพย์มาส่งให้ชายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า “ท่านปรารถนาสิ่งใดจงตีกลองนี้ อาจให้สำเร็จความปรารถนาได้สิ้น” ชายแสนปมจึงปรารถนาให้รูปงามจงตีกลองนั้น ปมเปาทั้งปวงก็อันตรธานสูญหาย รูปกายนั้นก็บริสุทธิ์ แล้วก็น้ากลองนั้นมาสู่ที่อยู่แล้วก็ บอกแก่ภรรยา นางก็มีความยินดี จึงตีกลองทิพย์นิมิตทองให้ช่างตีอู่ทองให้พระโอรสบรรทม เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงมีนามว่า “เจ้าอู่ทอง” จำเดิมแต่นั้นมา
           จุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาเจ้าอู่ทองจึงตีกลองทิพย์นิมิต เป็นพระนครขึ้นในที่นั้นให้นามชื่อว่า เทพมหานคร เหตุสำเร็จด้วยอานุภาพเทพยดา แลชนทั้งหลายชวนกันมาอาศัย ณ เมืองนั้นเป็นอันมาก พระองค์ได้เสวยราชสมบัติทรงพระนามพระเจ้าสิริไทยเชียงแสน (ศรีวิชัยเสียงแสน) ปรากฏในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จเจ้าสิริไชยเชียงแสนทิวงคต อยู่ในราชสมบัติ 26 ปีแล้ว กลองทิพย์นั้นก็อันตรธานหาย สมเด็จพระเจ้าอยู่ทองราชโอรสได้เสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดาได้ 6 พระพรรษา ทรงพระปรารภจะสร้างพระนครใหม่ จึงให้ราชบุรุษเที่ยวแสวงหาภูมิประเทศที่มีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ ราชบุรุษก็เที่ยวหามาโดยทักษิณ ถึงประเทศที่หนองโสน กอรปด้วยพรรณปลาพร้อมทุกสิ่ง จึงกลับไปกราบทูลพระเจ้าอู่ทองจึงยกจตุรงค์โยธาประชาราฎร์ทั้งปวงมาสู่ประเทศที่นั้น
          จุลศักราช 712 ปีขาลโทศก ทรงสร้างพระนครเสร็จให้นามชื่อ กรุงเทพมหานคร ตามนามพระนครเดิม ๑ ให้นามชื่อ ทวารวดี เหตุมีคงคาล้อมรอบดุจนามเมือง ทวารวดี ๑ ให้ชื่อ สีอยุทธยา เหตุเป็นที่อยู่แห่งชนชราทั้งสอง ศรีแลตาอุทธยา เป็นสามีภรรยากัน อาศัยอยู่ในที่นั้นนาม ๑ แลนามทั้งสามประกอบกันจึง เรียกว่า กรุงเทพมหานครทวารวดีศรีอยุทธยา สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ราชาภิเษกเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ 37 พระพรรษา ถวายพระนามสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี แลเมื่อได้ราชาภิเษกนั้น ได้สังข์ทักษิณาวรรตภายใต้ต้นหมันในพระนครสังข์ ๑ แล้วทรงสร้างพระที่นั่งไพรทูริยมหาปราสาททอง สองที่นั่งไพรชนมหาปราสาทองค์หนึ่ง พระที่นั่งไอยสวรรมหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วให้พระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ผู้เป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ ตรัสเรียกว่าพระเชษฐธิราชนั้นไปครองเมืองสุพรรณบุรี ให้พระราชบุตรทรงพระนามพระราเศวร ไปครองเมืองลพบุรี ครั้งนั้นเมืองประเทศราชขึ้น 16 เมือง คือเมืองมะลากา ๑ เมืองชะวา๑ เมืองตะนาวสี ๑ เมืองทวาย๑ เมืองเมาะตะมะ ๑ เมืองเมาะ ลำเลิง ๑ เมืองนครศรีธรรมราช ๑ เมืองสงขลา ๑ เมืองจันทบูรณ์ ๑ เมืองพระพิศนุโลกย์ ๑ เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองสุโขทัย ๑ เมืองพิไชย ๑ เมืองพิจิตร ๑ เมืองกำแพงเพชร ๑ เมืองนครสวรรค์ ๑ และพระองค์สร้างวัดพุทธไทสวรรค์แลวัดป่าแก้ว จุลศักราช 731 ปีระกาเอกศก สมเด็จพระรามาธิบดีสวรรคตอยู่ในราชสมบัติ 20 ปี

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร. สืบค้น 19 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1321&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1321&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”

 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,310

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,466

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 907

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,987

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 4,501

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,495

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,695

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 4,282

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,160

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,388