พรานกระต่าย

พรานกระต่าย

กล่าวกันว่าในปี พ.ศ. 1800 เศษ พระร่วงครองสุโขทัย ทรงมีนโยบายที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างขวางและมั่นคง จึงดำริที่จะสร้างเมืองหน้าด่านขึ้นทุกทีซึ่งได้รับสั่งให้นายพรานผู้ชำนาญเดินป่าออกสำรวจเส้นทางและชัยภูมิที่มีลักษณะดี กลุ่มนายพรานจึงได้กระจายกันออกสำรวจเส้นทางต่างๆ จนกระทั่งมาถึงบริเวณแห่งนี้ได้พบกระต่ายป่าขนสีเหลืองเปล่งปลั่งด้วยทอง สวยงามมาก นายพรานจึงกราบถวายบังคมทูลขอราชานุญาตจากพระร่วงเจ้าเสด็จไปติดตามจับกระต่ายขนสีทองตัวนี้มาถวายเป็นราชบรรณาการถวายแดพระมเหสีพระร่วง นายพรานจึงกลับไปติดตามกระต่ายป่าตัวสำคัญ ณ บริเวณที่เดิมที่พบกระต่ายได้ใช้ความพยายามดักจับหลายครั้ง แต่กระต่ายตัวนั้นสามารถหลบหนีไปได้ทุกครั้ง นายพรานมีความมุมานะที่จะจับให้ได้จึงไปชวนเพื่อนฝูงนายพรานด้วยกันมาช่วยกันจับ แต่ยังไม่ได้จึงอพยพลูกหลานพี่น้อง และกลุ่มเพื่อนฝูงต่าง มาสร้างบ้านถาวรขึ้นเพื่อผลที่จะจับกระต่ายขนสีทองให้ได้ กระต่ายก็หลบหนีเข้าไปในถ้ำซึ่งหน้าถ้ำมีขนาดเล็กนายพรานเข้าไปไม่ได้แม้พยายามหาทางเข้าเท่าไรก็ไม่พบจึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นหน้าถ้ำเพื่อเฝ้าคอยจับกระต่ายขนสีทอง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งต่อมาหมู่บ้านได้ขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่จึงได้เรียกชุมชนนั้นว่า “บ้านพรานกระต่าย” และเป็นชื่ออำเภอในเวลาต่อมา

16.7221769, 99.3875964

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,027


ภาษาถิ่นพรานกระต่าย

ภาษาถิ่นพรานกระต่าย

ภาษาถิ่นพรานกระต่ายเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนในปัจจุบันนอกจากชาวอำเภอพรานกระต่ายแล้วยังมีผู้ใช้ ภาษาถิ่นพรานกระต่าย ในเขตอำเภอเมือง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดตากและ จังหวัดสุโขทัย จากผลงานวิจัย พบว่า ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มี 5 วรรณยุกต์ เหมือนกับภาษาไทยกลางนั่นคือ วรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ คำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวาในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์เอก ในภาษาถิ่นพรานกระต่าย และคำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์ เอกและโทในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวา

16.7217067, 99.2478327

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 5,640


ตำนานวัดไตรภูมิ

ตำนานวัดไตรภูมิ

กาลครั้งหนึ่งในสมัยพระร่วงเจ้าครองเมืองสุโขทัย บริเวณที่เป็นหมู่บ้านพรานกระต่ายปัจจุบันนี้ เป็นป่าใหญ่ มีเมืองกำแพงเพชรหรือเมืองชากังราว ซึงเป็นเมืองลูกหลวงเท่านั้นท่ี่มีผุู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น พระร่วมเจ้าจึงได้สร้างถนนจากเมืองสุโขทัยถึงเมืองกำแพงเพชร เพื่อติดต่อกันได้โดยสะดวก ถนนนี้เรียกว่า "ถนนพระร่วง" (อยู่ห่างจากวัดไตรภุูมิไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 1.5 กิโลเมตร) บริเวณป่าใหญ่นี้มีนายพรานคอยดูแลรักษาป่าและ สัตว์ป่าอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งพรานป่าได้พบช้างเชือกหนึ่งมีลักษณะงดงามมากผิดกว่าช้างอื่นๆ จึงนำเรื่องนี้เข้ากราบทูลพระร่วงให้ทรงทราบ 

16.7217067, 99.2478327

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,796


ตำนานพระร่วงเล่นว่าว

ตำนานพระร่วงเล่นว่าว

บนเส้นทางถนนพระร่วง มีเรื่องเล่าขานมากมายชาวบ้านได้เล่าถึง พระร่วงซึ่งเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ มีวาจาสิทธิ์ได้ทรงสร้างถนนสายนี้ว่า พระร่วงได้ใช้เท้าเกลี่ยดินเพียงสามครั้งก็ได้ถนนสายนี้ขึ้นมา พระร่วงเป็นกษัตริย์ที่ทรงโปรดการเล่นว่าวมาก ตลอดเส้นทางถนนสายนี้ ชาวบ้านได้เล่าถึงการเล่นว่าวของพระร่วงคล้าย ๆ กันหลายหมู่บ้าน จะต่างกันสถานที่เล่นว่าวเท่านั้น  จะขอยกตัวอย่างที่อำเภอพรานกระต่ายดังนี้  ในช่วงที่พระร่วงได้ตรองราชย์อยู่ที่กรุงสุโขทัย วันหนึ่งพระองค์คิดถึงนางทองซึ่งเป็นพระมเหสีอยู่ที่เมืองพาน จึงเสด็จมาหา ซึ่งขณะนั้นพระมเหสีทองได้ตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยากเสวยมะดัน (ผลไม้ชนิดหนึ่ง) พระร่วงจึงเสด็จ

16.7217067, 99.2478327

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,982


ตำนานถ้ำกระต่ายทอง

ตำนานถ้ำกระต่ายทอง

มีประวัติเล่าว่า มีนายพรานเดินทางมาสำรวจเส้นทางเพื่อไปสร้างเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย วันหนึ่งขณะที่กำลังพักแรม นายพรานได้พบกระต่ายขนสีทองสวยงามมากบริเวณหน้าถ้ำแห่งหนึ่งและได้หายเข้าไปในถ้ำ ต่อมานายพรานจึงกราบบังคมทูลพระร่วงให้รับทราบและรับอาสาจะจับกระต่ายตัวดังกล่าวและได้ใช้ความพยายามที่จะจับตั้งหลายครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงได้สร้างบ้านถาวรขึ้นบริเวณหน้าถ้ำเพื่อรอจับกระต่าย หลายปีต่อมาจึงมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพรานกระต่าย" ปัจจุบันสถานที่บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง ถูกบูรณะและตกแต่งให้เป็นสถานที่สวนย่อมแลดูสวยงาม และมีการสร้างรูปปั้นนายพราน ซึงเป็นตัวแทน เจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองให้ชาวอำเภอพรานกระต่ายได้สักการะบูชา

16.7217067, 99.2478327

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,740


ตำนานจระเข้ปูน

ตำนานจระเข้ปูน

กล่าวกันว่าในสมัยกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรือง ราวประมาณ พ.ศ. 1420 มีเมืองหนึ่งชื่อ “พระมหาพุทธสาคร”  วันหนึ่งพระมหาพุทธสาครเสด็จมาที่วังแห่งนี้เพื่อพักผ่อน ขณะนั้นได้ทอดเห็นพญานาคตนหนึ่ง กำลังคาบสาวงามนางหนึ่งผ่านหน้าไป พระองค์ได้ติดตามไปจนกระทั่งถึงภูเขาลูกหนึ่ง พญานาคได้กลืนหญิงสาวเข้าไปในท้อง พระมหาพุทธสาครได้เสด็จตามมาทันพอดี จึงได้ใช้มนต์สะกดพญานาคไว้แล้วจึงได้ล้วงหญิงสาวออกมาจากคอพญานาค ทราบชื่อภายหลังว่า “นางทอง” หรือ “นางสาวทอง” (เพราะยังเป็นโสดอยู่) ส่วนเขาบริเวณนั้นมีช่อว่า “เขานางทอง”       

16.7217067, 99.2478327

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,331


ตำนานเขานางทอง

ตำนานเขานางทอง

ตำนานเล่าว่า นางทองเป็นผู้หญิงสาวชาวบ้านเมืองพานที่สวยงามมาก ต่อมาถูกพญานาค กลืนเข้าไปในท้อง พระร่วงเจ้าผู้ครองนครเมืองพานได้พบเห็นจึงได้เข้าช่วยโดยใช้อิทธิฤทธิ์ของตน ล้วงนางทองออกมาจากคอของพญานาค เนื่องจากนางทองเป็นคนที่มีสิริโฉมงดงามจึงเป็นที่สบพระทัยของพระร่วง ต่อมาจึงได้อภิเษกเป็นพระมเหสี (เมียหลวง) และยังได้นางคำหญิงชาวบ้านอีกคนหนึ่งเป็นพระสนมเอก (เมียน้อย) อีกองค์หนึ่งด้วย อยู่มาวันหนึ่งพระร่วงได้เสด็จไปเที่ยวในกรุงสุโขทัย พระมเหสีทองซึ่งเป็นคนที่มีความมานะอดทนขยันหมั่นเพียรในการทอผ้าด้วยกี่ทอผ้า ได้ไปซักผ้าอ้อมที่สระน้ำซึ่งพระร่วงได้สร้างพระตำหนักแพหน้าพระราชวังในคลองใหญ่ไว้เป็นที่พักผ่อนพระอิริยาบทและซักผ้า ในวันนั้นขณะที่ซักผ้าอ้อมเสร็จและจะนำไปตาก (บริเวณที่ตากผ้าอ้อมนั้น ไม่มีต้นไม้ขึ้นเลย จะโล่งเตียนไปหมด เพราะ พระร่วงสาปไว้สำหรับตากผ้าอ้อม) ระหว่างที่ตากผ้าอ้อมพระมเหษี ทองก็กลัวว่าผ้าอ้อมจะไม่แห้งจึงทรงอุทานขึ้นเป็นทำนองบทเพลงเก่าว่า "ตะวันเอยอย่ารีบจร นกเอยอย่ารีบนอน หักไม้ค้ำตะวันไว้ก่อน กลัวผ้าอ้อมจะไม่แห้ง"

16.7217067, 99.2478327

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 2,516


Google search

Mic

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นน

บอน

บอน

บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบ

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอ

ชุมชนบ้านโคกเลาะ

ชุมชนบ้านโคกเลาะ

ชุมชนบ้านโคกเลาะ พบบริเวณที่มีแนวคูน้ำและคันดินล้อมรอบขนาดเล็ก ห่างจากถนนพหลโยธินไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 1 กิโลเมตร ตั้งอยุ่ใกล้กับร่องน้ำเก่า ชาวบ้