มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 5,136

[16.4821705, 99.5081905, มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร]

           พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม
           เริ่มด้วย “พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด” หนึ่งในพระนางกำแพง ก็จะสังเกตได้จากลักษณะของเส้นขอบบังคับพิมพ์เป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ในตัว เพียงแต่ไม่มีการตัดขอบ จึงทำให้เหลือส่วนที่เป็นปีกทั้งข้างและด้านใต้ฐานพระลักษณะคล้าย ‘เม็ดมะเคล็ด’ จึงนำมาเป็นชื่อของพิมพ์ 
            พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด มีปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ และเป็นอีกหนึ่งพิมพ์ที่ราคายังไม่สูงนัก แต่พุทธคุณก็ไม่แตกต่างกันเลย เนื้อหามวลสารก็เช่นกัน เป็นเนื้อดินที่ละเอียด แข็ง และแกร่ง ปรากฏคราบกรุสีขาวนวลจับแน่นทั่วองค์ องค์พระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำเกือบทั้งหมดสีน้ำตาลมีน้อยหายาก พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่งปางมารวิชัย สถิตอยู่ในเรือนแก้วรูปสามเหลี่ยมแบบหนึ่ง อีกแบบหนึ่งไม่เรือนแก้ว ทั้งสองแบบองค์พระสถิตบนพื้นฐานคล้ายรูปทรงของเม็ดมะเคล็ด ซึ่งโดยส่วนมากจะประณีต มีเพียงบางองค์ที่ทำเป็นปีกเหลือไว้บ้าง
           - ลักษณะองค์พระด้านล่างจะป้อมอูมและนูน ส่วนด้านบนจะเรียวเล็ก และส่วนใหญ่จะกดพิมพ์มาตื้นแทบทุกองค์   
           - พระเศียรใหญ่ คล้ายทรงเทริด แต่ด้วยการกดพิมพ์ตื้นทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน   
           - พระเกศเรียว ช่วงปลายบานออกแบบทรงกรวย
           - ภายนอกซุ้มเรือนแก้ว มีเนื้อเกินเป็นปีกกว้างออก แล้วโอบล้อมกลืนไปกับด้านหลังเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมดุล
           - ด้านหลังองค์พระบางองค์จะพอเห็นลายนิ้วมือ แต่มักจะเลือนรางมาก   
           พระนางกำแพงพิมพ์ต่อมา คือ “พระนางกำแพงกลีบบัว” มีการค้นพบครั้งแรกที่กรุพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ.2392 ต่อมาปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ กรุที่ได้รับความนิยมกันมากจะเป็น กรุวัดพิกุล และวัดป่ามืด เนื้อหามวลสารส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ ส่วนมากเนื้อจะละเอียดหนึกนุ่ม หากผ่านการสัมผัสใช้มา ว่านดอกมะขามปรากฏกระจายอยู่ทั่วไปบนองค์พระและรารัก หรือ ราดำ ปรากฏให้พบเห็นมากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่พระที่พบขึ้นจากกรุนั้นๆ  สำหรับเนื้อว่าน และ เนื้อชิน ปรากฏให้พบเห็นบ้าง แต่ไม่มากนัก พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร อยู่บนอาสนะฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน แต่ปีกด้านข้างจะเรียวเล็กกว่าคล้ายกลีบบัว จึงนำลักษณะดังกล่าวนี้มาตั้งเป็นชื่อพิมพ์
             พระนางกำแพงกลีบบัว มักจะมีขนาดไม่เท่ากัน คือตั้งแต่ 1.2 X 2.2 ซม. จนถึง 1.6 X 3 ซม. และยังสามารถแยกเป็นพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในส่วนเกศไม่มากนักออกเป็นอีก 4 พิมพ์ คือ พิมพ์เกศแฉก พิมพ์เกศปลี พิมพ์เกศบัวตูม และ พิมพ์เกศเปลว
             มาที่ “พระนางกำแพงพิมพ์ตื้น” ลักษณะพิมพ์ทรงจะเป็นรูปสามเหลี่ยมเรขาคณิตเหมือนพระนางพญา และก็เป็นไปตามชื่อพิมพ์อีกเช่นกัน คือ ลักษณะการกดพิมพ์ค่อนข้างตื้น ทำให้เส้นแสงรายละเอียดต่างๆ ไม่ชัดเจนนัก พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัย สถิตอยู่บนอาสนะฐานเขียง พระพักตร์ใหญ่อ่อนช้อยและชัดเจน พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย  
            - มีเส้นลางๆ จากโคนพระเกศมาจรดพระเมาลีด้านซ้าย
            - พระสังฆาฏิเป็น 2 เส้น ปลายแหลมคม
            - มีตุ่มข้างพระพาหาด้านซ้ายมือด้านใน
            - เส้นชายจีวรพาดข้อพระหัตถ์ด้านซ้ายเป็นเส้นเล็กๆ รางเลือน
            - มีเส้นพิมพ์แตกเฉียงจากพระหัตถ์ขวามายังพระชานุ
           การพิจารณาพระนางกำแพงทุกพิมพ์ ในเบื้องต้นให้ดูที่เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน มีความละเอียดนุ่ม และมี “รารัก หรือ ราดำ” ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และยังเป็นจุดในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วยครับผม

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : http://www.arjanram.com/relic_detail.php?g=2&id=679

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1163&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1163&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดหนองลังกา

กรุวัดหนองลังกา

จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,828

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว จังหวัดกำแพงเพชร คราบฝ้าขาวของกรุ และปรอทจับตามองค์พระกระจายทั่วไป จึงเป็นที่มานามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุด สำหรับนักสะสมเนื้อชิน และองค์นี้สวยถือว่าสวยสมบูรณ์แท้ ไม่เป็นสองรองใครถ้าพูดถึงพระเครื่อง เนื้อชิน ที่ถูกยกย่องเป็น “พระในฝัน” ของเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง สายเนื้อชินกันแล้วหล่ะก็ นามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุดพิมพ์หนึ่ง จนสามารถพูดได้ว่า “พระกำแพงขาว” คือ 1 ใน 10 พระเครื่องเนื้อชิน ที่มีผู้อยากจะได้ไว้ครอบครองบูชามากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่งกันเลยทีเดียว สมัยเก่าก่อนเขาให้ความนิยมเชื่อถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี ต่างยกนิ้วให้ด้วยความชื่นชมว่า “คงกระพันชาตรี เหนียวสุดๆ” รวมถึงแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 16,546

กรุวัดป่ามืด

กรุวัดป่ามืด

ที่ตั้งกรุพระวัดป่ามืด ถนนกำแพง-พรานกระต่ายจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 200 เมตร เลี้่ยวซ้ายไปประมาณ 900 เมตร ถึงวัดป่ามืดนอก แล้ววัดป่ามืดอยู่ทิศตะวันตกติดกัน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเม็ดขนุน พระเปิดโลก พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระลีลากำแพงเพชร พระเม็ดมะลื่น พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่-กลาง พระนางพญาท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระเชตุพน พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พระฝักดาบ พระกลีบจำปา พระเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระประทานพร พระซุ้มยอ พระท่ามะปราง พระนาคปรก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองซุ้มเสมา พระกำแพงใบตำแย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,677

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ผุพังสลายไปกับดินตามธรรมชาติน่าเสียดายยิ่งนัก จนยุคต่อมา เมื่อพระเครื่องเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง พระเครื่องจากเมืองกำแพงนั้นได้รับการจัดเข้าอยู่ในพระเครื่องชุดสุดยอดของเมืองไทย ที่รู้จักกันในนามว่า เบญจภาคี หรือ พระเครื่องสำคัญ ๕ องค์ ที่กลายเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องตั้งยุคกึ่งพุทธกาลจนทุกวันนี้ด้วยพระพุทธคุณอันเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศิลป์อันงดงามที่ปรากฏอยู่บนองค์พระ ที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย เครื่องเมืองกำแพงนั้นได้รับการยกย่องให้เข้าอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีถึง ๓ องค์ คือ พระกำแพง พลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน และพรำกำแพงซุ้มกอ ทั้งนี้หมายความว่า เพียงองค์ใดองค์หนึ่งในพระเครื่องทั้งสามนี้ ก็เป็นองค์หนึ่งในชุดเบญจภาคีดุจเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,880

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 26,072

กรุอาวาสน้อย

กรุอาวาสน้อย

ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระประธานพร พระท่ามะปราง พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงฐานสำเภา พระกำแพงคืบ พระลีลากำแพง พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง พระประธานพร พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระยอดขุนพล พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร พระซุ้มยอ พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงพิมพ์รัศมี พระกำแพงห้าร้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,126

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเป็นเอกของเมืองกำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ พระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชินก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระเป็นประติมากรรมในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิมีลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ นั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ”
         

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,208

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,593

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,819

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,178