มะตาด
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 7,862
[16.4258401, 99.2157273, มะตาด]
มะตาด ชื่อสามัญ Chulta, Chalta, Ouu, Elephant apple
มะตาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Dillenia indica L. จัดอยู่ในวงศ์ส้าน (DILLENIACEAE)
สมุนไพรมะตาด มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ส้มปรุ ส้านกวาง ส้านท่า ส้านป้าว ส้านปรุ ส้านใหญ่ (เชียงใหม่), แส้น (นครศรีธรรมราช, ตรัง), สั้น บักสั้นใหญ่ (อีสาน), แอปเปิ้ลมอญ, ส้านมะตาด, ไม้ส้านหลวง (ไทใหญ่), ตึครือเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ลำส้าน(ลั้วะ), เปียวกับ (เมี่ยน) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย คาบสมุทรมลายู ไทย ลาว พม่า และอินโดจีน
ลักษณะของมะตาด
- ต้นมะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี ในประเทศไทยสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในป่าพรุ ป่าดิบชื้น และริมแม่น้ำลำธาร
- ใบมะตาด ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับถี่ออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกหรือเป็นรูปไข่กลับ ใบมีความกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ส่วนโคนใบเรียวสอบแคบและมน แผ่นใบหนา ใบเป็นคลื่นลอนตามเส้นแขนง ใบที่แยกขนานออกจากเส้นใบไปขอบใบ ขอบใบเป็นหยักและฟันเลื่อย มีหนามเล็ก ๆ อยู่ที่ปลายสุดของเส้นแขนงตรงขอบใบ ส่วนท้องใบจะเห็นเส้นแขนงและมีขนขึ้นประปราย เส้นแขนงใบตรงประมาณ 30-40 คู่ และก้านใบมีความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นร่อง โคนก้านใบแบนและเป็นกาบห่อหุ้มกิ่ง
- ดอกมะตาด ดอกมีสีขาวนวลและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเดี่ยวๆ บริเวณง่ามใบและกิ่งบริเวณใกล้ปลาย ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีขนสากมือ ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นแผ่นโค้งคล้ายช้อน มีอยู่ 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลับบาง มีความกว้างประมาณ 15-18 เซนติเมตร กลีบดอกจะร่วงได้ง่ายเมื่อดอกบาน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่จำนวนมากล้อมรอบเกสรตัวเมีย โดยเกสรตัวเมียจะมีสีขาว ยอดเกสรตัวเมียจะแยกออกเป็นแฉก ๆ รังไข่มี 20 ช่อง เมื่อดอกตูมในระยะแรกจะมีลักษณะคล้ายกับผลมะตาด และเมื่อดอกมีขนาดเท่าผลมะนาวก็จะบานออก และเมื่อดอกบานและได้รับการผสมแล้ว กลีบเลี้ยงจะเริ่มห่อหุ้มเข้ามาใหม่จนมีลักษณะเป็นผลกลมๆ เมื่อเกาะอัดแน่นและเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นผลมะตาด
- ผลมะตาด หรือ ลูกมะตาด ผลเป็นผลเดี่ยวสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลมใหญ่อวบ ซึ่งเป็นกาบที่เกิดขึ้นมาจากกลีบเลี้ยงที่อัดกันแน่นและแข็ง มีความกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ผลมีกลิ่นเฉพาะตัว มีเมือกเหนียวและมีรสเปรี้ยวอมฝาด ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล มีความกว้างประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร เมล็ดมีเมือกห่อหุ้ม และเมื่อแก่จัดเมล็ดจะมีสีน้ำตาลเข้มไปจนเกือบดำ โดยในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก
มะตาด แยกเป็นชนิดย่อยได้อีก คือ มะตาดข้าวเหนียวและมะตาดข้าวเจ้า ซึ่งแบ่งตามรสสัมผัสของเนื้อผล โดยผลมะตาดที่นิยมใช้คือมะตาดข้าวเหนียว เพราะมีเนื้อที่เหนียวนุ่มกว่ามะตาดข้าวเจ้า
สรรพคุณของมะตาด
- ผลมะตาดมีสารฟลาโวนอยด์และสารฟีนอลิก ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (ผล)
- ผลมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล)
- เมล็ดมะตาดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นยาเย็น (ผลสุก)
- ช่วยต้านอาการลมชัก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยถอนพิษไข้ ระบายพิษไข้ (ใบ, เปลือกต้น)
- ช่วยแก้ไข้ ลดไข้ (ผล, ใบ, เปลือกต้น)
- ช่วยแก้อาการไอ (ผลสุก)
- ช่วยขับเสมหะ (ผลสุก)
- เปลือกต้นนำมาเคี้ยวช่วยทำให้เหงือกและฟันกระชับแน่น (เปลือกต้น)
- ใบและเปลือกต้นมีรสฝาด ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ, เปลือกต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง (ผล)
- ผลมีเมือกเหนียวคล้ายวุ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและในลำไส้ (เมือกผล)
- ช่วยในการขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น ทำให้ท้องไม่ผูก (ผล)
- ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล, ใบ, เปลือกต้น)
- เปลือกและใบมีรสฝาด ใช้เป็นยาสมานแผล (ใบ, เปลือกต้น)
- รากมะตาดใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะตาด
- สารสกัดหยาบจากผลเทียมและใบมะตาดด้วยตัวทำละลาย คือ Ethanol 95 % และ Acetone จากการทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อสารสกัดหยาบของมะตาดพบว่า สารสกัดหยาบจากผลเทียมที่สกัดด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ส่วนสารสกัดจากใบที่สกัดด้วย Acetone นั้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ส่วนสารสกัดหยาบจากใบที่สกัดด้วย Ethanol 95 % ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด และจากการทดสอบผลของอุณหภูมิและระยะเวลาต่อความเสถียรของสารสกัดหยาบจากมะตาดต่อการเจริญของเชื้อ Bacillus cereus โดยพบว่าสารสกัดหยาบจากผลเทียมและใบที่เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีที่สุด รองลงมาคือ 4 องศาเซลเซียส, 60 องศาเซลเซียส และ 100 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนผลของระยะเวลาพบว่าในระยะเวลาตั้งแต่ 0, 2, 4 และ 6 สัปดาห์ที่สารสกัดหยาบจากผลเทียมและใบยังคงเสถียรต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
- สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ กดระบบประสาทส่วนกลาง และช่วยต้านการอักเสบ
ประโยชน์ของมะตาด
- ผลมะตาดใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ นำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อรับประทานมาตั้งแต่โบราณ เช่น การทำเป็นแกงส้มมะตาด แกงคั่วมะตาด หรือนำไปทำอาหารอื่น ๆ[1]หรือใช้ผลสดจิ้มกินกับน้ำพริก[3] กลีบชั้นในที่มีลักษณะอวบอุ้มน้ำ ใช้จิ้มกับเกลือกินได้ ให้รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นหอม
- เมล็ดมะตาดที่แก่แล้วสามารถนำมารับประทานสดได้ (มีรสชาติมัน)
- คนไทยโบราณนิยมปลูกต้นมะตาดไว้ในสวนบริเวณบ้าน หรือปลูกในพื้นที่กลางแจ้งและมีเนื้อที่มากพอสมควร เพื่อใช้เป็นร่มเงาให้ความร่มรื่น เพราะใบมะตาดมีใบขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่หนาแน่น จึงสามารถช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับบรรยากาศ จึงช่วยลดโลกร้อนไปได้ด้วย และที่สำคัญยังนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกที่มีความโดดเด่นสวยงาม และมีเส้นใบเป็นริ้วที่ดูสวยงามแปลกตา
- เนื้อไม้ของต้นมะตาดสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรหรือทำเครื่องเรือน ใช้ทำโครงสร้างต่าง ๆ ของบ้าน เช่น ทำเสาบ้าน หรือทำเป็นพานท้ายปืน และใช้ทำเป็นฟืน
- เปลือกและผลของมะตาดสามารถนำมาใช้ในการย้อมหนังสัตว์และทำหมึกได้
- จากภูมิปัญญาของชาวรามัญได้นำเปลือกด้านในของผลมะตาดมาใช้ทาท้องเรือ เพื่อทำให้เรือแล่นได้เร็วขึ้น เพราะเมือกมะตาดนั้นจะช่วยลดความเสียดทานของท้องเรือกับผิวน้ำได้
- น้ำยางจากผลดิบนำมาใช้สระผมได้ ซึ่งปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นและดัดแปลงแปรรูปผลมะตาดทำเป็นผลิตภัณฑ์สระผม
- เมือกที่ห่อหุ้มเมล็ดอยู่สามารถนำมาใช้บำรุงเส้นผมและช่วยปกป้องเส้นผมจากแสงแดดและมลพิษได้ ด้วยการนำเมล็ดมะตาดที่มีเมือกผสมกับน้ำ 4-5 เท่า แล้วนำมาใส่ขวดปิดฝาให้สนิท เขย่าแรง ๆ แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอน แล้วใช้น้ำที่ได้นี้นำมาหมักเส้นผมประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง จากนั้นก็สระผมตามปกติ
คำสำคัญ : มะตาด
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะตาด. สืบค้น 8 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1721&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,501
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดต้นและแข็งแรงมาก ลำต้นสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ ใบเป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีอยู่ ประมาณ 10-18 คู่ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายกิ่งและโคนใบมนสีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆอยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบสีเหลืองและมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว ผลเมื่อดอกล่วงแล้วจะติดผลซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาวซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งเปลือกนอกเปราะ เป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆเป็นสีเหลืองอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัดซึ่งจะหุ้มเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลมผิวเปลือกเป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,901
ตดหมูตดหมา เป้นต้นไม้เลื้อยอายุยืนหลายปี ระบบรากแก้ว ลำต้นเป็นเถาขนาดเล็ก เนื้อแข็ง และเหนียวสีเขียวอ่อน ลำต้นทอดเลื้อยขึ้นครอบคลุมต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ หรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม ออกจากลำต้นแบบตรงข้าม ใบและก้านใบมีหูใบ ดอกออกเป็นช่อไซม์โมส (cymose) ออกตรงบริเวณซอกใบอ่อนปลายยอดดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกหลอมรวมกัน เป็นหลอดปลายกลีบ ดอกแยกเป็น 5 กลีบ มีสีม่วงอมเทาหรือม่วงอมชมพู ผลรูปไข่เปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล พบขึ้นในบริเวณบ้าน ริมรั้ว ตามที่รกร้างและริมทางทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,077
ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,409
ลักษณะต้นขี้เหล็กเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบรวมซึ่งประกอบด้วยใบอ่อนประมาณื20 ใบ ลักษณะใบจะดกหนาทึบ คล้ายใบทรงบาดาล หรือใบของชุมเห็ดไทย จะออกเป็นช่อสีเหลืองดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองสวย ผลมีลักษณะแบนอวบและยาวประมาณ 15 ซ.ม. คล้ายกับฝักแค นิเวศวิทยา เป็นพรรณไม้พบอยู่ทั่วไปของประเทศไทย นิยมปลูกเป็นไม้ร่มตามริมถนน ออกดอกตลอดปี
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,409
ต้นผักขี้มด จัดเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีเขียว มีหลายพู
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 1,811
ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,384
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นต้นขนาดย่อม กิ่งเล็กเรียวงอไปมาเล็กน้อยตามข้อ ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบเรียบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามกิ่งดูคล้ายใบประกอบ เหมือนใบมะยมดอกเล็ก กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองแดง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ผลกลมฉ่ำน้ำ ผิวเป็นพูเล็กน้อย สีเขียวถึงขาว ขั้วสีแดงห้อยลงใต้ใบ การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด หรือกิ่งปักชำ ประโยชน์ด้านสมุนไพรใบและต้น รสหวานเย็น ใช้น้ำยาหยอดตาแก้อักเสบ รักษาแผลในจมูก ราก รสเย็นระงับความร้อน ถอนพิษไข้กลับไข้ซ้ำ แก้โรคคางทูม
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,553
ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,074
ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำที่มีอายุยืนหลายปี สูง 30-90 ซม. ลำต้นสั้น รากแตกออกจากลำต้น บริเวณข้อ รากสีม่วงดำ เกิดจากสารแอนโทโซยานิน ลำต้นแตกไหล เกิดเป็นลำต้นใหม่ ติดต่อกันไป ใบออกเป็นกลุ่มรอบลำต้น ใบกว้างใหญ่ มีรูปร่างค่อนข้างกลม ส่วนฐานใบเว้าเข้าหาก้านใบ มีหูใบ ปลายใบมน ขนาดของใบความยาวก้านใบขึ้นกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่เจริญเติบโตอยู่ ก้านใบจะพองออกภายในมีรูพรุน ลักษณะคล้ายผองนำ ช่วยพยุงให้ลำต้นลอดน้ำได้ ดอกออกเป็นช่อชนิดสไปด์ ออกดอกได้ตลอดปี ในช่อหนึ่ง ๆ มีดอกย่อย 6-30 ดอก มีก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน มีสีม่วง มีจุดเหลืองรวมกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 6 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 6 ตัว เกสรตัวเมียเป็นเส้นบาง ๆ ที่ส่วนปลายเป็นตุ่มสีขาว
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,157