กะเหรี่ยง (KAREN)
นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖
16.2844429, 98.9325649
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2021 ผู้เช้าชม 744
บ้านกะเหรี่ยงปะละทะ
บ้านกะเหรี่ยงปะละทะ เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ริมลำน้ำแม่กลอง ในอำเภออุ้มผาง เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนา มีไฟฟ้า สถานีอนามัย และโรงเรียน ชาวกะเหรี่ยงที่นี่ยังนิยมการแต่งกายแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง แต่ละบ้านจะมีหูกทอผ้า (เครื่องทอผ้า) ใช้กันเองในหมู่บ้าน นิยมเลี้ยงหมู ไก่ เพื่อใช้เป็นอาหาร เลี้ยงช้างไว้เป็นพาหนะในการเดินทางและขนส่ง ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม
-, -
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2021 ผู้เช้าชม 804
ผ้าทอกะเหรี่ยงอำเภอพบพระ
ชาวกะเหรี่ยงขาวมีความเชื่อแต่โบราณว่าลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยงโดยที่งูตัวนั้นจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ ๗ วัน ทอได้ ๗ ลาย คือ ลายโยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อล่อ ที่ข่า เกอแนเดอ เซอกอพอ และแชะฉ่าแอะ แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปัก มี ๔ ลายคือ โยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อลอ และลายทีข่า ปัจจุบันยังมีการคิดค้นลายใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ชาวปากอเญอ มีพื้นฐานการทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการผลิตไว้ใช้ในครัวเรือน ที่เหลือจึงนำมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ลักษณะลายผ้าที่ผลิตกันจะเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ลายผ้าเป็นไปตามความอำเภอใจของผู้ทอ ไม่มีเอกลักษณ์ มาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกัน
16.4546601, 98.5363494
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2021 ผู้เช้าชม 167
เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์
ปัจจุบัน กลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยาและตองูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่า ในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกาย ไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มกะเหรี่ยงสะกอ และโปในทุกจังหวัดของประเทศไทย
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2021 ผู้เช้าชม 763
ลายผ้ากะเหรี่ยง
ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ลวดลายนั้นจะมาจากการมองดูธรรมชาติรอบๆตัวแล้วนำมาดัดแปลงให้เป็นลวดลายในผืนผ้า โดยการยกเขา 4 เขา เป็นกะเหรี่ยงลายดั้งเดิมตั้งแต่นั้นมา
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2021 ผู้เช้าชม 1,248
การทอผ้าของกะเหรี่ยง
การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ดั้งเดิมอย่างหนึ่งของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงทอผ้าใช้ในครอบครัวมาเป็นเวลานาน กรรมวิธีการทอผ้าของกะเหรี่ยงคล้ายกับการทอผ้าของชาวเปรูในสมัยโบราณ และคล้ายกับการทอผ้าของชนเผ่าหนึ่งในแถบประเทศกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก การทอผ้าของกะเหรี่ยงจะใช้กี่ทอผ้าที่เป็นแบบ back strap (กี่เอว)
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2021 ผู้เช้าชม 285
ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง
ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2021 ผู้เช้าชม 553
-
ฐานข้อมูล - 104 ประวัติ
- 151 แหล่งท่องเที่ยว
- 36 บุคคลสำคัญ
- 93 ประเพณี/วัฒนธรรม
- 121 พระเครื่อง
- 59 ตำนาน/วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 86 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 92 อาหารพื้นบ้าน/ขนมพื้นบ้าน
- 135 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 115 ร้านอาหาร/กาแฟ
- 58 โบราณวัตถุ
- 97 หน่วยงานราชการ
- 169 โรงแรม/ที่พัก
- 24 ของฝาก
- 19 การท่องเที่ยวตำบลบ้านคลองน้ำไหล
เดิมเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองกำแพงเพชร มีชื่อว่า " ตำบลโป่งน้ำร้อน " ในปี 2519 แยกตำบล ออกเป็นตำบลคลองน้ำ
“การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมช
สวนน้าผึ้ง โฮมสเตย์ ต้องการพักผ่อนในสถานที่พักสไตล์รีสอร์ทท่ามกลางบรรยากาศ ที่เป็นธรรมชาติและบริการที่เป็นกันเอง มีห้องพักหลายรูปแบบให้ ท่านได
จะเห็นได้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในประเทศไทยนั้น ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจและน่าเที่ยวกันเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแน