มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 6,898

[16.4258401, 99.2157273, มหาหิงคุ์]

มหาหิงคุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ferula assa-foetida L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
สมุนไพรมหาหิงคุ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ว่า หินแมงค์ (เชียงใหม่), อาเหว้ย (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของมหาหิงคุ์
       มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน
       ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่อง ๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน
       ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
        ดอกมหาหิงคุ์ ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ช่อหนึ่งมีก้านดอกย่อยประมาณ 20-30 ก้านเล็ก ในแต่ละก้านจะแยกออกจากกัน ดอกเพศเมียเป็นสีเหลือง ส่วนดอกเพศผู้เป็นสีขาว มีกลีบ 5 กลีบและจะอยู่ต่างช่อกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน มีรังไข่ 2 อัน และมีขนปกคลุม
        ผลมหาหิงคุ์ ผลเป็นผลคู่แบบแบน ลักษณะเป็นรูปไข่ยาวรี

สรรพคุณของมหาหิงคุ์
1. ยางจากรากหรือลำต้นมีรสเผ็ดขม กลิ่นฉุน เป็นยาอุ่น ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ลำไส้ ตับ และม้าม ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
2. ช่วยขับเสมหะ
3. ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาหารไม่ย่อย[1]ตามตำรับยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยระบุให้ใช้มหาหิงคุ์ 10 กรัม, พริกไทย 10
    กรัม, โกฐกระดูก 20 กรัม, ลูกหมาก 20 กรัม นำมาบดให้เป็นผงทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน เม็ดละ 3 กรัม ใช้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 10 เม็ด
4. ตำรับยาแก้ท้องแข็งแน่นจับกันเป็นก้อน ให้ใช้มหาหิงคุ์ 20 กรัม, ขมิ้นอ้อย 60 กรัม, ซำเล้ง 100 กรัม, โกฐเขมาขาว 100 กรัม, แปะไก้จี้ 120 กรัม นำมาคั่วแล้วบดเป็นผง
    ทำเป็นยาเม็ด ใช้รับประทานครั้งละ 60 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
5. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดกระเพาะ แก้บิด
6. ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ
7. ใช้ผสมกับแอลกอฮอล์ ใช้เป็นยาทาภายนอก แก้ปวด แก้บวม
8. คุณสมบัติทางยาอื่น ๆ ได้แก่ เป็นยาระบาย ยากล่อมประสาท แก้อาการนอนไม่หลับ ถ่ายพยาธิ ฆ่าเชื้อ (ข้อมูลอ้างอิงจากhttp://on.fb.me/RFJ9Tf)
9. ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ระบุว่าในอดีตจะใช้มหาหิงคุ์ผสมกับแอลกอฮอล์แล้วนำมาทาท้องเด็ก จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ บางส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากมหาหิงคุ์มี
    คุณสมบัติเป็นยาฆ่าแมลงได้ ส่วนยางจากรากช่วยบำรุงธาตุ แก้อาการทางประสาทชนิดฮิสทีเรีย ใช้เป็นยาขับลม ชำระเสมหะและลม แก้ลมที่มีอาการให้เสียดแทง แก้อาการ
    เกร็ง ช่วยย่อยอาหาร ขับประจำเดือนของสตรี แก้ปวด แก้อาการชักกระตุก ใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลาก แก้แมลงสัตว์กัดต่อย และกลิ่นของมหาหิงคุ์ยังใช้ในการรักษาโรค
    หวัดและอาการไอได้ด้วย
หมายเหตุ :
    วิธีใช้ตาม [1] ให้ใช้ครั้งละ 1-1.5 กรัม นำมาเข้ากับตำรับยาหรือผสมแอลกอฮอล์ใช้เป็นยาทาภายนอก แก้ปวด แก้บวม ขับลม ใช้ทาแก้ปวดท้อง หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น ๆ

การออกฤทธิ์ของมหาหิงคุ์
         ปกติแล้วเราจะนำมหาหิงคุ์มาชุบสำลี (หรือจะใช้มหาหิงคุ์ชนิดที่เป็นลูกกลิ้ง) แล้วนำมาทาที่หน้าท้อง ฝ่าเท้า และศีรษะของเด็กทารก หรือใช้รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ โดยสารที่ออกฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ทั้งแบบทาและแบบรับประทาน) เป็นสารจากกลุ่มเดียวกัน คือ สารในกลุ่มน้ำมันหอมระเหย ซึ่งการรับประทานนั้นกลไกการออกฤทธิ์จะเป็นแบบ Local ที่ทางเดินอาหาร โดยเป็น Antispasmodic และกระตุ้นให้เกิดการขับลม
         ส่วนในกรณีที่ใช้ทาภายนอกนั้นจะใช้กับเด็กทารกเท่านั้น เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์ Stimulant ด้วย การนำมาทาบริเวณท้องของเด็กคงอาศัยผลจากที่ผนังหน้าท้องของเด็กทารกบางพอที่ผลของการเป็น Stimulant จะสามารถไปกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ แต่การนำไปใช้ทาบริเวณฝ่าเท้าหรือหน้าผากก็สุดจะคาดเดา แต่ที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คงเป็นฤทธิ์ทำให้สงบของมหาหิงคุ์ที่ช่วยทำให้เด็กไม่โยเย (อนุชิต พลับรู้การ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมหาหิงคุ์
1. สารที่พบได้แก่ Latex 40-64%, ยาง 25%, น้ำมันระเหย 10-17% ในน้ำมันหอมระเหยพบสารที่ให้กลิ่นฉุนจำพวก Asafetida เช่น Sec-butyl, Propenyl, Diauldo ส่วนใน
    ยางพบสาร Ferulic acid และยังพบสาร Farnesiferol เป็นต้น
2. สาร Asafetida เป็นสารที่ให้กลิ่นฉุนและรสขม เมื่อเข้าไปในกระเพาะลำไส้ในร่างกายจะถูกดูดซึมโดยไม่พบอาการเป็นพิษ อีกทั้งยังมีผลในการยับยั้งการบีบตัวของลำไส้
    จึงสามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ และยังสามารถช่วยลดอาการอักเสบในลำไส้ได้อีกด้วย
3. น้ำมันระเหยของมหาหิงคุ์มีฤทธิ์กระตุ้นหลอดลมให้มีการบีบตัว จึงช่วยขับเสมหะได้
4. สารสกัดที่ได้จากมหาหิงคุ์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคในหลอดทดลองได้ และยังมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวกลมกับพยาธิใบไม้ในตับได้อีกด้วย
5. เมื่อนำน้ำที่ต้มกับมหาหิงคุ์ในความเข้มข้น 1:1,000 มาทดลองกับมดลูกที่อยู่นอกตัวของหนูทดลอง พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง แต่ถ้าเป็นสารที่สกัดด้วย
    แอลกอฮอล์จะไม่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นมดลูกให้เกิดการบีบตัว

ข้อควรระวังในการใช้มหาหิงคุ์
1. ผู้ที่ม้ามหรือกระเพาะหย่อน รวมถึงสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
2. การใช้มหาหิงคุ์เป็นยาทาภายนอก เมื่อนำไปใช้กับเด็กทารกบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการแพ้เป็นผื่นคันได้ และไม่ควรรับประทานเพราะอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
    เป็นผื่นคัน และบวมที่ริมฝีปากได้
3. มหาหิงค์ุ กินได้ไหม? มหาหิงคุ์ในอดีตมักนิยมใช้เข้าตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ สามารถรับประทานได้ โดยขนาดที่ใช้รับประทานสำหรับผู้ใหญ่ คือ 0.3-1 กรัม แต่ใน
    ปัจจุบันผลิตภัณฑ์มหาหิงค์ที่มีจำหน่ายทั่วไปจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และใช้เป็นยาทาภายนอกเป็นหลัก จึงไม่ควรนำมารับประทาน

ตำรับยาเบ็ญจะอำมฤตย์
        บทความโดย นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย) ลำดับชั้นที่ 6 ในสายราชสกุลแพทย์ "ทินกร" (อ่านฉบับเต็มได้ที่ http://on.fb.me/1gtOvqD
        ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์จัดให้มหาหิงคุ์อยู่ในตำรับยา "เบ็ญจะอำมฤตย์" อันประกอบไปด้วยตัวยา 9 อย่าง ได้แก่ มหาหิงคุ์ 1 สลึง, ยาดำบริสุทธิ์ 1 สลึง, รงทอง 2 สลึง, มะกรูด 3 ผล แล้วเอามหาหิงคุ์ ยาดำ และรงทอง ใส่ในมะกรูดสิ่งละผล เอามูลโคพอกสุมไฟแกลบให้สุก ต่อมาให้เตรียมขิงแห้ง 1 สลึง, ดีปลี 1 สลึง, พริกไทย 1 สลึง, รากทนดี 2 สลึง, ดีเกลือ 4 บาท (ดีเกลือไทยเท่านั้น) แล้วเอาตัวยาทั้งห้านี้มาผสมกับมะกรูดที่สุมไว้ ทำให้เป็นจุณละลายน้ำส้มมะขามเปียก ใช้รับประทานหนัก 1 สลึง จะช่วยฟอกอุจจาระอันลามกให้สิ้นโทษ ชำระลำไส้อันเป็นเมือกมัน (กรีสังในบุพโพและโลหิตนั้น รวมขับเมือกกรีสังในลำไส้) และปะระเมหะทั้งปวง (เสมหะที่แข็งตัวอย่างยิ่ง อันเกิดแต่อาโปบุพโพ-โลหิต)
        จากตำรับยาดังกล่าวจะประกอบไปด้วย เครื่องยาหลัก (มหาหิงคุ์ ยาดำ และรงทอง มีสรรพคุณถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิตที่เป็นพิษ ช่วยกัดฟอกเสมหะและโลหิต และช่วยถ่ายน้ำเหลือง), เครื่องยาช่วย (รากทนดีและดีเกลือไทย มีสรรพคุณช่วยถ่ายเสมหะ ขับเมือกมันในลำไส้ และช่วยถ่ายน้ำเหลืองเสีย) และเครื่องยาประกอบ (ขิงแห้ง ดีปลี และพริกไทย มีสรรพคุณขับเสมหะ แก้เสมหะเฟือง ช่วยเจริญอากาศธาตุ แก้ปถวีธาตุ)

หมายเหตุ :
        การสะตุเครื่องยาเมาเบื่อในตำรับยานี้ เราจะใช้มะกรูด มูลโค แกลบข้าว และกำเดาจากแกลบข้าว จึงจะสะตุยาให้ได้ฤทธิ์เครื่องยาที่เหมาะสมกับตำรับยานี้ และห้ามปรุงยาโดยใช้วิธีอื่น ต้องทำตามที่ระบุไว้ในตำรับยาเท่านั้นจึงจะสำเร็จสรรพคุณตามตำรับยา ส่วนการทำให้เป็นจุณ หมายถึง การทำให้ละเอียดเหมือนผงแป้ง และจะต้องใช้น้ำส้มมะขามเปียกเป็นกระสายยาเป็นเครื่องเชื่อมประสานปั้นเป็นลูกกลอน แล้วต้องได้น้ำหนัก 1 สลึงพอดี และตำรับยานี้มีสรรพคุณเป็นยารุเป็นหลัก (หมายถึงกรีสังอันเกิดแต่น้ำเหลืองและเลือดที่เป็นพิษนั้น และเป็นปลายเหตุที่เกิด ไม่ใช่ต้นเหตุ) แพทย์จะต้องวางด้วยความระมัดระวัง ต้องพิจารณากำลังโรคและกำลังกายของผู้ป่วยด้วย

คำแนะนำ :
         ตำรับยานี้เป็นเพียงการนำเสนอเป็นวิทยาทานซึ่งเป็นกรรมวิธีทางเภสัชกรรมที่ถือปฏิบัติกันตามมาในอดีต ผู้นำไปใช้ต้องมีความรู้จริง รู้ชัด รู้แจ้ง อย่าเพียงแต่อ่านรู้เรื่องแล้วนำไปใช้ทำ เพราะผู้ป่วยบางรายยังไม่แสดงอาการของโรคที่ชัดเจน หากนำไปใช้โดยขาดองค์ความรู้ก็รังแต่จะเกิดโทษ

คำสำคัญ : มหาหิงคุ์

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มหาหิงคุ์. สืบค้น 15 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1671&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1671&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กกลังกา

กกลังกา

ต้นกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียวใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกกกลังกา ออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,430

ผักชีลาว

ผักชีลาว

ผักชีลาว เป็นผักที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลาย ๆ คนชื่นชอบ แต่สำหรับบางคนถึงกับส่ายหัวเลยทีเดียว แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ ผักชีลาวก็เป็นพืชผักสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากมาย เพราะคุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้ผักชีลาวยังมีสรรพคุณทางยามากมายที่ช่วยเพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารที่รับประทาน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด และช่วยกระตุ้นการหายใจได้อีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,824

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,522

ถั่วพู

ถั่วพู

ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,987

นุ่น

นุ่น

ต้นนุ่น จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ลำต้นสูงใหญ่เปลาตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เมตร ตรงยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเป็นสีเขียวและมีหนามขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณโคนต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในแถบอันดามัน และมีปลูกมากในเขตร้อนทั่วไปเพื่อใช้ปุยจากผลนำมาทำหมอนและที่นอน ชอบขึ้นตามริมลำธาร พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,776

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9-22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,837

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,501

จันทนา

จันทนา

จันทนา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อนๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทนามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,687

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 10,674

ตะขบ

ตะขบ

ต้นตะขบ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ตะขับหรือตะขบฝรั่งนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศพบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่งทั่วไป หรือมักขึ้นเองตามธรรมชาติที่นกและสัตว์ขนาดเล็กถ่ายมูลเมล็ดตะขบทิ้งไว้ สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยวิธีการเพาะเมล็ด ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 23,725