ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 3,587
[16.3951069, 98.9529353, ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้]
ชื่อบ้านนามเมือง "กำแพงเพชร" เรื่องสำคัญที่คนกำแพงเพชรส่วนใหญ่ไม่รู้ ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง
หากพูดถึงชื่อของเมืองกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรและนักท่องเที่ยวทุกคน คงนึกออกแต่ชื่อ ชากังราว กันทั้งสิ้น แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ปรากฎคำว่ากำแพงเพชร มีอยู่สองชื่อด้วยกัน แต่ในวันนี้จะกล่าวถึงชื่อ เมืองพชรบุรีศรีกำแพงเพชร เป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นชื่อที่มีความไพเราะ และมีหลักฐานที่น่าสนใจ แต่ชาวกำแพงเพชร น้อยคนนักที่จะเคยได้ยิน และรู้ถึงที่มา บางท่านอาจจะตกใจด้วยซ้ำว่า กำแพงเพชรมีชื่อเช่นนี้ด้วยหรือ
ชื่อ '' พชรบุรีศรีกำแพงเพชร '' นั้น ต้องกล่าวถึงจารึกวัดตาเถรขึงหนัง หลักที่ ๔๖ ซึ่งค้นพบที่วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม หรือเดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดตาเถรขึงหนัง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
โดยเนื้อหาโดยสังเขปของเรื่องราวที่จารึกของวัดตาเถรขึงหนัง อักษรที่มีในจารึกเป็นอักษณะขอม ภาษาไทย,บาลี ในส่วนภาษาบาลี เป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย และคำไหว้อาจารย์ ส่วนจารึกภาษาไทย ได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดี ราชโอรส ขึ้นเสวยราชย์ในนครศรีสัชนาลัยสุโขทัย ตลอดถึงการอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้าง “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” และสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา ปลูกพระศรีมหาโพธิการ
กำหนดอายุข้อความจารึก บรรทัดที่ ๑๗ ระบุ จ.ศ. ๗๖๖ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๙๔๗
สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดาหรือ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลง เป็นเป็นพระอัครมเหสีในพระยาลิไท ทั้งนี้ที่พระองค์ครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรส อาจเป็นเพราะพระราชโอรสนั้นยังเยาว์พระชันษา พระองค์จึงต้องราชาภิเษกตนขึ้นดูแลบ้านเมือง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจร่วมกับยุวกษัตริย์ และรักษาอำนาจทางการเมืองไว้ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามีศรัทธาในพุทธศาสนา โดยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้างวัด “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม " (หรือ วัดตาเถรขึงหนัง) ณ เมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๗ พระองค์และพระราชโอรส ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร เป็นพระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคันธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชามหาสวามีเจ้า พระสังฆ-ปรินายก เป็นพระสังฆราชเจ้า ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๑๙๔๙ ซึ่งพระสังฆราชพระองค์นี้อาจมีความสัมพันธ์เป็นพี่น้องหรือเครือญาติของพระองค์ และอาจเป็นเครือญาติหรือบิดาของแม่พระพิลกพระราชชนนีในพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาด้วย ดังปรากฏในจารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ ๓ ความว่า
“...เมื่อศักราชได้ ๗๖๘ จอนักษัตร เดือนอ้าย แรม ๑๐ ค่ำ วันอาทิตย์ ตราพระราชโองการเสด็จมหาธรรมราชาธิราชในพระพิหารสีมากระลาอุโบสถอันมีในทะเลฉางนั้นพอประถมยามดังนี้ เราตั้งพระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคันธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชามหาสวามีเจ้าเป็นสังฆปรินายกสิทธิแล ภิกษุสงฆ์ผู้ใดหนอรัญวาสี แลกระทำบโชบธรรมไซร้ บางอำเพิอบรมครูเป็นเจ้าหากสำเร็จเองเท่า อำเพิอบรมครูปรญาปติอันใดไซร้ เรามิอาจจะละเมิดมิได้เลย...”
ย้อนกลับเข้ามาวิเคราะห์ เรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวข้องและมีความสำคัญกับเมืองกำแพงเพชรอย่างไร จากการที่ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาทรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้นิมนต์สมเด็จพระมหาศรีกิรติไปจากเมือง พชรบุรีศรีกำแพงเพชร ซึ่งหมายถึงเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน เพื่อไปสร้างวัด “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม "สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในเมืองกำแพงเพชร รวมถึงองค์ความรู้ฝีมือเชิงช่างในการสร้างวัดที่กำแพงเพชรได้ติดไปกับสมเด็จพระมหาศรีกิรติในการสร้างวัดแห่งนี้ด้วย
ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระเจดีย์ของวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม มีความคล้ายคลึงกับเจดีย์ในเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเจดีย์ศิลปะสกุลช่าง เมืองกำแพงเพชรนี้มีความพิเศษมหัศจรรย์อลังการ ในเรื่องการผสมผสานสถาปัตยกรรมของหลายอาณาจักร (จะเขียนเรื่องนี้ในโอกาสต่อๆไปครับ) และจารึกหลักนี้ยังได้กล่าวถึงชื่อเมืองกำแพงเพชร ในช่วงปีพุทธศักราช ๑๙๔๗ คือชื่อเมือง พชรบุรีศรีกำแพงเพชร นั่นเอง นับเป็นชื่อที่ไพเราะ ควรค่าแก่ความทรงจำชาวเมืองกำแพงเพชร
กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด
จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน
ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น
ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)
พระองค์ท่านเสด็จไปประทับในกําแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ พระอมด้วยพระราชศฤงคารบริพารพล และทหารทั้ง ๔ เหล่า โดยทางน้ํา พระยาพังเกษตรสคาบุรีพระยาพังศรีสัชชนาลัยบุรี พระยาพังไทวยนทีศรียมนา พี่พระยาทานพังนครไทย และ(ชื่ออ่านไม่ได้) ผู้เป็นพระราชมาตุละบพิตรมนตรีอนุชิตลุงตนเลี้ยงท่าน และเป็นเจ้าเมืองไตรตรึงส์ พร้อมด้วยนักปราชญ์ราชกวีมีสกุลพรรณ นั่งลงถวายอัญชุลีพระบาท (บรรทัดที่ ๕-๑๐)
พระองค์เสด็จในพระที่นั่งตรีมุข ภายหลังเสวยสุขจากการทําพระองค์ให้บริสุทธิ์และทรงตั้งพิธีทางไสยศาสตร์แล้วไม่นาน พระองค์เสด็จออกพร้อมด้วยบุรีฝูงพาลและฝูงโลก (ข้าราชบริพารฝ้ายในทั้งอ่อนและแก่) เพื่อจะให้คนในโลกนี้ที่ยังทุกข์กังวล สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหญิงชายและสมณพราหมณ์ (ได้ฟัง?) ได้พูดกันว่า ในอันที่พระองค์ท่านได้เสวยราชย์นั้น ทรงปรารถนาจักขัดเกลา (ทําให้บริสุทธิ์) พระราชสีมานี้ประดุจเดียวกับมนุษยธรรม (กฎหมายที่ปกครองมนุษย์)แบบอย่างพ่อขุนรามราช ที่ฝูงคนแสดงยศปรากฏสุขมาชั่วลูกหลานสูงสุดและมั่นคง เหตุฉะนั้นสมเด็จพระรามราชาธิราชจึงมีพระราชโองการอันยิ่งใหญ่ ให้ตราพระราชบัญญัติ ขึ้นบังคับใช้แก่ลูกขุนมูลตวานบริวารไพร่ฟ้าทั้งหลาย ถ้วนทุกเมืองเล็กเมืองใหญ่ทั้งหลายในพระราชอาณาจักรนี้ไซร้กลางเมืองสุโขทัยอันเป็นประธานกึ่งแห่งเมือง ทั้งหลาย เป็นต้นว่า เชลียง กําแพงเพชร ทุ่งยั้ง ปากยม สองแคว และเมืองอื่น ดังนี้ (บรรทัดที่ ๑๐-๑๗)
ความสําคัญของเอกสาร
ในบรรดาจารึกสุโขทัย จารึกลักษณะลักพา/โจร ถือว่ามีความสําคัญเป็นพิเศษ เพราะโดยปกติแล้ว จารึกโบราณมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพระศาสนา เช่น การสร้างวัด หรือ การกัลปนา เป็นต้น จารึกลักษณะลักพา/โจร เป็นจารึกเพียงหลักเดียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บันทึกตัวบทกฎหมายไว้ เนื้อความในจารึกเป็นบทกําหนดโทษผู้กระทําความผิดในลักษณะลักพาสิ่งของผู้คน หรือ โจรขโมยเข้าของต่างๆ เพราะฉะนั้น จึงมีความสําคัญยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและประวัติศาสตร์สังคมไทยโบราณ
ศรีบรมจักรพรรดิราช หมายถึง สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๓ พระราชสวามีสมเด็จพระอัครราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งมีพระราชประวัติกล่าวไว้ในจารึกวัดอโสการามและจารึกวัดบูรพาราม
และนี่คือเรื่องราวของชื่อเมืองกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ที่ได้ยกย่อมาจากการศึกาาค้นคว้าของนักวิชาการ นักโบราณคดี และแอดมินได้นำเอาเนื้อหา จากการบรรยายประวัติศาสตร์และหลักฐานทางประวัติิศาสตร์ของ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียรบรรยาย ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ (เสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔)
ขอกุศลทั้งหลายจากการที่ได้เผยแพร่แชร์ความรู้เรื่องราวข้อมูลเหล่านี้ จงสำเร็จแก่ผู้แชร์ และขออุทิศให้เทพยาอารักษ์ เสื้อเมือง ทรงเมืองหลักเมือง ดวงพระวิญาณ ดวงวิญาณ บรรพชนทุกดวงเทอญ
เรียบเรียง #กิตติสุวัฒนามังกร #ตะวัน#จดหมายเหตุกำแพงเพชร #ชื่อเมืองกำแพงเพชร #กำแพงเพชร นายธัชชัย สีสุวรรณ
คำสำคัญ : กำแพงเพชร, ประวัติ
ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=307233253168879&id=305461816679356&__tn__=K-R
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้. สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1186&code_db=610001&code_type=01
Google search
เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,513
บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,029
ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,654
เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,055
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,302
สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,898
ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,728
ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราวพศ. ๒๔๒๐ และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา ๔ คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่
เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 5,825
ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,509
ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,419