ลายก๊ากื้อ

ลายก๊ากื้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,663

[16.121008, 99.3294759, ลายก๊ากื้อ]

ลายก๊ากื้อ เป็นภาษาชนเผ่าม้ง ความหมายในภาษาไทยหมายถึง ก้นหอย เป็นลายหลักที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีความชัดเจนที่สุดของชาวม้งในแทบทุกกลุ่ม เป็นลายโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของม้งหลายชั่วอายุคน ลายก๊ากอหร็อกลายก้นหอย พบได้ทั้งในงานปักแบบเจี๋ยหรือเย็บปะ งานปัก แบบคลอสติซ และงานเขียนเทียนของชาวม้งลาย ลายก๊ากื้อหรือลายก้นหอยนั้น อาจมีตามคติความเชื่อของชาวม้งแฝงอยู่ ซึ่งเชื่อว่ามีที่มาจากหอยสังข์ ซึ่งมักถูกนํามาใช้ในการประกอบพิธีกรรมสําคัญๆ ทางศาสนา ลักษณะการวนของก้นหอยเปรียบเสมือนการโคจรของพระอาทิตย์พระจันทร์และดวงดาว เอกลักษณ์ลายก้นหอยนี้จึงเสมือนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบนผืนผ้าปักที่สะทอนชนเผ่าม้ง และยังคงมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สามารถพบลายก๊ากื้อหรือลายก้นหอยนี้บนผืนผ้าของชาวม้งโดยทั่วไป


ภาพโดย :  http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

 

คำสำคัญ : ลายปัก ลายชุดชนเผ่า

ที่มา : http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายก๊ากื้อ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=434&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=434&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายดอกพริก

ลายดอกพริก

มูเซอ เป็นกลมชนเผ่าที่มีต้นกําเนิดในดินแดนทิเบต ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่า ลาหู่ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า คน ส่วนคําว่ามูเซอนั้นเป็นคําในภาษาไทยใหญ่มีความหมายหมายถึง นายพราน หรือ นักล่าสัตว์ ทั้งนี้เพราะในอดีตนั้นผู้ชายชนเผ่ามูเซอส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฝีมือและความชํานาญในด้านการล่าสัตว์ ในประเทศไทยพบชาวมูเซอมากถึง 7 กลุ่ม ได้แก่มูเซอดํา มูเซอแดง มูเซอเหลือง มูเซอขาว มูเซอเฌเล มูเซอ ชีบาเกียว มูเซอลาบา แต่มูเซอกลุ่มใหญ่ๆ ที่มักพบบ่อยได้แก่กลุ่มมูเซอดํา และกลุ่มมูเซอเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,135

ลายอี๊เมียนี้ต่า

ลายอี๊เมียนี้ต่า

อี๊เมียจือนี้ต่า คือภาษาชนเผ่าลีซอ เป็นการเรียกตามเทคนิคของการสร้างสรรค์ลวดลาย ที่นําชิ้นผ้าสสีันสดใส มาตัดออกเป็นริ้วยาว ลักษณะเป็นการต่ออแถบผ้าสีเป็นชิ้นๆต่อเนื่องกันไป ใช้เป็นชื่อเรียกเอกลักษณ์ของผ้าใน ลักษณะเช่นนี้มาแต่โบราณครั้งบรรพบุรุษของชาวลีซอ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลายอี๊ เมียจือนี้ต่ามักนิยมนี้มาใช้ประดับบริเวณคอเสื้อมากที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,036

ลายก๊ากื้อ

ลายก๊ากื้อ

หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิงชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้า ของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิค การปักแบบนี้ว่า เจี๋ย ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการ ตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความ ละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้น หอย ผู้ปักตองใช ้ ้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จ ประณีตและออกมาสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,663

ลายเรียบ สายย้อย

ลายเรียบ สายย้อย

ผู้หญิงที่เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยงส่วนใหญ่จะมีทักษะ ฝีมือในการทอผ้า และปักเม็ดมะเดือย เพราะว่ามีการสืบทอดมาสู่คนรุ่นหลัง โดยมีการรวมกลุ่มทำอาชีพเสริมทอผ้า ปักผ้า ฝีมือ แรงงานในการผลิตเป็นคนในชุมชน นอกจากนั้นยังได้มีการถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการทอผ้า ปักผ้าด้วยมะเดือย ตลอดจนวิธีการปลูกมะเดือยจากคนรุ่นเก่าไปยังเด็กๆในโรงเรียน เยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 881

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,827

ลายปะดังดอง (แมงมุม)

ลายอ่องกึ้ยหรือลายจก คือ ลวดลายที่เกิดจากการสอดด้ายสลับสีเข้าไปบางส่วนของเนื้อผ้า ตามลวดลายและสีในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งลายจกของชาวกะเหรี่ยงที่พบมีทั้งลายดั้งเดิม และลายที่ดัดแปลง ขึ้นมาใหม่ มีดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 781

ลายตัวตั้งตะ

ลายตัวตั้งตะ

ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 792

เผ่าถิ่น

เผ่าถิ่น

ถิ่นจัดอยู่ในสาขามอญ-เขมร ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค มี 2 กลุ่มย่อยคือ ถิ่น คมาลหรือมาล และถิ่นคลำไปร๊ต์หรือไปร๊ต์ ถิ่นทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีความแตกต่างกันในภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนการตั้งถิ่นฐานและการแต่งกายเหมือนๆ กัน ถิ่นอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 60-80 ปีมานี้ โดยอพยพมาจากแขวงไชยบุรี ประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน ถิ่นในประเทศไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ และเลย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,523

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ดั้งเดิมอย่างหนึ่งของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงทอผ้าใช้ในครอบครัวมาเป็นเวลานาน กรรมวิธีการทอผ้าของกะเหรี่ยงคล้ายกับการทอผ้าของชาวเปรูในสมัยโบราณ และคล้ายกับการทอผ้าของชนเผ่าหนึ่งในแถบประเทศกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก การทอผ้าของกะเหรี่ยงจะใช้กี่ทอผ้าที่เป็นแบบ back strap (กี่เอว)

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,477

เสื้อลวดลายสลับสี

เสื้อลวดลายสลับสี

เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 717