กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 5,719

[16.2844429, 98.9325649, กะเหรี่ยง (KAREN)]

        นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2526 พบว่ามีอยู่ราว 246,000 คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นพวกโปวเสียร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นพวกสะกอทั้งสองพวกตั้งอยู่หมู่บ้านกระจายกันอยู่ในภาคเหนือตั้งแต่เชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน และเรื่อยลงมาตามชายแดนตะวันตก รวม 15 จังหวัดลงไปจนถึงคอคอดกระ พวกโปวมักอยู่ทางใต้ของเชียงใหม่พบมากที่สุด ตากและกาญจนบุรี

        ประวัติการแบ่งเผ่า
        ชาวเขาในประเทศ ไทยแบ่งออกเป็นเผ่าใหญ่ๆ คือ กะเหรี่ยง แม้ว มูเซอ เย้า ลีซอ แลอีก้อ เผ่ากะเหรี่ยงเป็นชาวเขากลุ่มใหญ่ที่สุดกระจายตัวอยู่แทบทุกจังหวัดที่มีชาวเขามีประชากรมากที่สุด มากกว่าครึ่ง หนึ่งของชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย จากข้อมูลการ สำรวจประชากรชาวเขาของศูนย์พัฒนาชาวเขาประจำจังหวัดต่างๆ พบว่า มีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ทั้งในภาคเหนือตอนบนลงไปกระทั่งถึงภาคกลางรวมทั้งสิ้น 15 จังหวัด เรียงจากมากไปหาน้อยคือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน กาญจนบุรี แพร่ ราชบุรี เชียงราย ลำปาง เพชรบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร ประจวบคีรีขันธ์ และสุโขทัย สิ่งจำเป็นที่สุดในการเริ่มต้นทำงานกับชาวกะเหรี่ยงก็คือ นักพัฒนาจะต้องเข้าใจซึ้งว่า "ชาวกะเหรี่ยงก็คือคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนเท่าเทียมกับผู้คนทุกเผ่าพันธ์" ชาวกะเหรี่ยง ทุกเผ่ามีนิสัยใจคออ่อนน้อม อ่อนโยน เป็นคนที่ชอบความสุภาพ นุ่มนวลการ แสดงออกใดๆ ก็ตามที่ไม่พอใจ ไม่ถูกใจจะต้องเก็บไว้ในใจในลักษณะ "น้ำขุ่นอยู่ข้างใน น้ำใสอยู่ข้างนอก"

        การแบ่งเผ่า
        ในระหว่างชาวกะเหรี่ยงด้วยกันได้แบ่งพวกตนออกเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ สะกอ โป และบเว(คะยา) ส่วนตองสู กะเหรี่ยงสะกอ มีประชากรมากที่สุดโดยจะพบเห็นทั่วๆไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือตอนบน รองลงไปคือ กะเหรี่ยงโป ส่วนกะเหรี่ยง บเว นั้นมีอยู่ไม่กีหมู่บ้านที่อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน ว่ากันว่าการที่จะรู้ว่าเป็นกะเหรี่ยงเผ่าไหน สามารถจำแนกได้ง่ายๆ โดยฟังประโยคที่ทักทายตามวัฒนธรรมว่า "ไปไหนมา" กะเหรี่ยงสะกอ ใช้คำว่า "แล - ซู - ล่อ" หรือ "แล - เหลาะในบางพื้นที่กะเหรี่ยงโป ใช้คำว่า "ลี - คอ -แล่ " นั่นคือคำว่า "ไป"ในภาษาไทย หากเป็นภาษากะเหรี่ยงสะกอใช้คำว่า "แล" และหากเป็นกะเหรี่ยงโปจะใช้คำว่า "ลี " หรือหากแยกประเภทกันตามประสาชาวบ้านในพื้นที่ที่มีชาวเขาจะแยกกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป ไปอีกแบบหนึ่งเช่นมักจะเรียกกะเหรี่ยงสะกอว่า "ยางกะเลอ" และเรียกกะเหรี่ยงโปว่า"ยางเด้าะแด้ะ แต่ในแถบถิ่นอื่นๆ อาจเรียกไปอีกแบบหนึ่ง

        ประเพณี
        ด้วยความเชื่อต่อผีและวิญญาณ ชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีกรรมเลี้ยงผี หมายถึงการต้มเหล้า ฆ่าไก่ - แกง เอาส่วนหนึ่งของเหล้าและแกงไก่มาทำพิธีกรรม และมัดมือทุกคน ผู้ร่วมพิธีนั้นด้วยฝ้ายดิบ ประเพณีที่สำคัญที่สุดคือ
        1. ประเพณีปีใหม่ ซึ่งมีขึ้นใน ราวเดือนกุมภาพันธ์โดยหัวหน้าหมู่บ้านตามประเพณีจะระบุวันให้ทราบล่วงหน้า แต่ละปีไม่ตรงกันและแต่ละหมู่บ้านก็อาจมีวันปีใหม่ไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตรนั่นเอง หลังจากพิธีปีใหม่ผ่านพ้นคือการเริ่มต้น ฟัน - ไร่ข้าวบนภูเขา พิธีปีใหม่ทุกหลังคาเรือนจะหมักเหล้าต้มเหล้าจากข้าวสุก ฆ่าไก่หรือหมู แกงเป็นอาหารและเตรียมฝ้ายดิบไว้ผูกข้อมือทุกคน หัวหน้าหมู่ บ้านตามประเพณีจะเริ่มทำพิธีในบ้านของตนเป็นหลังแรกแล้วจึงจะไปทำพิธีในทุก หลังในหมู่บ้าน ซึ่งกว่าจะครบครันอาจกินเวลาถึง 3 วัน 3 คืน พิธีคือการริน เหล้าและนำเนื้อไก่มาบวงสรวงต่อผีและวิญญาณ จากนั้นมีการ ดื่มเหล้าตามประเพณีแล้วจึงมีการมัดข้อมือด้วยฝ้ายดิบพร้อมกับคาถาอวยพรให้ อยู่เย็นเป็นสุข
        2. ประเพณีแต่งงาน คือความหวังที่รอคอยของหนุ่มสาว เจ้าบ่าวอาจมาจากหมู่บ้านอื่นมาแต่งงานและอยู่กับเจ้าสาวในบ้านและในหมู่บ้านของฝ่ายหญิง (เจ้าสาว) มาแต่ตัว สวมเสื้อผ้าเก่าๆ เป็นหน้าที่ของเจ้าสาวที่จะต้องทอเสื้อแดงและจัดหากางเกงพร้อมทั้งผ้าโพกหัวกับย่ามไว้ให้เจ้าบ่าวของเธอ ทั้งเจ้าบ่าว เจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก หากมีฐานะดีก็อาจฆ่าวัวสักตัวหนึ่งหรือหลายตัวก็ได้ ค่ำคืนในวันแต่งงานจึงมีแต่เสียงเพลงอวยพรจากวงเหล้าและวงอาหารแต่ไม่มีการเมาเกินเหตุ เหล้าและอาหาร มิใช่มีเพียงบ้านเจ้าสาวเท่านั้นแต่มีที่บ้านญาติพี่น้องจองเจ้าสาวทุกหลัง บางทีมีทั้งหมู่บ้าน เป็นประเพณีที่สนุกประทับใจและเป็นไปตามจารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

        การแต่งกาย
        เพราะถือสาในเรื่องชู้สาว การไปไหนต่อไหนเป็นข้อห้ามและการถูกเนื้อต้องตัวกันเป็นความผิด จึงมีการแต่งกายของผู้หญิงกะเหรี่ยงที่แยกแยะชัดเจนคือ สาวโสดจะสวมชุดทรงกระสอบสีขาว ยาวเกือบกรอมเท้า ทอเองด้วยมือโดยเครื่องทอแบบง่ายๆ ตามประเพณี หญิงแต่งงานแล้วสวมเสื้อครึ่ง ตัวแค่เอวสีดำ ประดับประดาด้วยลูกเดือยหรือฝ้ายสีและ สวมผ้าซิ่นยาวกรอมเท้าสีแดง ผู้ชายสวมเสื้อสีแดงและสวมกางเกงแบบคนไทยภาคเหนือซึ่งเรียกว่า "เตี่ยวสะดอ"

คำสำคัญ : กะเหรี่ยง

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กะเหรี่ยง (KAREN). สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1443&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1443&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

การแต่งงานของชาวเขา

การแต่งงานของชาวเขา

เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” 

 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,716

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,572

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเรียกขวัญ เมื่อประชาชนอาข่าไปในป่าหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วไปสะดุ้งกลัวและเกิดความไม่สบายขึ้นมา เช่น ตัวร้อน ปวดหัว ฯลฯ เมื่อผู้ประสบเหตุกลับมาถึงบ้านก็บอกสมาชิกในครัวครอบให้ประกอบพิธีกรรมนี้ การคัดเลือกฤกษ์ยามในการทำพิธี ต้องไม่ตรงกับวันเกิดและวันตายของสมาชิกในครอบครัว จึงนับว่าเป็นวันดี แต่ถ้าเป็นวันเกิดของผู้ที่ประสบเหตุสะดุ้งนั้นได้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,770

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,155

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,420

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 5,738

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 804

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 7,147

ปีใหม่ลูกข่าง

ปีใหม่ลูกข่าง

เป็นประเพณีเปลี่ยนฤดูกาลทำมาเลี้ยงชีพ จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ตรงกับเดือนอาข่า คือ “ท้องลาบาลา” คนทั่วไปนิยมเรียกประเพณีนี้ว่า ปีใหม่ลูกข่าง ประเพณีนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลทำมาหากิน ซึ่งภายหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์จากท้องไร่นา เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ฤดูแห่งการพักผ่อน ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย โดยผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมีการทำลูกข่าง “ฉ่อง” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,526

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 31,851