สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้ชม 1,032

[16.8784698, 98.8779052, สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ]

      บ้านตากหรือเมืองตาก ปรากฏชื่อในหนังสือราชอาณาจักรสยาม ของ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมายังราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ อยุธยา เมื่อปี 2230 หรือก่อนอยุธยาล่ม 80 ปี ได้กล่าวถึงเมืองที่ตั้งอยู่ตาม “แม่น้ำ” หรือแม่น้ำปิง จากเหนือสุดของอยุธยาลงมา เมืองแรกคือ แม่ตาก (Me-Tac) ถัดมาคือเมืองเทียนทอง (Tien-Tong หรือเชียงทอง) ถัดลงมาเป็นกำแพงเพชรและนครสวรรค์ และเมืองที่ตั้งอยู่อีก “แม่น้ำ” หรือแม่น้ำน่าน เมืองเหนือสุดของอยุธยาบนสายน้ำนี้คือ เมืองฝาง ลงมาเป็นเมืองพิชัย เมืองพิษณุโลก เมืองพิจิตร แล้วมาพบกับแม่น้ำทางตะวันตกที่นครสวรรค์ เมืองต่างๆ ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ปรากฏอยู่ในแผนที่อยุธยาที่ประกอบอยู่ในหนังสือด้วย และได้อธิบายถึงเมืองแม่ตากและเมืองที่อยู่ต่อเนื่อง ดังนี้
      “เมือง แม่ตาก นั้นกล่าวกันว่า เป็นเมืองที่มีเจ้าสืบวงศ์ครอบครอง ขึ้นต่อพระเจ้ากรุงสยาม เรียกชื่อเจ้าผู้ครองว่า พญาตาก อันหมายความว่าเจ้าแห่ง(เมือง) ตาก เมืองเทียนทอง นั้นร้างไปแล้วคงจะเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพะโค เมืองกำแพง นั้นเป็นที่รู้กันว่ามีเหมืองเหล็กกล้าอันเป็นเหล็กเนื้อดีวิเศษ…
      เมืองพิษณุโลก…เมื่อก่อนนี้ก็มีเจ้าผู้ครองสืบวงศ์เหมือนกัน เช่นเดียวกับเมืองแม่ตาก…” ข้อมูลที่ลาลูแบร์ได้ย่อมมาจากการบอกเล่าของชนชั้นนำในอยุธยา ดังนั้นในความรับรู้เกี่ยวกับเมืองในอาณาจักรอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้นเห็นได้ว่า เมืองแม่ตาก มีความสำคัญมากพอที่อยู่ในความคิดความจำ ทั้งในด้านภูมิหลังประวัติที่เคยมี “เจ้า” ปกครอง ที่เทียบเคียงได้กับสถานะของเมืองพิษณุโลก และในด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นเมืองปลายเขตแดนเหนือสุดของอยุธยาต่อกับแดนของเชียงใหม่ ซึ่งในสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นจริง บ้านตาก-เมืองตาก หรือแม่ตากนั้นคือที่ราบริมแม่น้ำปิง
       ถัดจากนี้ขึ้นไปจะมีขุนเขาสูงใหญ่เป็นปราการกั้นเขตแดนกับลำปางและเชียงใหม่ และเหนือบ้านตาก-เมืองตากไม่ไกลนัก เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำวังกับแม่น้ำปิง (บ้านปากวัง อำเภอบ้านตาก)ส่วนเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่งที่อยู่ถัดจากบ้านตาก-เมืองตาก หรือแม่ตากลงมา คือเมืองเทียนทอง/เชียงทอง ที่ “ร้างไปแล้ว คงจะเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพะโค” ซึ่งก่อนหน้าสมัยสมเด็จพระนารายณ์สงครามครั้งสำคัญคือสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก พ.ศ. 2112 ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ถึง 1 ศตวรรษ และเมืองนี้ยังไม่ฟื้นคืนมา เมืองเทียนทองถูกระบุจุดที่ตั้งในแผนที่ของลาลูแบร์ ว่าตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง จากเมืองนี้มีสายน้ำที่เชื่อมไปยังแม่น้ำน่านใต้เมืองพิษณุโลก มีเมืองใหญ่ระหว่างทางคือเมืองสวรรคโลก
       โดยสรุปจากข้อมูลในหนังสือของลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมืองที่อยู่เหนือเมืองกำแพงเพชรตามแม่น้ำปิงขึ้นไป มีเมืองใหญ่เมืองเดียว คือ เมืองแม่ตาก หรือต่อมาคือ บ้านตาก-เมืองตาก ที่เหลืออาจเป็นชุมชนบ้านเล็กบ้านน้อยตามรายทาง
       แต่เมื่อถึงสมัยปลายอยุธยา ตามเอกสารมหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า เมื่อกองทัพพม่ายกทัพลงมาจากลำปางใน พ.ศ. 2308 เมืองที่สำคัญบนแม่นำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรขึ้นมามี 2 เมือง ได้แก่ เมืองบ้านตาก-เมืองตาก หรือแม่ตาก และเมืองบ้านระแหง ดังนั้นน่าจะกล่าวอย่างกว้างๆ ได้ว่า หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์มา หรือในช่วง 8 ทศวรรษก่อนสิ้นอยุธยา พ.ศ. 2310 นั้น เมืองบ้านระแหงซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ใต้เมืองตากลงมา 30 กิโลเมตร ได้เกิดและเติบโตจนเป็นเมืองสำคัญขึ้นมา ที่ตั้งนั้นเป็นยุทธศาสตร์เมืองหน้าด่านในการติดต่อกับพื้นที่พม่าด้านตะวันตกทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก-บ้านตาก ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงเป็นเมืองปลายแดนกรุงธนบุรีต่อกับแดนลำปาง-เชียงใหม่ ทว่าเมื่อพิจารณาข้อมูลหลักฐานแล้วเมืองบ้านระแหงดูจะมีความสำคัญและมีขนาดที่ใหญ่กว่าเมืองตาก-บ้านตาก
       ในสมัยกรุงธนบุรีนี้ เมืองขึ้นต่อเมืองกำแพงเพชรที่อยู่เหนือขึ้นมาตามแม่น้ำปิง มีเมือง 3 เมือง จากเหนือลงใต้ ได้แก่ เมืองตาก-บ้านตาก เมืองบ้านระแหงและเมืองเชียงทอง แต่เมืองบ้านระแหงมีความสำคัญที่สุด ดังในสำเนาท้องตราเรียกระดมทัพจากเมืองต่างๆ ปี พ.ศ. 2317 เพื่อไปปราบเมืองเชียงใหม่นั้นได้ระบุว่า ให้กองทัพเมืองต่างๆ ที่ถูกเรียกระดมมานั้น “ไปเข้ากองทัพรับเสด็จฯ ณ เมืองตากบ้านระแหงเป็นการเร็ว” หรือ “ให้พร้อมกัน ณ บ้านระแหงเมืองตาก” การระบุที่ชุมนุมเตรียมทัพว่า “เมืองตากบ้านระแหง” หรือ “บ้านระแหงเมืองตาก” คือยกสถานะชื่อเมืองตากซึ่งเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยเป็นเจ้าเมือง ให้ดูมีสถานภาพที่สูงขึ้น แต่ความสำคัญที่แท้จริงอยู่ที่บ้านระแหง ในสำเนาบัญชีช้างหลวงของกรุงธนบุรี ปี พ.ศ. 2319 และ 2320 นั้น ระบุกลุ่มเมือง 3 เมืองที่อยู่เหนือเมืองกำแพงเพชรขึ้นมา ว่าคือ “เมืองระแหง” โดยมีเจ้าเมือง 3 เมือง ได้แก่ พระยาเชียงทอง พระยาตาก และพระยาสุทัศ ซึ่งชื่อพระยาเจ้าเมืองเชียงทองและตากนั้น ทราบแน่ชัดว่าคือเมืองเชียงทองอยู่ใต้บ้านระแหง และเมืองตากที่อยู่เหนือบ้านระแหงดังนั้นตำแหน่งเจ้าเมืองบ้านระแหงคือพระยาสุทัศและเมื่อพิจารณาการเดินทัพกลับจากเชียงใหม่ของพระเจ้าตาก เมื่อ พ.ศ. 2317 พระเจ้าตากประทับที่เมืองตากไม่ทันข้ามคืน ก็เสด็จมายังบ้านระแหง และประทับที่พระตำหนักสวนมะม่วงบ้านระแหงถึง 6 คืนด้วยกัน ทั้งใน 6 วันคืนนี้ก็มีพระราชกรณียกิจในการบริหารบ้านเมืองด้านต่างๆ ด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองบ้านระแหงในยุคกรุงธนบุรีว่ามีมากกว่าเมืองตาก-บ้านตาก
       หนังสือราชอาณาจักรและราษฎรสยาม ของเซอร์จอห์น เบาว์ริง เจ้าเมืองฮ่องกง ที่ได้เป็นทูตอังกฤษเดินทางมาทำสนธิสัญญากับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2398 เมื่อกลับไปแล้วได้เขียนหนังสือและพิมพ์เล่มนี้ที่อังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2400 ในบทที่ 1 ภูมิศาสตร์ ระบุว่าราชอาณาจักรสยามมีหัวเมืองต่างๆ 41 เมือง โดยภาคเหนือมี 5 เมือง ได้แก่ สังคโลกหรือสวรรคโลก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิชัย และระแหง ทั้งนี้ในแผนที่สยามท้ายหนังสือนี้ได้ระบุไว้ว่า บ้านตาก (B. Tak) นั้นเป็นเมืองขนาดเล็ก หรือหมู่บ้าน ส่วนระแหง (Rahang) นั้นเป็นเมืองสำคัญหรือเมืองศูนย์กลางของจังหวัด ในเอกสารพงศาวดารที่แต่งในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มักเรียกรวมๆ ว่า “บ้านระแหงแขวงเมืองตาก” ซึ่งก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าเมืองตากมียศถาบรรดาศักดิ์ว่า “พระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงครามรามราชราไชย อภัยภักดีพิรียพาหะ” รัชกาลที่ 4 ทรงแปลงนามให้เป็น “พระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงครามรามราชราไชย อภัยพิรียพาหะ” โดยตัดคำว่าภักดีออกไป (รัชกาลที่ 4 ทรงแปลงนามของเจ้าเมืองกรมการเมืองในหลายเมือง รวมทั้งนามของขุนนางส่วนกลางอีกจำนวนมากด้วย)
       กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการจัดระเบียบกลุ่มเมืองตากบ้านระแหงใหม่ จากเดิมมี 3 พระยาเป็นเจ้าเมืองตาก ระแหง และเชียงทอง ได้ถูกรวบมาเหลือเจ้าเมืองเพียงคนเดียวคือเจ้าเมืองตาก ที่ไม่มีชื่อพระยาตากเป็นเจ้าเมืองอีกต่อไป เป็นการสิ้นสุดตำแหน่งพระยาตากผู้เป็นเจ้าเมืองแม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก
       ส่วนเมืองตากในยุครัตนโกสินทร์นี้มีเจ้าเมืองชื่อพระยาวิชิตชลธีฯ มีปลัดเมือง 2 คน ได้แก่ “พระศักดาเรืองฤทธิปลัดไทย” และ “พระวิชิตรักษาปลัดลาว” มียกกระบัตรนาม “พระทิพรักษายกกระบัตร
       แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้
       ส่วนบ้านตากที่เป็นเมืองตากของพระเจ้าตากก็ถูกลืมเลือนไปด้วยความรับรู้ต่อ “ข้อมูลชุดใหม่” ที่มาจากประวัติเมืองตากฉบับราชการมหาดไทยที่มีฐานโครงสร้างและเนื้อเรื่องมาจากบันทึกการเดินทางล่องแม่น้ำปิงของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ. 2464 นั่นเอง

คำสำคัญ : ตาก, เมืองตาก, บ้านตาก, แม่ตาก

ที่มา : https://www.silpa-mag.com/history/article_25430?fbclid=IwAR0yYNk44_Vu2dptEgUZrZTcRzoWo3PiayzCsPywCxSvdFHQH_tAs8jAreM

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2077&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2077&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 766

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,024

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 571

ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,915

ฤ

ฤ " ระแหง " จะเพียงนามย่านตัวเมือง

หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 724

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 367

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,069

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 806

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 522

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,032