วันหัวใจโลก(world heart day) ตรงกับวันที่ 29 กันยายน ของทุกปี จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลก โรคหัวใจโดยทั่วไปจำแนกเป็น3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
- กลุ่มที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
- กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน
- กลุ่มที่มีการนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เช่น โรคหัวใจเต้นพลิ้ว เป็นต้น
อาการของโรคหัวใจมีอะไรบ้าง?
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการสำคัญของโรคหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามอาจเกิดจากโรคอื่นได้ด้วย ลักษณะอาการเจ็บหน้าอกที่ชวนสงสัยว่าอาจเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ เจ็บแน่นคล้ายถูกของหนักทับ มักเป็นบริเวณกลางอก ไม่สามารถระบุจุดที่ปวดมากที่สุดชัดเจนได้ อาจมีร้าวไปที่ไหล่ สะบัก ขากรรไกร แขนซ้ายด้านใน หรือแขนทั้งสองข้างได้ อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นมากขึ้นตอนออกแรงหรือมีกิจกรรม และอาการจะทุเลาเมื่อหยุดพัก นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บหน้าอกจากสาเหตุอื่นๆ เช่น หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด จะมีความแตกต่างกันคือมีอาการเจ็บหน้าอกแบบแปล๊บแหลม เสียดแทงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ร้าวทะลุกลางหลัง อาจมีอาการเหนื่อยผิดปกติ และหน้ามืดร่วมด้วย หรืออาการเจ็บจากภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาจเจ็บบริเวณกลางอกค่อนไปทางด้านซ้าย เจ็บจี๊ด ๆ แหลม ๆ เป็นมากขึ้นเวลาที่หายใจเข้าหรือไอ
อาการเหนื่อย ผู้ป่วยจะหายใจเร็วและตื้น ทำกิจกรรมได้อย่างจำกัด อาจมีอาการเป็นมากขึ้นตอนนอนราบ ทำให้นอนราบไม่ได้เมื่อนั่งหรือหนุนหมอนสูงแล้วจะดีขึ้น อาจมีอาการขาบวมร่วมด้วย
อาการเขียว เกิดจากออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงลดลง อาจมีภาวะเขียวให้เห็นได้ทั้งที่ริมฝีปาก ใบหน้า หรือ ปลายมือปลายเท้า
อาการใจสั่น อาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหัวใจของตนเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ อาจเป็นชั่วคราวและหายเองหรือเป็นตลอดเวลา อาจมีอาการหน้ามืด วูบ ร่วมด้วย
อาการวูบ หน้ามืด หรือหมดสติ อาจกินเวลาเพียงเสี้ยววินาที หรือเป็นนาทีได้ มีภาวะชักเกร็งได้หลังจากฟื้นรู้ตัว ผู้ป่วยมักจะกลับเป็นปกติ ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรงใด ๆ
รู้หรือไม่...โรคหัวใจนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้สูงอายุ หรือเพศใดเพศหนึ่ง แต่สามารถเกิดได้กับทุกคน และโรคหัวใจบางโรคสามารถป้องกันได้!!
วิธีการป้องกันโรคหัวใจและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลีกเลี่ยงกิจวัตรที่ต้องนั่งเฉย ๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งหน้าทีวีเป็นระยะเวลานาน ควรออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว วิ่ง หรือแอโรบิก อย่างน้อย30นาทีต่อครั้ง 5 วันต่อสัปดาห์ หรือ 150นาทีต่อสัปดาห์
ควบคุมน้ำหนัก โดยวัดรอบเอวอย่างสม่ำเสมอ ( ในคนเอเชียผู้ชาย ไม่เกิน90ซ.ม.ผู้หญิงไม่เกิน80ซ.ม.) และคิดคำนวณBMI ( นน.เป็นกิโลกรัมหารส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ) รักษาค่าBMIให้อยู่ในระดับปกติเสมอคือ 18.5-24.9
กำจัดมารหัวใจ ( ความเสี่ยงโรคหัวใจ ) ด้วยการงดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ รักษาโรคร่วมที่ส่งผลเสียให้กับหัวใจ ได้แก่ โรคเบาหวาน ( การรักษาในปัจจุบันมียาลดระดับน้ำตาลในเลือดที่ช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ดีอีกด้วย ), ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง จำเป็นต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปกติ
เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อหัวใจ ได้แก่ อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน ( Mediterranean diet ) คือเน้นพวกธัญพืช ถั่ว ผัก ผลไม้ ปลา ลดการบริโภคเนื้อแดง เลือกทานแต่ไขมันดี และจัดการกับความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ดังนั้นจึงควรถือโอกาสเนื่องในวันหัวใจโลก เริ่มปฏิบัติการป้องกันโรคหัวใจ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ลดปัจจัยเสี่ยง และคอยสังเกตความผิดปกติอาการต่าง ๆ ของโรคหัวใจ เพื่อดูแลหัวใจของเรา คนในครอบครัว คนที่เรารัก
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th