ลำดับ 1. วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เผยแพร่เมื่อ 31 มีนาคม 2564 ผู้ชม 12
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาเรียม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ครั้งดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กับเจ้าจอมมารดาเรียม (ธิดาพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน)
ลำดับ 2. วันที่ระลึกกองทัพอากาศ
เผยแพร่เมื่อ 27 มีนาคม 2564 ผู้ชม 17
เริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คน และเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน เป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ บุพการีทั้ง 3 ท่าน จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมต่อการบิน และได้เลือกเอาตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบิน ไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่า กิจการการบินของไทย ได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
ลำดับ 3. วันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day)
เผยแพร่เมื่อ 23 มีนาคม 2564 ผู้ชม 14
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก WMO - WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION โดยที่อุตุนิยมวิทยาเป็นงานระหว่างประเทศ เนื่องจากกระแสอากาศเคลื่อนที่ได้ระยะทา้งเป็นพันๆกิโลเมตร ดังนั้นการตรวจเฝ้าติดตามลมฟ้าอากาศต้องกระทำเป็นบริเวณกว้างในเวลาเดียวกัน กล่าวคือต้องทำการตรวจพร้อมกันทุกแห่งทั่วโลกเพื่อที่จะวิเคราะห์อากาศได้อย่างถูกต้องการรวบรวมและกระจายผลการตรวจอากาศจำนวนมากมายเช่นนี้จะต้องมีการรับผิดชอบและจัดการร่วมกัน มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาทำการตรวจวัดหน่วยที่ใช้รหัสอุตุนิยมวิทยาวิธีการต่างๆเกี่ยวกับการรับและกระจายข่าวอากาศ ตลอดจนค้นคว้าเทคนิคแผนใหม่ๆร่วมกัน ด้วยสาเหตุนี้ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการจัดตั้งองค์การอุตุระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL METEOROLOGICAL ORGANIZATION) เพื่อประสานงานอุตุนิยมวิทยาแต่ละประเทศ ต่อมา พ.ศ.2490 ได้มีการประชุมหัวหน้าหน่วยบริการอุตุนิยมวิทยาประเทศต่างๆ ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศต่างๆเหล่านี้ได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกขึ้นและได้มีอนุสัญญาว่าด้วยอุตุนิยมวิทยาโลกเป็นหลักดำเนินการ อนุสัญญานี้ใช้บังคับตั้งแต่ 23 มีนาคม พ.ศ.2491 ประเทศไทยได้ร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญา 23 มีนาคม 2493
ลำดับ 4. วันนอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day)
เผยแพร่เมื่อ 22 มีนาคม 2564 ผู้ชม 8
วันนอนุรักษ์น้ำโลก มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลในวันที่ 22 มีนาคมปี 1992 ที่มีเนื้อหาสำคัญโดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมที่จะเป็นแผนแม่บทให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เฝ้าระวังทรัพยาการน้ำในประเทศนั้น ๆ และในวันนั้นเองสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกประกาศให้่วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก
ลำดับ 5. วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ
เผยแพร่เมื่อ 20 มีนาคม 2564 ผู้ชม 10
วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2536 ให้ทุกวันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันอสม.แห่งชาติ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจและส่งเสริมให้อสม.ได้รวมพลังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประขาชนชาวไทย และได้ดำเนินการจัดงานดังกล่าวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา
ลำดับ 6. วันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day)
เผยแพร่เมื่อ 15 มีนาคม 2564 ผู้ชม 7
วันสิทธิผู้บริโภคสากล หรือ World Consumer Rights Day ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเคารพและปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทุกคนอย่างทั่วถึงทั้งโลก
ลำดับ 7. วันช้างไทย
เผยแพร่เมื่อ 13 มีนาคม 2564 ผู้ชม 2
วันช้างไทย ริเริ่มจากคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น
ลำดับ 8. วันสตรีสากล (International Women's Day)
เผยแพร่เมื่อ 8 มีนาคม 2564 ผู้ชม 75
วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันที่กรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้าง ที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน เริ่มต้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) และมีการชุมนุมประท้วงอีกในวันเดียวกันในปี ค.ศ. 1907 และ ค.ศ. 1908 ต่อมาในวันเดียวกันในปี ค.ศ. 1910 ตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 และประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันสตรีสากล"
ลำดับ 9. วันนักข่าว
เผยแพร่เมื่อ 5 มีนาคม 2564 ผู้ชม 3
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2498 โดยนักข่าวรุ่นบุกเบิก จำนวน 15 ท่าน คือโชติ มณีน้อย, เท่ห์ จงคดีกิจ, ประจวบ อัมพะเสวต, วิเชียร โรจนวงศานนท์, ถาวร มุ่งการดี, สนิท เอกชัย, เชาว์ รูปเทวินทร์, จรัญ โยบรรยงค์, กุศล ประสาร, ชลอ อาภาสัตย์, อนงค์ เมษประสาท, วิสัย สุวรรณผาติ, นพพร ตุงคะรักษ์, วิภา สุขกิจ และเลิศ อัศเวศน์ นัดหมายกันที่ศาลานเรศวร ในสวนลุมพินี โดยมีชาญ สินศุข จากสยามนิกร เป็นประธานการประชุม
ลำดับ 10. วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก (World Wildlife Day)
เผยแพร่เมื่อ 3 มีนาคม 2564 ผู้ชม 64
3 มีนาคม วันอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก หรือ วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สัตว์ป่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่โบราณกาลและมีวิวัฒนาการมายาวนาน แต่ในปัจจุบันเมื่อมนุษย์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น สัตว์ป่าหลายชนิดถูกล่าจนสูญพันธุ์ลงไปเรื่อย ๆ และเพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ป่าและให้คนหันมาอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้นจึงมีการกำหนดวันอนุรักษ์สัตว์ป่าโลกขึ้น