ผลการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดสนับสนุนการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน
ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ได้ผลในระดับเดียวกันกับหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
ข้อมูลจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการล่าสุด1 บ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มระดับแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 (B.1.1.529) สายพันธุ์โอไมครอน
การฉีด วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 1 โดยพบว่าระดับแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้น มีระดับสูงกว่าที่พบในผู้ที่เคยติดเชื้อและหายป่วยได้เองจากโรคโควิด-19 (สายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา เบต้า และเดลต้า)1 โดยเซรั่มที่นำมาทดสอบนั้นมาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามมาแล้วหนึ่งเดือน พบว่า ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ได้ผลในระดับเดียวกันกับหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า1 (ซึ่งการศึกษาจากการใช้จริงในหลายการศึกษาบ่งชี้ว่าการได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าสองโดสสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้2,3)
การศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดของผู้ติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดสและได้รับเข็มกระตุ้นแล้ว และผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ที่น่ากังวลอื่นๆ การศึกษานี้ใช้ตัวอย่างเลือดของผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ครบสามเข็มเป็นจำนวน 41 คน 1
การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาอิสระโดยผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งมีการเผยแพร่บนระบบจัดเก็บเอกสารวิชาการก่อนการตีพิมพ์ออนไลน์ bioRxiv
ศาสตราจารย์ เซอร์ จอห์น เบลล์ ราชศาสตราจารย์ (Regius Professor) ด้านการแพทย์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วิจัย กล่าวว่า “การค้นพบว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้ในปัจจุบันสามารถใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่ง ผลการศึกษานี้สามารถช่วยสนับสนุนแนวทางของประเทศต่างๆ ในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่ประชาชน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวลต่างๆ รวมถึงสายพันธุ์โอไมครอน”
เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีบทบาทสำคัญต่อโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทั่วโลก ข้อมูลจากการศึกษาล่าสุดนี้นำมาซึ่งความเชื่อมั่นต่อการใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญคือการพิจารณาถึงแง่มุมอื่น ๆ นอกจากแค่เพียงระดับแอนติบอดี เพื่อที่จะทำความเข้าใจประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ในขณะที่เราเข้าใจสายพันธุ์โอไมครอนมากขึ้น เราเชื่อว่าการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) จะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อรุนแรงและป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ในระยะยาว”
ข้อมูลจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการอีกการศึกษาหนึ่งยังบ่งชี้ข้อสนับสนุนด้านประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน โดยพบว่าในผู้ที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวจำนวนสองโดส สามารถคงระดับการลบล้างเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ แม้ว่าจะมีระดับฤทธิ์ลบล้างที่ลดลงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม4 และยังมีการศึกษาอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่มการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) ที่หลากหลายและยาวนานต่อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อไวรัสที่ครอบคลุมมากกว่าแค่แอนดิบอตีเพียงอย่างเดียว และอาจเป็นอีกปัจจัยสำคัญสำหรับการป้องกันโรคโควิด-191,5-9
แอสตร้าเซนเนก้าอยู่ระหว่างการพัฒนาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในการต่อต้านเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน โดยคาดว่าจะมีผลการศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้ บริษัทกำลังเก็บข้อมูลการใช้งานจริงเพื่อประเมินระดับประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนร่วมกับกลุ่มนักวิชาการในภูมิภาคแอฟริกาใต้ นอกจากนี้แอสตร้าเซนเนก้ากำลังทำการวิเคราะห์เลือดของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดลองระยะที่สอง/สาม เพื่อประเมินประสิทธิภาพการลบล้างเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน หลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ทั้งด้วยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอส ตร้าเซนเนก้า และวัคซีนรุ่นใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัย (AZD2816)
ข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับสายพันธุ์ต่างๆที่น่ากังวล ไม่รวมสายพันธุ์โอไมครอน สนับสนุนการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่สามได้ทั้งหลังการใช้วัคซีนชนิดเดียวกันและต่างชนิดกัน6,10
การวิเคราะห์ย่อยของผลการทดลอง COV001 และ COV002 แสดงให้เห็นว่าการใช้ วัคซีนป้องกันโควิด-19ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นหลังจากการได้รับวัคซีนครับสองเข็มไปแล้ว 6 เดือน สามารถกระตุ้นระดับแอนติบอดีได้เพิ่มขึ้นหกเท่าและรักษาการตอบสนองของทีเซลล์ให้อยู่ในระดับเดิม การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่สามยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์อัลฟา เบต้า และเดลต้า ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้วัคซีน 2 เข็ม ในการทดลองใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้เข็มแรก6
นอกจากนี้ ผลการทดลอง COV-BOOST แสดงให้เห็นว่าการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามสามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมต่อทั้งเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์ดั้งเดิม ไม่ว่าวัคซีนสองโดสแรกนั้นจะเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือ วัคซีน BioNtech (BNT162b2) ของไฟเซอร์ก็ตาม10
หมายเหตุ
การศึกษาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
การศึกษาทางห้องปฏิบัติการโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดทำการประเมินประสิทธิภาพการลบล้างไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอไมครอน โดยใช้เซรั่มของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนาตั้งแต่เริ่มมีการระบาด รวมถึงสายพันธุ์อัลฟา เบต้า แกมมา และเดลต้า นอกจากนั้นยังมีเซรั่มจากผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน BNT162b2 ของไฟเซอร์-ไบออนเทคเป็นจำนวนสามโดส โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์นี้รวบรวมตัวอย่างจากผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครบสามโดสจำนวน 41 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีน BNT162b2ของไฟเซอร์-ไบออนเทคครบสามโดสจำนวน 20 ราย 1
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เดิมเรียก AZD1222 ถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 90 ประเทศ และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 142 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์
ภายใต้ข้อสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วง (sub-license agreement) กับแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกผลิตและส่งมอบโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย โดยใช้ชื่อวัคซีนว่า COVISHIELD
เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า
แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca
References
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_260230/
https://www.thansettakij.com/general-news/507582
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49832
Customers services satisfaction for the Office of Academic Resource And Information Technology, Kamphaeng Phet Rajabhat University 2021. (2564). สืบค้น 26 ธันวาคม 2021, จาก https://scholar.google.com/citations?view_op=view_citation&hl=en&user=Y-39ZBIAAAAJ&alert_preview_top_rm=2&citation_for_view=Y-39ZBIAAAAJ:YsMSGLbcyi4C
Customers services satisfaction for the Office of Academic Resource And Information Technology, Kamphaeng Phet Rajabhat University 2020. (2563). สืบค้น 25 ธันวาคม 2021, จาก https://scholar.google.com/citations?view_op=view_citation&hl=en&user=Y-39ZBIAAAAJ&alert_preview_top_rm=2&citation_for_view=Y-39ZBIAAAAJ:W7OEmFMy1HYC
Librarian of Technology Thailand 4.0. (2560). สืบค้น 25 ธันวาคม 2021, จาก https://scholar.google.com/citations?view_op=view_citation&hl=en&user=Y-39ZBIAAAAJ&alert_preview_top_rm=2&citation_for_view=Y-39ZBIAAAAJ:zYLM7Y9cAGgC
References image
https://www.chula.ac.th/en/clipping/47136/
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th