องค์การสหประชาชาติ(United Nations Organization ) เป็นองค์ระหว่างประเทศวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์เพื่อนำสันติภาพสู่โลก พยายามให้มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาได้อยู่รวมกันอยู่เสมอภาคและสงบสุข ใน พ.ศ. 2484 ผู้แทนประเทศต่างๆ ได้มาประชุมร่วมที่ราชวังเซนต์เจมส์ประเทศอังกฤษ
เพื่อเจรจายุติสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเสนอให้จัดตั้งองค์การสันติภาพโลกใน วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2484 ประธานนาธิบดีรูสเวลต์แห่งสหรัฐอเมริกาได้แถลงการณ์นี้ร่วมกับนายกรัฐมนตรี เชอร์ชิลแห่งอังกฤษบนเรือเรือประจัญบานออกัสตา เรียกแถลงกราณ์นี้ว่ากฎบัตรแอตแลนติก เพื่อก่อตั้งองค์การสันติภาพและก่อให้เกิดการร่วมลงนามในปฎิญญาสหประชาชาติ ทำให้เกิดคำวสหประชาชาติได้แถลงกราณ์และลงนามกัน ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2485ในพ.ศ. 2486 ได้มีการประชุมที่กรุงมอสโค มีผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตและจีนได้ประกาศเจตจำนงร่วมกัน
ในการก่อตั้งองค์สหประชาชาติมีการประชุมที่คฤหาสน์ดัมบาร์ตันโอคส์ที่วอชิงตัน ดีซี ใน 14 สิงหาคม ถึง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ระหว่างสหรัฐอเมริกา สหราช--อาณาจักร สหภาพโซเวียตและจีน ต่อมาใน 4-12 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2488 รูสเวลต์ สตาลินได้ประชุมกันที่ ยัลตา บนคาบสมุทรไครเมีย เพื่อตกลงกันในเรื่องสิทธิยับยั้งความปลอดภัย ตั้งแต่ 25 เมษายน ถึง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ประเทศต่างๆจำนวนกว่า 50 ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่ซานฟรานซิสโก เพื่อยกร่างกฎบัตรสหประชาชาติโดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 จึงถือว่า วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันสหประชาชาติ
วัตถุประสงค์สำคัญของสหประชาชาติ มี 4 ประการ คือ
1.ดำรงสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2.พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวง
3.ร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
มนุษยธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ
4.เป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินการของชาติทั้งปวง ที่จะให้บรรลุจุดหมาย
ปลายทางร่วมกัน
หน่วยปฏิบัติงานที่สำคัญของสหประชาชาติ
1.สมัชชา เปิดประชุมสมัยสามัญทุกปี ปีละครั้ง เปิดประชุมในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายน
ที่สำนักงานใหญ่กรุงนิวยอร์ค มีสามชิก 193 ประเทศ
2.คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ สมาชิกถาวรมี 5 ประเทศ คือ จีน
ฝรั่งเศส โซเวียต อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา สมาชิกไม่ถาวรมี 10 ประเทศ เลือกตั้งกันให้อยู่
ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และไม่มีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกตั้งซ้ำทันทีที่พ้นจากตำแหน่ง
3.คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีสมาชิก 54 ประเทศ สมัชชาเลือกตั้งคราวละ 9 ประเทศ
อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 3 ปี มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานสหประชาชาติด้านเศรษฐกิจและสังคม
4.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีหน้าที่พิจารณาคดีที่ประเทศสมาชิกนำเสนอศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
มีผู้พิพากษา 15 คน คนชาติเดียวกันจะเป็นผู้พิพากษาพร้อมกัน 2 คนไม่ได้ อยู่ในตำแหน่ง 9 ปีเป็นอย่างสูง
โดยแบ่งเป็นครั้งละ 6 ปี และ 3 ปี เมื่อครบวาระก็ต้องออกเพื่อเลือกตั้งซ่อม
5.สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่ด้านบริหารและด้านธุรการของสหประชาชาติ สมัชชาเป็นผู้แต่งตั้ง
โดยการเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ดำรงตำแหน่งครั้งละ 5 ปี
6.คณะมนตรีภาวะทรัสตี สหประชาชาติให้ความคุ้มครองแก่ดินแดนบางแห่งที่ยังปกครองตนเองไม่ได้
เรียกว่าระบบภาวะทรัสตี
ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489 หลังจากที่สหประชาชาติได้ก่อตั้งเพียง 1 ปี
โดยนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ได้ชี้แจงเหตุผลไว้ดังนี้
1.เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การมีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพ
และความมั่นคง และให้ควายุติธรรมสำหรับประเทศเล็ก ๆ อย่างไทย
2.เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการที่เข้าเป็นสมาชิกของ
องค์การโลกเป็นการยืนยันรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง
3.ไทยหวังความช่วยเหลือจากสหประชาชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
4.เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ไทยประสงค์จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างจริงจัง
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเกิดกรณีปัญหากัมพูชา ประเทศไทยได้มีบทบาทนำอย่างแข็งขันร่วมกับอาเซียนในการแก้ไขปัญหาในประเทศเพื่อนบ้านโดยดำเนินการผ่านเวทีสหประชาชาติ ต่อมาหลังจากสหประชาชาติได้ปรับบทบาทให้สอดคล้องกับบรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศหลังจากการยุติของสงครามเย็น ประเทศไทยได้เพิ่มบทบาทในด้านการเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าสหประชาชาติเป็นเสมือนตัวแทนประชาคมโลก ดังนั้นการให้สหประชาชาติดูแลรักษาสันติภาพและความมั่นคงจึงเป็นประโยชน์แก่ประเทศที่มีกำลังทางทหารขนาดเล็กอย่างไทยมากกว่าที่จะให้ประเทศใดประเทศหนึ่งใช้กำลังฝ่ายเดียวเพื่อยุติข้อขัดแย้ง นอกจากนี้ ในฐานะประเทศสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติไทยได้พยายามให้การสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติเท่าที่สถานภาพและกำลังทรัพย์จะเอื้ออำนวย
เผยแพร่ 24 ตุลาคม 2566
เผยแพร่ 24 ตุลาคม 2566
เผยแพร่ 24 ตุลาคม 2566
เผยแพร่ 24 ตุลาคม 2566
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th