องค์การสหประชาชาติ(United Nations Organization ) เป็นองค์ระหว่างประเทศวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์เพื่อนำสันติภาพสู่โลก พยายามให้มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาได้อยู่รวมกันอยู่เสมอภาคและสงบสุข ใน พ.ศ. 2484 ผู้แทนประเทศต่างๆ ได้มาประชุมร่วมที่ราชวังเซนต์เจมส์ประเทศอังกฤษ
เพื่อเจรจายุติสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเสนอให้จัดตั้งองค์การสันติภาพโลกใน วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2484 ประธานนาธิบดีรูสเวลต์แห่งสหรัฐอเมริกาได้แถลงการณ์นี้ร่วมกับนายกรัฐมนตรี เชอร์ชิลแห่งอังกฤษบนเรือเรือประจัญบานออกัสตา เรียกแถลงกราณ์นี้ว่ากฎบัตรแอตแลนติก เพื่อก่อตั้งองค์การสันติภาพและก่อให้เกิดการร่วมลงนามในปฎิญญาสหประชาชาติ ทำให้เกิดคำวสหประชาชาติได้แถลงกราณ์และลงนามกัน ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2485ในพ.ศ. 2486 ได้มีการประชุมที่กรุงมอสโค มีผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตและจีนได้ประกาศเจตจำนงร่วมกัน
ในการก่อตั้งองค์สหประชาชาติมีการประชุมที่คฤหาสน์ดัมบาร์ตันโอคส์ที่วอชิงตัน ดีซี ใน 14 สิงหาคม ถึง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ระหว่างสหรัฐอเมริกา สหราช--อาณาจักร สหภาพโซเวียตและจีน ต่อมาใน 4-12 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2488 รูสเวลต์ สตาลินได้ประชุมกันที่ ยัลตา บนคาบสมุทรไครเมีย เพื่อตกลงกันในเรื่องสิทธิยับยั้งความปลอดภัย ตั้งแต่ 25 เมษายน ถึง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ประเทศต่างๆจำนวนกว่า 50 ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่ซานฟรานซิสโก เพื่อยกร่างกฎบัตรสหประชาชาติโดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 จึงถือว่า วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันสหประชาชาติ
วัตถุประสงค์สำคัญของสหประชาชาติ มี 4 ประการ คือ
1.ดำรงสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2.พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวง
3.ร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
มนุษยธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ
4.เป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินการของชาติทั้งปวง ที่จะให้บรรลุจุดหมาย
ปลายทางร่วมกัน
หน่วยปฏิบัติงานที่สำคัญของสหประชาชาติ
1.สมัชชา เปิดประชุมสมัยสามัญทุกปี ปีละครั้ง เปิดประชุมในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายน
ที่สำนักงานใหญ่กรุงนิวยอร์ค มีสามชิก 193 ประเทศ
2.คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ สมาชิกถาวรมี 5 ประเทศ คือ จีน
ฝรั่งเศส โซเวียต อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา สมาชิกไม่ถาวรมี 10 ประเทศ เลือกตั้งกันให้อยู่
ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และไม่มีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกตั้งซ้ำทันทีที่พ้นจากตำแหน่ง
3.คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีสมาชิก 54 ประเทศ สมัชชาเลือกตั้งคราวละ 9 ประเทศ
อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 3 ปี มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานสหประชาชาติด้านเศรษฐกิจและสังคม
4.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีหน้าที่พิจารณาคดีที่ประเทศสมาชิกนำเสนอศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
มีผู้พิพากษา 15 คน คนชาติเดียวกันจะเป็นผู้พิพากษาพร้อมกัน 2 คนไม่ได้ อยู่ในตำแหน่ง 9 ปีเป็นอย่างสูง
โดยแบ่งเป็นครั้งละ 6 ปี และ 3 ปี เมื่อครบวาระก็ต้องออกเพื่อเลือกตั้งซ่อม
5.สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่ด้านบริหารและด้านธุรการของสหประชาชาติ สมัชชาเป็นผู้แต่งตั้ง
โดยการเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ดำรงตำแหน่งครั้งละ 5 ปี
6.คณะมนตรีภาวะทรัสตี สหประชาชาติให้ความคุ้มครองแก่ดินแดนบางแห่งที่ยังปกครองตนเองไม่ได้
เรียกว่าระบบภาวะทรัสตี
ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489 หลังจากที่สหประชาชาติได้ก่อตั้งเพียง 1 ปี
โดยนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ได้ชี้แจงเหตุผลไว้ดังนี้
1.เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การมีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพ
และความมั่นคง และให้ควายุติธรรมสำหรับประเทศเล็ก ๆ อย่างไทย
2.เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการที่เข้าเป็นสมาชิกของ
องค์การโลกเป็นการยืนยันรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง
3.ไทยหวังความช่วยเหลือจากสหประชาชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
4.เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ไทยประสงค์จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างจริงจัง
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเกิดกรณีปัญหากัมพูชา ประเทศไทยได้มีบทบาทนำอย่างแข็งขันร่วมกับอาเซียนในการแก้ไขปัญหาในประเทศเพื่อนบ้านโดยดำเนินการผ่านเวทีสหประชาชาติ ต่อมาหลังจากสหประชาชาติได้ปรับบทบาทให้สอดคล้องกับบรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศหลังจากการยุติของสงครามเย็น ประเทศไทยได้เพิ่มบทบาทในด้านการเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าสหประชาชาติเป็นเสมือนตัวแทนประชาคมโลก ดังนั้นการให้สหประชาชาติดูแลรักษาสันติภาพและความมั่นคงจึงเป็นประโยชน์แก่ประเทศที่มีกำลังทางทหารขนาดเล็กอย่างไทยมากกว่าที่จะให้ประเทศใดประเทศหนึ่งใช้กำลังฝ่ายเดียวเพื่อยุติข้อขัดแย้ง นอกจากนี้ ในฐานะประเทศสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติไทยได้พยายามให้การสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติเท่าที่สถานภาพและกำลังทรัพย์จะเอื้ออำนวย
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th