สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสียสละอุทิศพระวรกาย พระสติปัญญา และพระราชทรัพย์ เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขด้วยพระวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบให้วันที่ 21 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพเป็น "วันพยาบาลแห่งชาติ" ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา
สมเด็จย่า" พระมิ่งขวัญพยาบาลทั่วไทย
ด้วยพระอุปนิสัยของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีพระเมตตา เอื้ออาทรอยู่เป็นนิจ ทรงสุภาพอ่อนโยน การที่ทรงเลือกศึกษาด้านวิชาชีพการพยาบาลนี้ จึงนับว่าถูกกับพระอุปนิสัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนก ด้านการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข มาโดยตลอด จึงโปรดเกล้าให้แพทย์และพยาบาลที่ตามเสด็จ ตรวจรักษาชาวบ้าน และตำรวจตระเวน ชายแดนทุกครั้งที่เสด็จเยี่ยมประชาชนในท้องที่ห่างไกล ทรงจัดตั้ง หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือชื่อย่อว่า "พอ.สว." ขึ้นเพื่อปฏิบัติงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อดูแลรักษาประชาชนในหมู่บ้านห่างไกล นอกจากนี้ยังพระราช ทานทุนการศึกษาส่งเสริมนักศึกษาพยาบาลให้ได้รับการศึกษาต่อไปด้วย
ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาล และตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา และด้วยพระวิริยะอุตสาหะ นำสิริสุขแก่ปวงชนทุกก้าวพระบาทที่เสด็จไปถึง สมควรเป็นแบบอย่างแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ให้ตระหนักในภารกิจของวิชาชีพแห่งตนว่าเป็นงานบริการสุขภาพที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าแก่สังคม ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวแล้วนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันพยาบาลแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2533 สภาการพยาบาล และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในนามของพยาบาลและผดุงครรภ์ทั้งประเทศถือเป็นสิริมงคลอันสูงยิ่ง และได้ร่วมกันจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติ ในวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีนับแต่นั้นเป็นต้นมา
การจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติ ได้จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 21 ตุลาคม 2533 โดย สภาการพยาบาล ร่วมกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ ในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทยทุกคน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติในครั้งนั้น สภาการพยาบาลได้จัดทำกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย การจัดเดินเทิดพระเกียรติ การให้บริการตรวจสุขภาพ และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ประชาชน การประชุมวิชาการ และพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้ได้รับรางวัลพยาบาลดีเด่นในสาขาต่างๆ และได้จัดงานประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลพยาบาลดีเด่น เป็นประจำต่อเนื่องกันมาทุกปี จนถึงปัจจุบัน
นับแต่ปี 2543 เป็นต้นมา สภาการพยาบาลได้จัดตั้งรางวัลสมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนีขึ้น เพื่อมอบให้กับพยาบาลวิชาชีพ ผดุงครรภ์ ในประเทศเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติในด้านการปฏิบัติงาน การวิจัย การศึกษา การบริหารทางการพยาบาล ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยผู้ได้รับการพิจารณารับพระราชทานรางวัลประจำปี 2547 ได้แก่ ดร.ฮิโรมิ มินามิ พยาบาลจากประเทศญี่ปุ่น
รางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงเป็นพระอนุสรณ์ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ทรงมีคุณูปการล้นพ้นต่อการพยาบาลและการสาธารณสุขของไทย
สภาการพยาบาลได้กำหนดให้ใช้ "ดอกปีบ" เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2534 เป็นต้นมา เนื่องจาก "ดอกปีบ" เป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุดสีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่สร้างประโยชน์เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของ "ดอกปีบ"
เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2567
เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2567
เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2567
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th