เผยแพร่ 20 กันยายน 2567 ผู้ชม 2,590
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2537 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดให้ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวัน “วันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลอง แห่งชาติ” ทั้งนี้เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ ซึ่งเป็นผลให้องค์กรและบุคคลได้ย้อนกลับมาให้ความสำคัญแก่แม่น้ำ คู คลอง อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการสร้างสรรค์และสนับสนุนให้สภาพชุมชนริมฝั่งแม่น้ำ คู คลอง มีความสะอาดสวยงามเพราะวิถีชีวิตชุมชนในชนบท
เผยแพร่ 20 กันยายน 2567 ผู้ชม 3,574
วันเยาวชนแห่งชาติ ได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2528 เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล และได้ขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญว่า "Participation, Development and Peace” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” โดยมีความหมายที่เยาวชนทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติได้
เผยแพร่ 19 กันยายน 2567 ผู้ชม 2,133
วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เหตุที่กำหนดให้วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทยก็เนื่องมาจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งขึ้นที่หอคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคม ตอนนั้นเรียกว่ามิวเซียมหลวงให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก ภายหลังได้โปรดเกล้า ฯให้ย้ายสิ่งของพิพิธภัณฑ์ไปเก็บรักษา ณ พระที่นั่งอันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่ถนนหน้าพระธาตุในปัจจุบัน โดยครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ยกฐานะเป็นกรมพิพิธภัณฑสถาน สังกัดกระทรวงธรรมการและมีพัฒนาการมาตลอดทุกรัชกาลที่ผ่านมา โดย จริงๆแล้วก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.4 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวังพระราชทานนามว่า “ ประพาสพิพิธภัณฑ์ ” เพื่อใช้เป็นที่จัดตั้งแสดงศิลปโบราณวัตถุที่ทรงรวบรวมไว้ แต่ครั้งนั้นไม่ได้เปิดให้ประชาชนชม “วันพิพิธภัณฑ์ไทย” เพิ่งจะได้รับการประกาศกำหนดเป็นทางการ โดย คณะรัฐมนตรีก็เมื่อปี พ.ศ. 2538
เผยแพร่ 16 กันยายน 2567 ผู้ชม 2,816
16 กันยายนของทุกปี ถูกกำหนดเป็นวันโอโซโลก (World Ozone Day) นับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา โดยนานาประเทศได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 เรียกว่า “อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน” และจัดให้ลงนามใน “พิธีสารมอนทรีออล” ขึ้นในวันที่ 16 กันยายน 2530 ส่วนประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้วันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน วันที่ 7 กรกฎาคม 2532
เผยแพร่ 15 กันยายน 2567 ผู้ชม 2,895
ศิลป์ พีระศรี หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย และบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่วงการศิลปะไทยให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และเนื่องด้วยในวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็น "วันศิลป์ พีระศรี" เพื่อรำลึกถึงครูผู้อุทิศตนทั้งชีวิต เพื่อนักเรียนและศิลปะ จนวินาทีสุดท้ายของชีวิต
เผยแพร่ 10 กันยายน 2567 ผู้ชม 3,654
ตรงกับวันที่ 10 กันยายน ของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญคือ วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day) โดยประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ.2003)
เผยแพร่ 1 กันยายน 2567 ผู้ชม 3,021
วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี ถือว่าเป็นวันรำลึกถึงวันจากไปของ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ได้ทุ่มเททั้งชีวิต และจิตวิญญาณในการอนุรักษ์ป่าและสรรพชีวิตในผืนป่า นอกจากนี้ยังปลุกจิตสำนึกให้คนไทยอนุรักษ์ผืนป่าและเห็นความสำคัญของป่าไม้ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จนส่งผลให้ "ป่าห้วยขาแข้ง" และ "ทุ่งใหญ่นเรศวร" ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก เมื่อปี 2534 ในที่สุด
เผยแพร่ 26 สิงหาคม 2567 ผู้ชม 3,992
วันที่ 26 สิงหาคม ถูกกำหนดให้เป็น "วันสุนัขโลก" (National Dog Day) ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปี 2547 โดยคอลลีน เพจ (Colleen Paige) ผู้ก่อตั้ง เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมกันเฉลิมฉลองให้กับสุนัขแสนรัก ทั้งที่เป็นเพียงสัตว์เลี้ยง แต่เป็นเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ของมุนษย์ และยังอุทิศตัวทำงานร่วมกับมนุษย์
เผยแพร่ 18 สิงหาคม 2567 ผู้ชม 7,534
รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงแขวงเมืองชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ
เผยแพร่ 17 สิงหาคม 2567 ผู้ชม 4,403
ประเทศอเมริกาจึงได้มีการจัดให้วันที่ 17 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันยกย่องแมวดำ หรือ Black Cat Appreciation Day ความศรัทธาของมนุษย์ได้ทำร้ายสิ่งต่างๆ ไปมากเท่าไรแล้ว? ยิ่งในยุคกลางความศรัทธาเหล่านั้นทำร้ายสัตว์โลกน่ารักอย่างน้องแมวสีดำที่ถูกตราหน้าว่าทำให้เป็นสิ่งอัปมงคล เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย และก็เป็นมนุษย์อีกนั่นแหละที่ยัดเยียดตัวตนอันแสนเลวร้ายให้กับแมวดำ ว่าเป็นตัวแทนของแม่มด หรือเป็นสิ่งอัปมงคลที่จะนำพาความชั่วร้ายมาสู่ผู้เลี้ยง ทำให้เป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งว่าทำไมแมวดำจึงถูกทอดทิ้งมากกว่าแมวสีอื่นๆ
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th