วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เหตุที่กำหนดให้วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทยก็เนื่องมาจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งขึ้นที่หอคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคม ตอนนั้นเรียกว่ามิวเซียมหลวงให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก ภายหลังได้โปรดเกล้า ฯให้ย้ายสิ่งของพิพิธภัณฑ์ไปเก็บรักษา ณ พระที่นั่งอันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่ถนนหน้าพระธาตุในปัจจุบัน โดยครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ยกฐานะเป็นกรมพิพิธภัณฑสถาน สังกัดกระทรวงธรรมการและมีพัฒนาการมาตลอดทุกรัชกาลที่ผ่านมา โดย จริงๆแล้วก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.4 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวังพระราชทานนามว่า “ ประพาสพิพิธภัณฑ์ ” เพื่อใช้เป็นที่จัดตั้งแสดงศิลปโบราณวัตถุที่ทรงรวบรวมไว้ แต่ครั้งนั้นไม่ได้เปิดให้ประชาชนชม “วันพิพิธภัณฑ์ไทย” เพิ่งจะได้รับการประกาศกำหนดเป็นทางการ โดย คณะรัฐมนตรีก็เมื่อปี พ.ศ. 2538
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงสนพระราชหฤทัยและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงมีพระราชดำริให้กรมศิลปากรก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาที่ จ. พระนครศรีอยุธยาและได้เสด็จฯ ไปทรงเปิด เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504 จากนั้นอีกสามปี กรมศิลปากรได้ขยายกิจการงานพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขึ้นที่ จ. สุโขทัย คือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราม-คำแหง ก็ทรงมีพระมหากรุณาฯ เสด็จฯ ไปทรงเปิดให้อีก โดยในครั้งนี้ หลังจากที่ได้ทอดพระเนตร บรรดาศิลปโบราณวัตถุแล้วจะเสด็จฯ กลับได้ทรงมีพระราชดำรัสกับ นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ว่า “ นี่ถ้ากรมศิลปากรไปสร้างพิพิธภัณฑ์ที่ไหนนะ…จะไปเปิดให้ ” นับจากนั้นกรมศิลปากรก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ไหน ถ้าไม่ทรงติดพระราชภารกิจพระบาทสมเด็จพระ-เจ้าอยู่หัวก็จะเสด็จฯ ไปทรงประกอบพระราชพิธีเปิดให้ทุกครั้ง
ปัจจุบัน มีผู้เห็นความสำคัญของ ศิลปโบราณวัตถุกันมากขึ้นจึงได้มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อรวบรวมของล้ำค่าเหล่านั้นและจัดแสดงแก่ประชาชนให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ และแหล่งรื่นรมย์กันมาก ทั้งภาครัฐและเอกชน บางแห่งก็ใช้ชื่อเรียกเป็นพิพิธภัณฑ์ บางแห่งก็เรียกเป็นอย่างอื่นหลากหลายรูปแบบ เช่น ในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติก็มีหออัครศิลปิน ซึ่งเป็นที่รวบรวมพระราช-ประวัติและผลงานด้านศิลปะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และศิลปินแห่งชาติทุกสาขา, มีหอไทยนิทัศน์ ที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชนชาติไทยในแบบมัลติมีเดีย, มีหอวัฒนธรรมวิวัฒน์จัดแสดงความเป็นมาของกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในภูมิภาคก็มีหอวัฒนธรรมนิทัศน์ของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดที่เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ส่วนพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย และพิพิธภัณฑ์ตามวัดต่าง ๆ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของพิพิธภัณฑ์บ้านเราที่จัดทำ โดยเอกชนและชุมชนในท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะของตน
เผยแพร่ 19 กันยายน 2566
เผยแพร่ 19 กันยายน 2566
เผยแพร่ 19 กันยายน 2566
เผยแพร่ 19 กันยายน 2566
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th