ในพ.ศ.2528 คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของ“คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางานสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ” ให้กำหนดวันที่ 21 ตุลาคม ซึ่งเป็น“วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จย่า”เป็น“วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ” ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์ทรงอุทิศพระวรกายและเวลา เพื่อประโยชน์ให้บังเกิดแก่ประชาชนตลอดมา โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก สมควรเป็นปูชนียบุคคลที่นักสังคมสงเคราะห์ควรถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานของตนต่อไป
วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี ภาครัฐบาลและภาคเอกชน จึงได้ร่วมกันจัดงานแสดงกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ“สมเด็จย่า” ที่ทรงมีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าโดยไม่เลือกเชื้อชาติศาสนา การสังคมสงเคราะห์คือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้ทุกคนอยู่ในสังคมไทย ได้อย่างมีความสุขและให้ทุกคนมีความสามารถ รวมถึงพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วย
การสังคมสงเคราะห์มีในประเทศไทยเป็นเวลานานมาแล้ว สมัยก่อนนี้“วัด” เป็นศูนย์กลางของการสังคมสงเคราะห์ ปัจจุบันนี้มีทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชน ทางฝ่ายรัฐนั้นมีหน่วยงานที่ร่วมรับผิดชอบเกี่ยวกับความผาสุกของประชาชนชาวไทย คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)
ส่วนภาคเอกชนนั้นกระทำการสังคมสงเคราะห์ โดยการจัดตั้งเป็น สมาคมและมูลนิธิเพื่อการกุศล ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นองค์การที่ตั้งขึ้นโดยประชาชน เป็นของประชาชนและทำงานเพื่อประชาชนโดยแท้ ในปัจจุบันนี้มีจำนวน ประมาณกว่า 10,000 องค์การ ที่ช่วยรัฐและหน่วยงานของรัฐให้บริการสังคม- สงเคราะห์
สมาคมและมูลนิธิหลายองค์การได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริ หรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมและมูลนิธิเหล่านี้ได้ทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ เป็นเอนกประการ ทั้งในการสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม รวมทั้งการพัฒนาสังคมด้านต่างๆ เช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิอานันทมหิดล เป็นต้น
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ และสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ เป็นองค์การที่ทำงานเพื่อการสังคมสงเคราะห์โดยแท้ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ หมายถึงมูลนิธิที่พระมหากษัตริย์และประชาชนร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้ ที่ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ มูลนิธินี้ถือกำเนิดขึ้น เนื่องมาจากการเกิดวาตภัยและอุทกภัยขึ้นในจังหวัด ภาคใต้เมื่อ พ.ศ. 2505 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงนำประชาชนให้ช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติ ผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น ได้รับการบริจาคเฉพาะเงินสดถึง 11 ล้านบาท หลังจากที่พระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหล่านั้นแล้ว ยังเหลือเงินอยู่อีกถึง 3 ล้านบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้จัดตั้งเป็น “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์”ขึ้น
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ได้พระราชทานเงินจำนวนหนึ่งล้านบาทเป็นทุนริเริ่มการสร้างตึกทำงานของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ และได้พระราชทานนามตึกนี้ว่า“ตึกมหิดล” เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณในด้านสังคมสงเคราะห์ของสมเด็จพระบรมราชชนก
โครงการที่สำคัญที่สุดของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ คืออุดมการณ์ที่รัฐรับเป็นอุดมการณ์ของชาติ คือ “โครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” ซึ่งมีที่มาจากพระบรมราชปณิธานในพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยพระราชดำรัสที่ว่า“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม”เป็นที่มาแห่ง“แผ่นดินธรรม”ส่วนพระราชดำรัสที่ว่า “เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เป็นที่มาแห่ง “แผ่นดินทอง”
เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2566
เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2566
เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2566
เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2566
เผยแพร่ 21 ตุลาคม 2566
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th