วันเยาวชนแห่งชาติ ได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2528 เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล และได้ขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญว่า "Participation, Development and Peace” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” โดยมีความหมายที่เยาวชนทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติได้ คือ
1. ร่วมแรงแข็งขัน (Participation) หมายถึง การยอมรับในศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่จะสามารถวินิจฉัยและตัดสินใจในเรื่องของตนเอง และตระหนักว่าตนมีโอกาส และพึงพอใจที่จะใช้โอกาสด้วยตนเองอย่างเกิดคุณค่าโดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ใด การที่เยาวชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทต่อชาติบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่นั้น ถือเป็นความสำเร็จของสังคมและประเทศชาติเป็นสำคัญ
2. ช่วยกันพัฒนา (Development) คือ การพัฒนานั้นสามารถมองได้ 2 มิติ มิติแรก คือ การพัฒนาตนเองของแต่ละบุคคล มิติที่สองคือ การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ หากบุคคลพัฒนาตนเองได้ดีก็จะเป็นกำลังสำคัญและมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ และอีกด้านหนึ่งการพัฒนาสังคมและประเทศชาติก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาของบุคคลด้วย ดังนั้น กระบวนการพัฒนาทั้ง 2 ส่วนนี้ จึงมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน เนื่องจากในสภาวะปัจจุบัน ความร่วมมือในระดับนานาชาติ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ
3. ใฝ่หาสันติ (Peace) สันติภาพถือเป็นหลักการพื้นฐานของชีวิต ความต้องการสันติภาพ เป็นความต้องการของสากลโลก ที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้เกิดสันติภาพ เยาวชนทุกคนจึงต้องร่วมมือกันผลักดันให้เกิดมาตรการที่จะสร้างความเชื่อมั่นในวิถีการพัฒนาด้วนสันติ และสร้างสำนึกสันติภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝัง อบรมสั่งสอนเยาวชนให้รู้จักเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน มีความอดทนอดกลั้น ความเป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพพื้นฐาน
สำหรับในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2528 ให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ด้วยเหตุผลว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์ด้วยกัน คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในขณะที่ยังทรงพระเยาว์เหมือนกัน ดังนั้น เยาวชนไทยจึงควรสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ด้วยการพัฒนาตนเองและประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ตั้งเป้าหมายของวันเยาวชนแห่งชาติว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป เยาวชนของชาติ จะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและประเทศชาติให้มีความเจริญและมั่นคง โดยต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีค่านิยมที่พึงประสงค์ รู้จักการอดออมและประหยัด ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตลอดจนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ สำหรับคุณสมบัติของเยาวชนที่พึงประสงค์นั้น จะมี 6 ประการด้วยกัน คือ
1. มีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทยและดำรงชีวิตด้วยการรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
2. มีสุขภาพแข็งแรงรู้จักป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด
3. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีความรับผิดชอบเป็นไปตามวัย
4. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน และภาคภูมิใจในการทำงานที่สุจริต
5. รู้จักคิดอย่ามีเหตุผลและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
6. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ
เผยแพร่ 20 กันยายน 2566
เผยแพร่ 20 กันยายน 2566
เผยแพร่ 20 กันยายน 2566
เผยแพร่ 20 กันยายน 2566
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th