สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ภาษาไทย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ภาษาอังกฤษ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • หน้าหลัก
  • ข้อมูลสำนัก
    • ประวัติสำนัก
    • วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • คณะกรรมการประจำสำนัก
    • คณะกรรมการบริหารงาน
    • บุคลากร
      • ข้อมูลบุคลากร
      • ข้อมูลการศึกษาดูงาน
      • ฐานข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
    • สำนักงาน
      • ระบบ จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
    • พื้นที่ให้บริการ
      • อาคารบรรณราชนครินทร์
      • สำนักวิทยบริการฯ ชั้น 1
      • สำนักวิทยบริการฯ ชั้น 2
      • สำนักวิทยบริการฯ ชั้น 3
      • สำนักวิทยบริการฯ ชั้น 4
      • ห้องอาหารและเครื่องดื่ม
      • อาคารเอวี
      • ศูนย์ภาษา
      • ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • เบอร์โทรภายใน
    • แผนผัง มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
    • แผนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
    • สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง
    • มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง
    • สำหรับผู้ดูแลระบบ
  • การให้บริการ
    • ฐานข้อมูล
      • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
      • ฐานข้อมูล สกอ. บอกรับ
      • ฐานข้อมูล สำนักวิทยบริการฯ
      • ฐานข้อมูลทั้งหมด
    • สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
    • บริการสื่อมัลติมีเดียออนไลน์
    • ระบบ One Search
    • ระบบให้บริการสั่งหนังสือออนไลน์
    • Game Jigsaw
    • ระบบ จองห้อง
    • ระบบ แนะนำทรัพยากรสารสนเทศ
    • ระบบ งานฝึกอบรม E-Training
    • ตรวจสอบ IP Address
    • อินเทอร์เน็ต และ อีเมล์
    • คำค้นน่าสนใจ
    • KPRU Websites
  • ข่าวสาร/ระเบียบ
    • ระเบียบการใช้บริการ
    • ระเบียบการยืมทรัพยากร
    • กระบวนการให้บริการสารสนเทศแก่ประชาชน
    • พระราชบัญญัติ/พระราชกำหนด ฯ
    • ปฏิทินกิจกรรม/โครงการ สำนักวิทยบริการฯ
    • จดหมายข่าว
    • หลักเกณฑ์และรูปแบบการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์
    • จำนวนทรัพยากรสารสนเทศ
    • สถิติการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
  • ประกันคุณภาพ
    • นโยบาย
    • เกณฑ์การประกันคุณภาพ
    • แผนบริหารความเสี่ยง
    • คู่มือให้บริการสารสนเทศประชาชน
    • ความพึงพอใจผู้ใช้บริการ
    • แผนกลยุทธ์
    • แผนปฏิบัติราชการ
    • แผนบริการวิชาการ
    • รายงานประจำปี
    • รายงานการประเมินตนเอง (SAR)
    • ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
    • ข้อมูลฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น
    • คู่มือปฏิบัติงาน
    • ระบบ แบบสอบถามออนไลน์
    • ระบบ สารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ (MIS)
    • ระบบ ทะเบียนครุภัณฑ์
  • ดาวน์โหลด
    • แบบฟอร์ม
    • คู่มือ การใช้งานฐานข้อมูล
    • คู่มือ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
    • คู่มือ/ขั้นตอน การใช้ระบบงานต่างๆ
    • Software Utility
  • สายตรง ผู้อำนวยการ
  • คำถามที่พบบ่อย
บริการและแหล่งข้อมูลของเรา
  • บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า ชั้น 1-4
  • ชั้น 1 บริการวารสารและหนังสือพิมพ์
  • ชั้น 2 บริการ ยืน - คืน
                 หนังสือภาษาไทย หมวด 000-400
  • ชั้น 3 หนังสือภาษาไทย หมวด 500-900
                 หนังสื่อภาษาอังกฤษ หมวด 000-900
                 ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น กำแพงเพชร-ตาก
  • ชั้น 4 หนังสืออ้างอิง งานวิจัย วิทยานิพนธ์
  • AV Zone บริการสื่อมัลติมิเดีย
    • หน้าหลัก
    • วันสำคัญ

    วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    ดาวห์โหลด

    วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    เผยแพร่เมื่อ 18 สิงหาคม 2563 วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 256

              รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงแขวงเมืองชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์
              ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"
              สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
              พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดาน ไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งปัจจุบัน ยังคงมีให้เห็นในวัดสายธรรมยุต. เช่น วัดราชาธิวาส พระปรีชาสามารถด้านดาราศาสาตร์นั้นน่าจะเริ่มตั้งแต่ทรงทอดพระเนตรดาวหางเมื่อทรงพระเยาว์. ซึ่งพระองค์ยังได้ทรงออกประกาศแจ้ง ชื่อ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ไม่ให้เชื่อตามคำเล่าลือที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น.ซึ่งนับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ
              ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา พระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์
              ต่อมาในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ เมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงเมืองชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว
              สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ
              นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18–24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18–24 สิงหาคม วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    • วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
    • วันสำคัญ
    • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

    สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

    https://arit.kpru.ac.th/page_id/561/TH

    Facebook Twitter Google Plus LINE Linkedin

    ข้อมูลอื่น ๆ


    วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    เผยแพร่เมื่อ 18 สิงหาคม 2563


    วันที่ระลึกกองทัพอากาศ

    วันที่ระลึกกองทัพอากาศ

    เผยแพร่เมื่อ 18 สิงหาคม 2563


    วันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day)

    วันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day)

    เผยแพร่เมื่อ 18 สิงหาคม 2563


    วันนอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day)

    วันนอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day)

    เผยแพร่เมื่อ 18 สิงหาคม 2563


    วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ

    วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ

    เผยแพร่เมื่อ 18 สิงหาคม 2563


    ดูทั้งหมด

    แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาบัณฑิตและชุมชน

    •      ระบบบริหารจัดการ
    • ระบบ การประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ
    • ระบบ บริหารความเสี่ยง
    • ระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ
    • ระบบ บริหารจัดการเว็บไชต์
    • ระบบ กิจกรรมนักศึกษา
    • ระบบ รับสม้ครนักศึกษา

    •      คณะ / หน่วยงาน
    • คณะครุศาสตร์
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • คณะวิทยาการจัดการ
    • คณะพยาบาลศาสตร์
    • มรภ.กำแพงเพชร แม่สอด
    • บัณฑิตวิทยาลัย
    •      สำนัก / สถาบัน
    • สำนักงานอธิการบดี
    • สำนักส่งเสริมวิชาการการฯ
    • สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้
    • สำนักวิทยบริการฯ (ห้องสมุด)
    • สำนักประกันคุณภาพการศึกษา
    • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
    • สถาบันวิจัยและพัฒนา
    •      ศูนย์ / กอง
    • ศูนย์ภาษา
    • ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • ศูนย์ส่งเสริมและตรวจสอบการผลิต
    • ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ
    • กองพัฒนานักศึกษา
    • ศูนย์บริการทางการแพทย์แผนไทยฯ
    • กองนโยบายและแผน
    •      เว็บไชต์อื่นๆ
    • มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
    • สภามหาวิทยาลัย
    • หน่วยตรวจสอบภายใน
    • งานวิเทศสัมพันธ์และกิจการอาเซียน
    • งานพัฒนาระบบเครือข่ายฯ
    • งานพัสดุฯ
    • สโมสรอาจารย์ ข้าราชการ พนักงานฯ
    • เว็บไชต์บุคลากร


    สำนักวิทยบริการฯ เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน

    เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์

    เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์

    สำนักวิทยบริการฯ เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน

    เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน

    สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

    เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง
    จังหวัดกำแพงเพชร 62000
    โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503

    เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th  ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th

    KPRU ARIT ISO9001:2015

    ปรับปรุงเมื่อ : January 18 2021 16:34:31

    ©ลิขสิทธิ์เลขที่ ว1.008779 | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

    Array,ARIT,KPRU,Kamphaeng Phet,Rajabhat,University,Library,Local Array,ARIT,KPRU,Kamphaeng Phet,Rajabhat,University,Library,Local Array,ARIT,KPRU,Kamphaeng Phet,Rajabhat,University,Library,Local Array,ARIT,KPRU,Kamphaeng Phet,Rajabhat,University,Library,Local Array,ARIT,KPRU,Kamphaeng Phet,Rajabhat,University,Library,Local Array,ARIT,KPRU,Kamphaeng Phet,Rajabhat,University,Library,Local