เผยแพร่ 7 มกราคม 2565 ผู้ชม 2,217
เผยแพร่ 5 มกราคม 2565 ผู้ชม 1,994
กรมควบคุมโรค เน้นย้ำความสำคัญสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ประชาชนที่ฉีดเข็ม 2 ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 รีบไปรับบูสเตอร์โดส รองรับการระบาดของโรคโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ว่า สถานการณ์ทั่วโลกได้รับรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิน 1 ล้านคน สายพันธุ์ที่ระบาดใหญ่ คือ เดลต้า (Delta) และ โอมิครอน (Omicron) ซึ่งประเทศไทยได้ระงับการตรวจหาเชื้อแบบ Test&Go จึงช่วยชะลอผู้ติดเชื้อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย สอดคล้องกับแนวโน้มของโรคที่ลดน้อยลงเพราะการฉีดวัคซีนให้กับคนในประเทศ ทั้งนี้ จากเทศกาลวันหยุดยาวที่มีการเฉลิมฉลองทั้งคริสต์มาสและปีใหม่ ทำให้เมืองท่องเที่ยวมีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยข้อมูล ณ วันที่ 4 ม.ค. 65 จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อ 499 ราย อุบลราชธานี 328 ราย ภูเก็ต 149 ราย สมุทรปราการ 120 ราย และเชียงใหม่ 117 ราย สาเหตุสำคัญเกิดจากการรวมตัวกันทำกิจกรรม โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย อยู่ในห้องที่ปิดอับ ไม่มีการระบายอากาศที่ดี เช่น ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ จึงมีการเน้นย้ำให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดทุกจังหวัดเข้มงวดสถานที่ที่มีความเสี่ยง หากไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง
เผยแพร่ 1 มกราคม 2565 ผู้ชม 1,768
เผยแพร่ 30 ธันวาคม 2564 ผู้ชม 2,037
เผยแพร่ 29 ธันวาคม 2564 ผู้ชม 1,562
ต้องยอมรับร้ายไม่แผ่วจริงๆ สำหรับโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 ที่เข้ามาสร้างความวุ่นวายให้ทั่วโลกมากกว่า 2 ปี และยังไม่มีท่าทีว่าจะยอมแพ้ง่ายๆ เพราะล่าสุด ไวรัสร้ายตัวนี้ก็พัฒนาตัวเองกลายพันธุ์เป็นชนิดที่ 5 หลังจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล โควิด-19 กลายพันธุ์ล่าสุดนี้มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 ก่อนที่ WHO จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีก ว่า “โอมิครอน” (Omicron)
เผยแพร่ 24 ธันวาคม 2564 ผู้ชม 1,876
ข้อมูลจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการล่าสุด1 บ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มระดับแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 (B.1.1.529) สายพันธุ์โอไมครอน
การฉีด วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 1 โดยพบว่าระดับแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้น มีระดับสูงกว่าที่พบในผู้ที่เคยติดเชื้อและหายป่วยได้เองจากโรคโควิด-19 (สายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา เบต้า และเดลต้า)1 โดยเซรั่มที่นำมาทดสอบนั้นมาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามมาแล้วหนึ่งเดือน พบว่า ระดับแอนติบอดีชนิดลบล้างหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ได้ผลในระดับเดียวกันกับหลังได้รับวัคซีนเข็มที่สองต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า1 (ซึ่งการศึกษาจากการใช้จริงในหลายการศึกษาบ่งชี้ว่าการได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าสองโดสสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้2,3 )
26 รายการ : 3 หน้า
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th