โอมิครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์ใหม่ อันตรายแค่ไหน คนไทยต้องรู้?
ต้องยอมรับร้ายไม่แผ่วจริงๆ สำหรับเจ้าโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 ที่เข้ามาสร้างความวุ่นวายให้ทั่วโลกมากกว่า 2 ปี และยังไม่มีท่าทีว่าจะยอมแพ้ง่ายๆ เพราะล่าสุด ไวรัสร้ายตัวนี้ก็พัฒนาตัวเองกลายพันธุ์เป็นชนิดที่ 5 หลังจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล โควิด-19 กลายพันธุ์ล่าสุดนี้มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 ก่อนที่ WHO จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีก ว่า “โอมิครอน” (Omicron)
“โอมิครอน” มาจากไหน? การระบาดของโควิด-19 โอมิครอนถูกระบุแยกแยะออกมาเป็นครั้งแรกในจังหวัดเคาเต็ง (Gauteng) ของแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีการพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนแล้วในอย่างน้อย 13 ประเทศ ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เบลเยียม ฮ่องกง อิสราเอล อังกฤษ เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก ผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมดอยู่ในหลักร้อย (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564)
“โอมิครอน” อันตรายแค่ไหน? ไวรัสโควิดชนิดใหม่นี้มีการกลายพันธุ์ของยีนรวมทั้งสิ้นถึง 50 ตำแหน่ง ทำให้มันมีความแตกต่างจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่นๆ เป็นอย่างมาก มีการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง และยังมีการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง ขณะที่สายพันธุ์เดลตาที่ระบาดหนักครอบงำทั่วโลกอยู่ขณะนี้ มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น นั่นจึงเหตุผลที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในหลายประเทศกังวลว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดลามออกไปเป็นวงกว้าง โลกอาจต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตอีกครั้ง
วัคซีนที่มีตอนนี้ “เอาอยู่” หรือไม่? จากข้อมูลขณะนี้พบว่ากลายพันธุ์ของโอมิครอน อาจ ทำให้ไวรัสมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิต้านทานได้มากขึ้น จึงมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลง แต่ก็ยังช่วยลดความรุนแรงจากการป่วยหนักได้ ซึ่งบริษัทเวชภัณฑ์ผู้ผลิตวัคซีนหลายแห่งก็เร่งเดินเครื่องพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 รุ่นใหม่ เพื่อรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอนแล้ว
อย่าเพิ่งตื่นตระหนก “โอมิครอน” น่ากังวล แต่อาจไม่รุนแรง จากรายงานของ พญ.โคเอตซี ประธานแพทยสมาคมแห่งแอฟริกาใต้ ระบุว่า ผู้ติดเชื้อจากไวรัสโอมิครอน มีอาการรุนแรงในระดับใกล้เคียงกับไวรัสเดิมคือ มีอาการไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก และอาการอ่อนเพลีย แต่แตกต่างไปตรงที่ผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ไม่มีปัญหาเรื่องการได้กลิ่นกับการรับรส ซึ่งขณะนี้ (29 พ.ย. 64) ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จึงพอสรุปได้ว่า ไวรัสโอมิครอนทำให้เกิดโรคที่มีอาการรุนแรงปานกลาง
บทความ : โอมิครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์ใหม่ อันตรายแค่ไหน คนไทยต้องรู้
ข้อมูลโดย : โรงพยาบาลพญาไทย https://www.phyathai.com/
เผยแพร่ 29 ธันวาคม 2564
เผยแพร่ 29 ธันวาคม 2564
เผยแพร่ 29 ธันวาคม 2564
เผยแพร่ 29 ธันวาคม 2564
โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น
สำนักวิทยบริการฯ
เปิดให้บริการ ช่วงเปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน จันทร์ - เสาร์
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. วัน อาทิตย์
เปิดให้บริการ ช่วงปิดภาคเรียน
เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ทุกวัน
ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำหนด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ 055-706555 ต่อ 1503
เว็บไชต์ : https://arit.kpru.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : anucha_pu@kpru.ac.th