ฝอยทอง

ฝอยทอง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 7,474

[16.4258401, 99.2157273, ฝอยทอง]

ฝอยทอง ชื่อสามัญ Dodder

ฝอยทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cuscuta chinensis Lam. จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

สมุนไพรฝอยทอง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ฝอยไหม (นครราชสีมา), ผักไหม (อุดรธานี), ซิกคิบ่อ ทูโพเคาะกี่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เครือคำ (ไทใหญ่, ขมุ), บ่ะเครือคำ (ลั้วะ), กิมซีเช่า โท้วซี (จีนแต้จิ๋ว), ทู่ซือ ทู่ซือจื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของฝอยทอง

  • ต้นฝอยทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก มักพบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป
  • ใบฝอยทอง ลักษณะของใบเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ๆ รูปสามเหลี่ยม มีจำนวนไม่มาก
  • ดอกฝอยทอง ออกดอกเป็นช่อ ดอกย่อยมีจำนวนมาก ไม่มีก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก รูปกลมรี ดอกมีขนาดเล็ก ดอกเป็นสีขาว กลีบดอกยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายกลีบดอกมน แยกออกเป็น 5 แฉก กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และเกสรเพศเมีย 2 อัน 
  • ผลฝอยทอง ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร เป็นสีเทา ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีเหลืองอมเทา ผิวเมล็ดหยาบ

สรรพคุณของฝอยทอง

  1. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดหรือทำเป็นยาผงรับประทาน (เมล็ด)
  2. ใช้แก้อาการร่างกายอ่อนเพลีย ด้วยการใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับเหล้าหรือน้ำตาลทรายแดงกินเป็นยา (ลำต้น)
  3. เมล็ดฝอยทองมีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือด (เมล็ด)
  4. ลำต้นใช้เป็นยาแก้โรคดีซ่าน และแก้พิษ (ลำต้น)[1],[2],[3]คนเมืองจะใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำอาบรักษาอาการตัวเหลืองจากโรคดีซ่าน (ลำต้น)
  5. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยทำให้ตาสว่าง แก้ตามัว แก้อาการเวียนศีรษะ (เมล็ด)
  6. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (เมล็ด)[1],[2],[3]ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ลำต้นหรือเถามีสรรพคุณแก้ร้อนในกระหายน้ำ (ลำต้น)
  7. หากเป็นโรคตาแดงหรือเจ็บตา ให้ใช้ลำต้นสด นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำ ใช้เป็นยาทารอบ ๆ ขอบตา (ลำต้น)
  8. ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล อุจจาระเป็นเลือด ตกเลือด (ลำต้น)[1],[2],[3]
  9. เมล็ดใช้เป็นยาขับลม ขับเหงื่อ (เมล็ด)
  10. ลำต้นนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้บิด (ลำต้น)
  11. ใช้รักษาลำไส้อักเสบ เป็นบิดแบคทีเรีย ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 30 กรัม หรือประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำผสมกับขิงสด 7 แว่น แล้วเอาน้ำที่ได้มากินเป็นยา (ลำต้น)
  12. ทั้งต้นนำมามัดเป็นก้อนแล้วต้มดื่มน้ำเป็นยาถ่ายพยาธิ โดยให้รับประทาน 1-2 ครั้ง (ทั้งต้น)
  13. ช่วยแก้ปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับเหง้ากูไฉ่สด ประมาณ 60 กรัม แล้วนำมาใช้ล้างหน้าท้องน้อย (ลำต้น)
  14. หากมีอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ให้ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับเหล้าหรือน้ำตาลทรายแดงกินเป็นยา (ลำต้น)[1]ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้เมล็ดเป็นยาแก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย (เมล็ด)
  15. ช่วยรักษาระดูขาวตกมากผิดปกติ และน้ำกามเคลื่อน ด้วยการใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับเหล้าหรือน้ำตาลทรายแดงกินเป็นยา ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้น้ำกามเคลื่อนได้เช่นกัน (ลำต้น, เมล็ด)
  16. ช่วยบำรุงน้ำอสุจิในเพศชาย แก้สมรรถภาพทางเพศชายเสื่อม แก้น้ำกามเคลื่อน (เมล็ด)[3]ตำรับยาแก้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมหรือแก้อาการน้ำกามเคลื่อน จะใช้เมล็ดฝอยทอง 15 กรัม, เก๋ากี้ 12 กรัม, โต่งต๋ง 12 กรัม, โป๋วกุกจี 10 กรัม, เกสรบัวหลวง 7 กรัม, เม็ดกุ๋ยฉ่าย 7 กรัม และโหงวบี่จี้ 7 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกิน หรือรวมกันบดให้เป็นผงทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนกิน (ตำรับยานี้ใช้รักษาอาการปวดหลังปวดเอว และแก้ไตหย่อนได้ด้วย) (เมล็ด)
  17. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงตับ บำรุงไต ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดหรือทำเป็นยาผงรับประทาน (เมล็ด)
  18. ลำต้นนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาหรือพอกบริเวณที่เป็นฝ้า ผดผื่นคัน ผดผื่นคันจากอากาศร้อน แผลเรื้อรัง และใช้ห้ามเลือด (ลำต้น)
  19. ทั้งต้นนำมาต้มกินและอาบแก้อาการตัวบวม (ทั้งต้น)
  20. ใช้รักษากลากบริเวณคิ้ว ด้วยการใช้เมล็ดฝอยทองนำมาคั่วให้เกรียม แล้วบดให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
  21. ใช้เป็นยารักษาผิวหนังเป็นปื้นขาวหรือเป็นด่างขาว จากการทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนังเป็นปื้นขาวจำนวน 10 ราย โดยการใช้ลำต้นสกัดเอายาด้วยแอลกอฮอล์ 75% กรองเอาแต่น้ำ ใช้สำลีชุบน้ำยาทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง พบว่าผู้ป่วยมีอาการหายดีขึ้นมาก 5 ราย มีอาการดีขึ้น 4 ราย และอีก 2 ราย ไม่ปรากฏผลเลย แต่ต่อมาอีก 1 เดือน อาการนั้นก็หายเป็นปกติอย่างเห็นได้ชัด (ลำต้น)
  22. หากมีอาการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ ปวดหลัง ปวดเอว หรือปวดตามขาและน่อง รู้สึกชาไม่มีกำลัง ให้ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30 กรัม หรือประมาณ 1 ชาม นำมาแช่ในเหล้านาน 3-5 วัน แล้วเอาเมล็ดมาตากแห้ง จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด ใช้กินครั้งละ 6 กรัม วันละ 3 ครั้ง (เมล็ด)
  23. ใช้เป็นส่วนผสมชนิดหนึ่งในตำรับยารักษาโรคเอดส์ ยับยั้งการก่อเกิดมะเร็งผิวหนัง ลดการอักเสบ เป็นต้น (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  24. สรรพคุณของโท่วซีจี้ (เมล็ดสุก) ตามตำรายาจีนระบุว่าโท่วซีจี้ มีฤทธิ์บำรุงไต ช่วยควบคุมการหลั่งของน้ำอสุจิ รักษากลุ่มอาการของระบบไตพร่อง (ปวดเอว, ตกขาว, ปัสสาวะบ่อย, อวัยวะเพศไม่แข็งตัว, ฝันเปียก) มีฤทธิ์บำรุงตับ รักษากลุ่มอาการของระบบตับและไตอ่อนแอ (หน้ามืด, ตามัว, ตาล้า, เบลอ) ทำให้ตาสว่าง ช่วยหยุดถ่าย (เนื่องจากระบบม้ามและไตพร่องทำให้ถ่ายท้อง) และยังมีฤทธิ์บำรุงมดลูก ป้องกันการแท้งลูก (เนื่องจากระบบตับและไตอ่อนแอทำให้แท้งง่าย), โท่วซีจี้ผัดน้ำเกลือ ช่วยเพิ่มฤทธิ์บำรุงไตและบำรุงครรภ์ เหมาะสำหรับผู้ที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ฝันเปียก ตกขาว ปัสสาวะบ่อย, โท่วซีจี้ผสมเหล้าอัดเป็นแผ่น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยเอวและเข่า กระหายน้ำ หูอื้อตามัว, โท่วซีจี้ผัด เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเอวเนื่องจากไตพร่อง หลังปัสสาวะแล้วยังมีปัสสาวะเหลืออยู่ (เมล็ด)
  25. สำหรับสัตว์เลี้ยงที่ไม่มีกำลัง ร่างกายอ่อนแอ ให้ใช้ลำต้นฝอยทอง โกฏเขมา และรากขี้ครอก ในปริมาณเท่ากัน อย่างละประมาณ 100-200 กรัม และเปลือกส้มแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมเหล้าที่หมักด้วยข้าวเหนียวและน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย แล้วเอามาให้สัตว์เลี้ยงกิน (ลำต้น)
  26. ส่วนสัตว์เพศผู้ที่ไม่มีสมรรถภาพทางเพศ ให้ใช้เมล็ดฝอยทองนำมาต้มกับน้ำผสมเหล้าให้สัตว์กิน (เมล็ด)
  27. สำหรับแม่วัวที่มีน้ำนมน้อย ให้ใช้ลำต้นสดประมาณ 500 กรัม นำมาตำให้ละเอียด แล้วเอามาชงหรือละลายกับเหล้าที่ทำด้วยข้าวเหนียว อุ่นให้แม่วัวกิน (ลำต้น)

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [1] ลำต้นแห้ง ให้ใช้ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ส่วนเมล็ด ให้ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน หรือนำมาบดให้เป็นผงละเอียดทำเป็นยาผงหรือทำเป็นยาเม็ดกิน

ข้อห้ามใช้ : สตรีมีครรภ์และผู้ที่มีอาการท้องผูก ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ และหากพรรณไม้ชนิดนี้ขึ้นเกาะบนพืชมีพิษ เช่น ต้นลำโพง ต้นยี่โถ ต้นยาสูบ และต้นถอบแถบน้ำ ไม่ควรเก็บมาใช้เป็นยา เพราะลำต้นอาจมีพิษได้

หมายเหตุ : ในวงศ์เดียวกันยังมีฝอยทองอีกหลายชนิด คือ ฝอยทองยุโรป หรือในภาษาจีนเรียกว่า "โอวโจทู่ซือ" (Cuscuta europaea L.), ฝอยทองดอกใหญ่ หรือในภาษาจีนกลางเรียกว่า "ต้าฮวาทู่ซือ" (Cuscuta reexa Roxb.), ฝอยทองใหญ่ หรือในภาษาจีนเรียกว่า "กิมเต็งติ๊ง" และ "ต้าทูซือ" (Cuscuta japonica Choisy.) ซึ่งในแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณที่ใกล้เคียงกัน และสามารถนำมาใช้แทนกันได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของฝอยทอง

  • สารที่พบ ได้แก่ a-Carotene, Campesterol, Cholesterol, B-Sitosterol, B-Amyrin, Stigmasterol, Taraxanthin[3], Arbutin, Astragatin, Caffeic acid, Hyperoside, Quercetin เป็นต้น
  • สารที่แช่สกัดเมล็ดฝอยทองด้วยแอลกอฮอล์ เมื่อนำมาทดสอบกับคางคก พบว่ามีฤทธิ์ต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเพิ่มขึ้น แต่เมื่อนำมาใช้ทดสอบด้วยสารแช่สกัดที่ทำอยู่ในรูปของทิงเจอร์หรือด้วยน้ำ จะมีผลทำให้การเต้นของหัวใจลดลง
  • เมื่อนำสารที่สกัดได้จากเมล็ดด้วยแอลกอฮอล์และสารที่สกัดจากเมล็ดด้วยน้ำ นำมาทดลองกับหนู พบว่าสารสกัดทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ทำให้การบีบตัวของหัวใจสัตว์มีอาการแรงขึ้น แต่สารที่สกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ทำให้หัวใจของหนูเต้นช้าลง และสารที่สกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ทำให้หัวใจของหนูเต้นช้าลง
  • สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ของฝอยทองและสารที่สกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ทำให้มดลูกของหนูกระตุ้นแรงขึ้น
  • ในประเทศจีนและบางประเทศในแถบเอเชีย ได้มีการใช้เมล็ดฝอยทองในการรักษาโรคกระดูกพรุน จากการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า สารประกอบที่แยกได้จากสารสกัดเอทานอลเป็นสารในกลุ่ม astragalin, flavonoids, quercetin, hyperoside isorhamnetin และ kaempferol เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์พบว่าสาร kaempferol และ hyperoside สามารถเพิ่มฤทธิ์ของ alkaline phosphatase (ALP) ในเซลล์ osteoblast-like UMR-106 โดยที่ ALP เป็นตัวบ่งชี้ในการเพิ่มการสร้างเซลล์กระดูกของเซลล์ตั้งต้น และสาร astragalin ยังกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ UMR-106 ด้วย ส่วนสารอื่น ๆ ไม่พบว่ามีฤทธิ์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบว่าสารที่แยกได้มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยสาร quercetin, kaempferol และ isorhamnetin ออกฤทธิ์กระตุ้น ERβ (estrogen receptor agonist) แต่เมื่อเปรียบเทียบกันในแง่ของการกระตุ้น ER จะมีเพียงสาร quercetin และ kaempferol ที่ออกฤทธิ์แรงในการยับยั้งตัวรับ estrogen ชนิด ERα/β โดยที่กลไกดังกล่าวคาดว่าจะเทียบเคียงกับยา raloxifene ที่ออกฤทธิ์กระตุ้น ER ที่บริเวณกระดูก ไขมัน หัวใจและหลอดเลือด แต่ออกฤทธิ์ยับยั้ง ER ที่บริเวณเต้านมและมดลูก นอกจากนี้สาร quercetin และ kaempferol ยังกระตุ้นการแสดงออกของ ERα/β-mediated AP-1 reporter (activator protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูก เช่นเดียวกับยา raloxifene จากการทดลองทั้งหมดทำให้สรุปได้ว่าเมล็ดฝอยทองมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกระดูกพรุน และสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการสร้างเซลล์กระดูกคือ kaempferol และ hyperoside
  • จากการทดสอบทางพิษวิทยา พบว่าสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือสกัดด้วยน้ำ ไม่เป็นพิษต่อร่างกายของสัตว์
  • เมื่อทดลองโดยใช้สารแช่สกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์จากเมล็ดนำมาฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูเล็กสีขาว พบว่ามีผลทำให้หนูตายไปครึ่งตัว แต่เมื่อนำมาใช้ทดลองกับหนูใหญ่ โดยให้หนูใหญ่กินติดต่อกันประมาณ 2 เดือน ไม่พบการผิดปกติและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตแต่อย่างใด
  • เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศจีน ได้ทำการทดลองใช้สมุนไพรรวมหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในสมุนไพรดังกล่าวนั้นมีฝอยทองอยู่ด้วย และได้พบว่ายาสมุนไพรดังกล่าวสามารถใช้รักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง และใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากได้ผลดี

ประโยชน์ของฝอยทอง

  • ลำต้นนำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นอาหาร ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ใช้ยำใส่มะเขือ หรือนำมาชุบแป้งทอดรับประทานร่วมกับน้ำพริกกะปิ

 

คำสำคัญ : ฝอยทอง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ฝอยทอง. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1730&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1730&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,461

พริกไทย

พริกไทย

พริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลมๆ ติดกันอยู่เป็นพวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบ้านเราพริกไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,929

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ มีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบของประเทศไทย อินเดีย และในชวาเกาะเซลีเบส โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,270

ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำขาว

ต้นก้นจ้ำขาวเป็นพืชล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นสัน ใบก้นจ้ำขาวใบเป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว มี 3 ใบย่อย แผ่นในรูปไข่ ปลายใบแหลม ของใบหยัก ฐานใยมน เนื้อใบบาง ดอกก้นจ้ำขาวดอก เป็นดอกช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอดและซอกใบ ก้านช่อดอกยาว วงใบประดับมี 2 ชั้น แยกกัน ดอกวงนอกมีกลีบดอกรูปลิ้น สีขาว ไม่สมบูรณ์เพศ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีเหลือง เกสรเพศผู้สีน้ำตาล เกสรเพศเมียสีเหลืองปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลก้นจ้ำขาวผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน มีแพปพัสเป็นหนามสั้น 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,296

ฝอยทอง

ฝอยทอง

ฝอยทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก มักพบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 7,474

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,212

ผักตบไทย

ผักตบไทย

ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,773

กานพลู

กานพลู

กานพลู (Clove) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ในภาคเหนือเรียกจันจี่ เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย ซึ่งมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวของกานพลู มีรสเผ็ด และมีเพาะปลูกกันมากที่สุดในแถบประเทศอินโดนีเซีย, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา เป็นต้น โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกานพลูนี้มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักนิยมนำมากลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยไว้สูดดม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,837

กระดอม

กระดอม

ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,218

ผักปลัง

ผักปลัง

ผักปลัง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขามาก มีความยาวประมาณ 2-6 เมตร หากลำต้นเป็นสีเขียวจะเรียกว่า "ผักปลังขาว" ส่วนชนิดที่ลำต้นเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า "ผักปลังแดง" ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำเถาแก่ เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดรำไร สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าทุ่ง ที่รกร้าง หรือตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,358