หงอนไก่

หงอนไก่

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 19,113

[16.4258401, 99.2157273, หงอนไก่]

สมุนไพรหงอนไก่ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดที่ต้นตั้งตรงช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก (หงอนไก่ไทย) และชนิดที่ดอกมีรูปทรงคล้ายหงอนไก่ (หงอนไก่ฝรั่ง) ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นพืชชนิดเดียวกันและอยู่ในวงศ์เดียวกัน (แต่ต่างสายพันธุ์) อีกทั้งยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นที่คล้ายกันอีกด้วย ส่วนสรรพคุณทางยาโดยรวมของทั้งสองก็คล้ายคลึงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ครับ

หงอนไก่ไทย

หงอนไก่ไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Celosia argentea L. จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หงอนไก่ดง (นครสวรรค์), ดอกด้าย, ด้ายสร้อย, สร้อยไก่, หงอนไก่ (ภาคเหนือ), หงอนไก่ดอกกลม หงอนไก่ฟ้า หงอนไก่ฝรั่ง (ภาคกลาง), แซเซียง ชิงเซียงจื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น และมีชื่อสามัญว่า Cockscomb, Chainese Wool flower, Wool flower

  • ต้นหงอนไก่ไทย มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน ภายหลังได้กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วโลก โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีอายุเพียง 1 ปี มีลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40-150 เซนติเมตร มักแตกกิ่งก้านเป็นสีเขียวแกมแดง ลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำและมีร่องตามยาว เปลือกลำต้นมีทั้งสีแดงและสีเขียว แบ่งออกไปตามสายพันธุ์ 
  • ใบหงอนไก่ไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน รูปหอกยาว หรือรูปเส้นแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-18 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวและมักมีสีแดงแต้ม หรือเป็นสีแดงอมม่วง ใบตอนล่างจะมีขนาดใหญ่ ส่วนใบที่อยู่ส่วนยอดจะมีขนาดเล็กกว่า มีก้านใบยาวประมาณ 0.3-1.7 เซนติเมตร 
  • ดอกหงอนไก่ไทย ออกดอกเป็นช่อเป็นแท่งยาว โดยจะตามซอกใบและปลายกิ่งหรือปลายยอด ปลายช่อดอกแหลม ช่อดอกยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร อัดแน่นอยู่ในช่อเดียว ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบดอกเป็นสีม่วงแกมสีชมพู หรือเป็นสีขาวปลายแต้มด้วยสีชมพู อยู่ติดกันเป็นกระจุก กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน และไม่มีก้านดอก 
  • ผลหงอนไก่ไทย ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ผลมีกลีบเลี้ยงบางหุ้มเมล็ดอยู่ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่กลับ เมล็ดกลมแบนสีดำเป็นมันเงาและแข็ง มีจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรี 

หงอนไก่ฝรั่ง

หงอนไก่ฝรั่ง (หงอนไก่เทศ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Celosia argentea var. cristata (L.) Kuntze, Celosia cristata L. จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หงอนไก่ดง (นครสวรรค์), ดอกด้าย ด้ายสร้อย สร้อยไก่ หงอนไก่ (ภาคเหนือ), หงอนไก่ดอกกลม หงอนไก่ฟ้า หงอนไก่ฝรั่ง หงอนไก่เทศ หงอนไก่ไทย (ภาคกลาง), พอคอที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ชองพุ ซองพุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), กระลารอน (เขมร-ปราจีนบุรี), แชเสี่ยง โกยกวงฮวย (จีนแต้จิ๋ว), จีกวนฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น และมีชื่อสามัญว่า Wild Cockcomb, Cockcomb, Common cockscomb, Crested celosin

  • ต้นหงอนไก่ฝรั่ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 20 นิ้ว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก และไม่มีแก่นด้วย เป็นพรรณไม้ที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นจึงมักไม่เป็นสีเขียวเสมอไป โดยอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีแดง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่พันธุ์ของต้นนั้นๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ง่ายและงอกงามเร็ว 
  • ใบหงอนไก่ฝรั่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกรวมกันเป็นกลุ่มตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปทรงมนรี รูปรี หรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก แผ่นใบเป็นสีเขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวหรือสีม่วงแดง ย่นเล็กน้อย ส่วนเส้นกลางใบเป็นสีชมพู
  • ดอกหงอนไก่ฝรั่ง ดอกจริง ๆ ของหงอนไก่ฝรั่งนั้นจะมีขนาดเล็กเป็นละอองแต่จะออกติดกันแน่นเป็นช่อเดียวกันคล้ายกับหงอนไก่ มีขนาดประมาณ 2-4 นิ้ว ลักษณะของช่อดอกจะบิดจีบม้วนไปมาอยู่ในช่อดูคล้ายหงอนไก่ แต่ละดอกจะมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปปลายแหลม ยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ส่วนปลายมีรอยแยกเป็น 2 รอยตื้น ๆ โดยสีของดอกก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ เช่น สีแดง สีชมพู สีเหลือง สีขาว สีผสม เป็นต้น ช่อดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร 
  • ผลหงอนไก่ฝรั่ง ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ภายในผลมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมแบน เปลือกนอกเมล็ดเป็นสีดำแข็งและเป็นมัน 

สรรพคุณของหงอนไก่

  1. รากมีรสขมเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก)
  2. ดอกใช้รวมกับพืชชนิดอื่นเป็นยาบำรุงกำลัง (ดอก)
  3. ใช้เป็นยาแก้ความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้เมล็ดหงอนไก่แห้งประมาณ 4.5-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินหรือใช้ทำเป็นยาเม็ดกิน (เมล็ดแห้ง)
  4. ตำรายาไทยจะใช้รากหงอนไก่เป็นยาแก้โลหิตเป็นพิษ (ราก)
  5. เมล็ดมีรสขมเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ ช่วยขับลมร้อนในตับ (เมล็ด)
  6. ช่วยแก้เลือดลมไม่ปกติ (ดอก)
  7. ดอก ก้าน และใบหงอนไก่เทศ มีรสชุ่มเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและไต มีสรรพคุณทำให้เลือดเย็น (ก้านและใบ,ดอกหงอนไก่เทศ)
  8. ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (ราก)
  9. ใช้เป็นยาแก้ไข้ที่มีอาการในทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ไข้ท้องอืดเฟ้อ ไข้พิษ ไข้อาหารเป็นพิษ และช่วยแก้ไข้เพื่อลม (มีอาการท้องอืดเฟ้อ) (ราก)
  10. ใช้แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ดอกสด (ดอกมีรสฝาดเฝื่อน) ประมาณ 30-60 กรัม (ถ้าเป็นดอกแห้งให้ใช้ประมาณ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
  11. ใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง ตาปวด เยื่อตาอักเสบ ช่วยทำให้ตาสว่าง ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
  12. ช่วยแก้ตาฟางในเวลากลางคืน ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 4.5-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินหรือทำเป็นยาเม็ดกิน (เมล็ดแห้ง)
  13. ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะใช้ก้านและใบสด (กิ่ง ก้าน และใบมีรสฝาดเฝื่อน) ประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำกินก็ได้เช่นกัน ส่วนดอกสดมีสรรพคุณแก้อาเจียนเป็นเลือด วิธีใช้ให้นำดอกสด 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ถ้าเป็นดอกแห้งให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง (ลำต้น,ก้านและใบ,ดอก)
  14. ช่วยแก้อาการไอ ไอเป็นเลือด ด้วยการใช้ดอกหงอนไก่เทศสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ถ้าเป็นดอกแห้งให้ใช้ประมาณ 15-30 กรัม (ดอก)
  15. ใช้เป็นยาแก้เสมหะ (ราก)
  16. ใช้เป็นยาแก้หืด (ราก)
  17. เมล็ดนำมาต้มกับน้ำใช้กลั้วรักษาแผลในช่องปากได้ (เมล็ด)
  18. ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ถ้าเป็นดอกแห้งให้ใช้ประมาณ 15-30 กรัม หรือจะใช้เมล็ดแห้งประมาณ 4.5-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือใช้ทำเป็นยาเม็ดกินก็ได้ (ดอก,เมล็ด)
  19. ช่วยแก้อาการท้องอืด (ราก)
  20. ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาต้มกับน้ำกิน (ลำต้น)
  21. ตำรายาแผนไทยจะใช้เมล็ดเป็นยาแก้ท้องร่วง (เมล็ด)
  22. ช่วยแก้โรคบิด ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือคั้นเอาแต่น้ำกิน หรือจะใช้ดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้บิดก็ได้ (ก้านและใบ,ดอก)
  23. ใช้เป็นยาแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้ดอกหงอนไก่เทศสดประมาณ 30-60 กรัม (ดอกแห้งใช้ประมาณ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน ส่วนเมล็ดหงอนไก่เทศจะใช้เป็นยาแก้อุจจาระเป็นเลือด บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 4.5-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือใช้ทำเป็นยาเม็ดกิน (ดอก,เมล็ด)
  24. ใช้เป็นยาระบาย ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำกิน (ก้านและใบ)
  25. ดอกใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ (ดอก)
  26. ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ดอกหงอนไก่เทศ)
  27. ใช้แก้ริดสีดวงทวาร (ดอก,เมล็ด)
  28. ใช้แก้ริดสีดวงทวารมีเลือดออก ด้วยการใช้ลำต้นสดของหงอนไก่เทศนำมาต้มกับน้ำกิน หรือใช้ก้านและใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือคั้นเอาแต่น้ำกิน หรือจะใช้ดอกหงอนไก่เทศกับห่วงโฮง อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าลูกมะเขือพวง ใช้รับประทานครั้งละ 7-10 เม็ด (ลำต้น,ก้านและใบ)
  29. ใช้แก้สตรีตกเลือด ด้วยการใช้ก้านและใบสดของหงอนไก่ฝรั่งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำกิน หรือใช้ดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกินหรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น ส่วนอีกวิธีให้ใช้ลำต้นสดนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ตกเลือด (ลำต้น,ก้านและใบ,ดอกหงอนไก่ฝรั่ง)
  30. ใช้แก้ประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนไม่ปกติ ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
  31. ช่วยแก้มุตกิดตกขาวของสตรี ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะนำมาดอกหงอนไก่เทศมาต้มกับเหล้าขาวรับประทานก็ได้ (ใช้ได้ทั้งดอกหงอนไก่ไทยและหงอนไก่เทศ)
  32. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้ดี แต่ในตำราไม่ได้ระบุวิธีใช้และวิธีกิน (เมล็ด)
  33. ก้านและใบนำมาตำพอกรักษาบาดแผลที่มีเลือดออกได้ (ก้านและใบ)
  34. ใช้เป็นยาห้ามเลือด แก้เลือดไหลไม่หยุด (ก้านและใบ,ดอก,เมล็ดแห้ง)
  35. ลำต้นอ่อนนำมาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกแก้ตะขาบกัด (ลำต้น)
  36. ใช้รักษาผิวหนังเป็นผดผื่นคัน ด้วยการใช้ก้านและใบนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น ส่วนดอกก็มีสรรพคุณช่วยแก้ผดผื่นคันได้เช่นกัน แต่เข้าใจว่านำมาต้มกับน้ำดื่ม ส่วนเมล็ดแห้งมีสรรพคุณช่วยรักษาผิวนหนังเป็นผดผื่นคัน อักเสบร้อนแดง (ก้านและใบ,ดอก,เมล็ดแห้ง)
  37. ใบมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการคันจากยางต้นรัก (ใบ)
  38. ดอกใช้เข้าตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นเป็นยารักษาโรคมะเร็งคุด (อาการปวดตัวลงข้อ ปวดศีรษะ เจ็บเอว ปวดข้อ) ด้วยการใช้ดอกหงอนไก่ไทย รากสามสิบ รากผักหวานบ้าน รากถั่วพู รากรางเย็น รากมังคะอุ้ย ไม้มะแฟน หอยกาบ และงาช้าง นำมาฝนกับน้ำผสมกับข้าวสุดกินเป็นยารักษาโรคมะเร็งคุด (ดอก)
  39. หากสัตว์มีอาการปวดท้องหลังคลอดลูก ให้ใช้ดอกหงอนไก่สีขาวแห้งประมาณ 60 กรัม, กัญชาเทศประมาณ 60-120 กรัม และใบสนหางสิงห์ (สนแผง) 120 กรัม นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับเหล้าให้สัตว์กิน (ดอก)
  40. หากวัวหรือม้ามีเลือดกำเดาออก ให้ใช้ดอกหงอนไก่สดประมาณ 3-4 ช่อ ดอกทานตะวันประมาณ 2-3 ดอก และรากหญ้าคาประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มผสมกับน้ำทรายประมาณ 120 กรัม แล้วเอาน้ำต้มที่ได้มาให้สัตว์กิน (ดอก)
  41. หากวัวหรือม้าถ่ายเป็นเลือด ให้ใช้ดอกหงอนไก่สีขาวแห้งประมาณ 120 กรัม, เหล่งแหง่เช่าประมาณ 30-60 กรัม, และดินสุกเป็นก้อนที่อยู่ตามก้นเตาถ่านประมาณ 60 กรัม นำมาบดผสมรวมกันให้ละเอียด แล้วใส่น้ำตาลทรายขาวลงไปประมาณ 120 กรัม ผสมให้สัตว์กิน (ดอก)
  42. ส่วนข้อมูลอื่นๆ ได้ระบุว่าหงอนไก่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิดมีตัว ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย รักษาผิวหนังอักเสบ ส่วนรากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ข้อมูลส่วนไม่มีแหล่งอ้างอิงครับ)

หมายเหตุ : เมล็ดหงอนไก่ฝรั่ง สามารถใช้แทนกับเมล็ดหงอนไก่ไทยได้ เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาที่เหมือนกัน

ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรหงอนไก่

  • หญิงที่อยู่ในระหว่างการมีประจำเดือน ไม่ควรนำหงอนไก่มารับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคตาบอดใส ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหงอนไก่

  • เมล็ดพบสาร Oxalic acid, กรดไขมัน, โพแทสเซียมไนเตรด, Celosiaol, Nicotinic acid และยังพบน้ำมันระเหยอีกหลายชนิดด้วยกัน
  • สารที่สกัดจาเมล็ดและดอกหงอนไก่ เมื่อนำมาทดลองก็พบว่ามีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Trichomonas vaginalis ได้ดี โดยเชื้อชนิดนี้เมื่อนำมาต้มด้วยคามร้อนสูงนาน 5-10 นาทีก็จะตายไป
  • จากการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่อยู่ในช่วง 160-220 / 100-135 มม. ปรอท โดยทำการรักษาด้วยการใช้เมล็ดหงอนไก่แห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มสกัดเอาน้ำ 2 ครั้ง แล้วแบ่งกิน 3 ครั้งต่อวัน ผลการทดลองพบว่า หลังจากที่ได้รับไปแล้ว 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีความดันลดลงเหลืออยู่ในช่วง 125-146 / 70-90 มม. ปรอท และจากการนำมาทดลองกับสัตว์ก็พบว่าเมล็ดหงอนไก่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
  • น้ำมันระเหยจากเมล็ดหงอนไก้ มีฤทธิ์สามารถทำให้ม่านตาดำขยายตัวได้

ประโยชน์ของหงอนไก่

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับแปลงทั่วไป ปลูกตามขอบแปลง ริมทางเดิน หรือจะปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้ เพราะดอกมีความสวยงาม สีสันโดดเด่น เพาะปลูกได้ง่าย มีความแข็งแรงทนทนทาน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี เมื่อดอกบานแล้วจะมีอายุยืนยาว เช่นเดียวกับดอกบานไม่รู้โรย เพราะอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่เมื่อดอกแล้วโรยแล้วจะต้องเปลี่ยนต้นใหม่
  • หรือจะปลูกเป็นไม้ตัดดอกทำดอกไม้แห้งก็ได้ เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานและไม่เปลี่ยน 

คำสำคัญ : หงอนไก่

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หงอนไก่. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1755&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1755&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ถั่วดาวอินคา

ถั่วดาวอินคา

ดาวอินคาเป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี มีอายุได้นาน 10 ถึง 50 ปี ลำต้นสูง 2 เมตร กิ่งและยอดแผ่เลื้อยพันตามกิ่งไม้หรือโครงสร้างเลื้อยพันอื่นๆ ใบดาวอินคาเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบตรงถึงรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบยาว 10-12 เซนติเมตร กว้าง 8-10 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-6 เซนติเมตร ดอกดาวอินคาดอกช่อแบบช่อกระจะ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก สีขาว เรียงเป็นกระจุกตลอดความยาวช่อ ดอกเพศเมีย 2 ดอก อยู่ที่โคนช่อดอก

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 4,964

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,597

บอนแบ้ว

บอนแบ้ว

บอนแบ้ว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กและมีความบอบบางกว่าต้นอุตพิด มีหัวอยู่ใต้ดิน ทรงกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงฟิลิปปินส์และนิวกินี ใบอ่อนมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนใบแก่จะเป็นหยัก แบ่งออกเป็น 3 แฉก ยาวประมาณ 5-17 เซนติเมตร ก้านใบมีความยาวประมาณ 10-35 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,610

อ้อย

อ้อย

อ้อย จัดเป็นไม้ล้มลุก มักขึ้นเป็นกอ ๆ มีความสูงของลำต้นประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงและเป็นมัน มีลำต้นคล้ายกับต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดงถึงสีดำ และมีไขสีขาวเคลือบลำต้นอยู่ ลำต้นมีลักษณะกลมยาว เห็นข้อปล้องอย่างชัดเจน โดยแต่ละปล้องอาจจะยาวหรือสั้นก็ได้ ผิวเปลือกเรียบสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ไม่แตกกิ่งก้าน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม ส่วนน้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา และมักมีรากอากาศขึ้นอยู่ประปราย โดยเป็นพืชที่ชอบดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง มีแสงแดดจัด สามารถปลูกขึ้นได้ในดินทั่วประเทศไทย และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือการใช้หน่อจากเหง้า 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 13,358

เข็มป่า

เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร  ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว  ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว   ผลมีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว  เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป  ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร  เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,114

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างและยาว แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 7,858

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก จัดเป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ รากหนา ยาว และมีขน มีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้านใบ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และในญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคกลาง) โดยมักขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,600 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้จนถึง 3,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,050

มะลิลา

มะลิลา

มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,346

เดื่อหว้า

เดื่อหว้า

ต้นเดื่อหว้า จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ในต่างประเทศพบกระจายพันธุ์ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธารหรือริมลำน้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,401

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น    จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,411