เพกา

เพกา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 1,618

[16.5055083, 99.509574, เพกา]

ชื่อวิทยาศาสตร์     Oroxylum  indicum  Vent.
ชื่อวงศ์                  BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น ๆ                มะลิดไม้, มะลิ้น, ลิดไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย)

ลักษณะทั่วไป       
             ต้น     เป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่  เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว
             ใบ     ออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว
             ดอก   จะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.     สีม่วงคล้ำ
             ผล     ผลนั้นจะออกเป็นฝักแบน และยาวมีลักษณะคล้ายรูปดาบมีความยาวประมาณ 45 – 120 ซม. ห้อยระย้าอยู่เหนือเรือน ส่วนเมล็ดมีลักษณะแบนมีปีกใส เมล็ดมีความกว้างความยาว
             นิเวศวิทยา   พรรณไม้นี้มักขึ้นตามที่โล่ง บริเวณชายป่าดิบ และไร่ร้างทั่วไป
             การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ดและควรปลูกในฤดูฝน
             ประโยชน์ด้านสมุนไพร   เปลือก ใช้เป็นยาสมานแผล ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือด บำรุงเลือด ดับพิษเลือด รักษาเสมหะ จุกคอ ขับเสมหะ รักษาอาการจุกเสียดเปลือกต้นใช้ตำกับเหล้าใช้พ่นตัวแทนการอยู่ไฟ เปลือกผสมกับน้ำสุราใช้เป็นยากวาดประสะพิษซางชนิดเม็ดเหลืองรักษาละอองขึ้นในปาก คอ ลิ้น รักษาละอองใช้ รักษาซางเด็กรักษาอาการฟกบวม เปลือกสดผสมน้ำส้มใช้รักษาอาการอาเจียนไม่หยุดรักษาโรคบิด หรือใช้เปลือกเพกาใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น รักษาโรคมานน้ำ โรคเบาหวาน เปลือกนำไปต้มกับสมุนไพรหลาย ๆ ชนิด แยกเอาแต่น้ำมันมาทาเพื่อรักษาองคสูตรรักษา รักษาโรคริดสีดวงทวารหนักทวารเบา บรรเทาอาการฟกบวมและอาการคัน เมล็ด ใช้เป็นยาขับถ่าย ส่วนเมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบายเป็นยารักษาอาการไอขับเสมหะฝักอ่อน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เจริญอาหาร ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร รักษาโรคบิด ท้องร่วงรักษาไข้สันนิบาตและรักษาอาการอักเสบฟกบวมให้ใช้รากฝนกับน้ำปูนทา นอกจากนี้ยังใช้ ใบ ดอก ราก ลำต้นรวมกัน จะมีรสฝาดเย็น ใช้เป็นยาสมานแผล อาการอักเสบบวม รักษาโรคท้องร่วง โรคไข้เพื่อลมเพื่อเลือด และรักษาน้ำเหลืองเสีย

ภาพโดย : http://adeq.or.th/wp-content/uploads/2016/07/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2-4.jpg

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เพกา. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=105&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=105&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะกอก

มะกอก

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร  ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ  เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,841

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 34,946

กันเกรา

กันเกรา

กันเกราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เป็นใบเดี่ยวรูปทรงรี สีเขียวเข้ม โดยออกเรียงแบบตรงข้ามกัน ทั้งโคนและปลายแหลม ขอบและแผ่นใบเรียบ ส่วนเนื้อใบนั้นจะค่อนข้างเหนียว ซึ่งดอกกันเกรานั้นจะออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาวเมื่อเริ่มบาน แต่เมื่อบานเต็มที่จะกลายเป็นสีเหลืองอมส้ม และผลของกันเกรานั้นจะเป็นลักษณะทรงกลม รสขม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 เซนติเมตร ผลผิวเรียบ มีติ่งแหลมสั้นๆ อยู่ตรงปลาย ออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เมื่อผลอ่อนจะเป็นสีเขียว พอสุกจะเป็นสีแดงเลือดนก และสามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,634

ผักกาดน้ำ

ผักกาดน้ำ

ต้นผักกาดน้ำ หรือ หญ้าเอ็นยืด จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูงประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนต้นติดอยู่กับดิน รากสั้น แตกแขนงเป็นฝอยมาก พืชชนิดนี้เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีส่วนผสมพิเศษ ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยมักขึ้นตามทุ่งหญ้า พื้นที่โล่งแจ้งที่มีความชุ่มชื้น ใบจะแทงขึ้นมาจากใต้ดินคล้ายกับใบผักกาด แต่จะมีก้านใบที่ยาวกว่า 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,216

รากสามสิบ

รากสามสิบ

รากสามสิบ จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยหนาม สามารถเลื้อยปีนป่ายต้นไม้อื่นขึ้นไปได้ แตกแขนงเป็นเถาห่างๆ ลำต้นเป็นสีเขียวหรือสีขาวแกมเหลือง เถามีขนาดเล็กเรียว กลม เรียบ ลื่น และเป็นมัน เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม หนามมีลักษณะโค้งกลับ  บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อ และกิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบนเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ มีเหง้าและรากอยู่ใต้ดิน ออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวย ลักษณะของรากออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย ลักษณะอวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว มีขนาดโตกว่าเถามาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,285

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลายๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,113

ผักโขมสวน

ผักโขมสวน

ต้นผักโขมสวน จัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 1.30 เมตร ส่วนยอดมีขนสั้นปกคลุม เจริญเติบโตได้เร็ว ต้องการความชื้นสูง มีแสงแดดตลอดวัน และชอบดินร่วน สามารถพบได้ทั่วไปของทุกภาค ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีแดง ช่อดอกมีขนาดประมาณ 4-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 2,353

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,922

เหมือดโลด

เหมือดโลด

เหมือดโลดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,947

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,222