จันทน์กะพ้อ
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 6,423
[16.4258401, 99.2157273, จันทน์กะพ้อ]
จันทน์กะพ้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Vatica diospyroides Symington จัดอยู่ในวงศ์ DIPTEROCARPACEAE เช่นเดียวกับเคี่ยม ตะเคียนทอง และพะยอม
สมุนไพรจันทน์กะพ้อ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เขี้ยวงูเขา (พังงา), จันทน์พอ จันทน์พ้อ (ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะของจันทน์กะพ้อ
ต้นจันทน์กะพ้อ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปลา เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา หรือสีเทาคล้ำ และมักมียางใสซึมออกมาตามรอยแตก ส่วนเปลือกชั้นเป็นสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีร่มเงาจากไม้อื่น มีความชื้นในอากาศดี และลมไม่แรงมากนัก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยมีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นที่ลุ่มต่ำ และตามชายขอบของป่าพรุทางภาคใต้ บ้างว่าเกิดตามป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 20-100 เมตร ส่วนในต่างประเทศจะพบได้ที่ประเทศเวียดนามและมาเลเซีย
ใบจันทน์กะพ้อ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของแผ่นใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบและเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนใบแก่เป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบเกลี้ยงหนา มีเส้นแขนงของใบประมาณ 15-18 คู่ ปลายเส้นโค้งจรดกับขอบใบ โคนใบเบี้ยว และจะหลุดร่วงไปตามอายุ ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
ดอกจันทน์กะพ้อ ดอกสีเหลืองนวลขนาดเล็กและมีกลิ่นหอมแรงมาก กลิ่นเป็นแบบหอมร้อนๆ คล้ายกับแก้วกาหลงและน้ำมันจันทน์ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามกิ่งและตามง่ามใบ ดอกมีกลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน 5 กลีบ เรียงเวียนกันเป็นรูปกังหัน กลีบดอกมีขนนุ่มเป็นสีน้ำตาล ส่วนกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนปกคลุม เมื่อเริ่มปลูกจะใช้เวลาประมาณ 6-7 ปีถึงจะออกดอก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมและดอกจะทยอยบานในเวลาใกล้เคียงกัน
ผลจันทน์กะพ้อ ผลมีลักษณะกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผิวผลเป็นขุยสีน้ำตาล ผลเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 กลีบ มีกลีบประดับ 5 กลีบสั้นกว่าตัวผล โดยกลีบผลมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมสั้นกว่าความยาวของผล ขอบกลีบพับจีบตามยาว มีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม โดยจะติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน และผลจะแก่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม
สรรพคุณของจันทน์กะพ้อ
1. ดอกใช้ผสมกับยาอื่นปรุงเป็นยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ (ดอก)
2. ช่วยแก้สันนิบาต (เนื้อไม้)
3. เนื้อไม้มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน (เนื้อไม้)
4. ช่วยขับลม (เนื้อไม้)
5. ช่วยแก้เสมหะ (เนื้อไม้)
ประโยชน์ต้นจันทน์กะพ้อ
1. สมัยก่อนคนโบราณจะใช้ดอกกลั่นทำน้ำมันใส่ผมและมีการนำมาใช้ทำน้ำหอม
2. ไม้จันทน์กะพ้อมีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างหรือใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ได้
3. เนื่องจากดอกของต้นจันทน์กะพ้อมีกลิ่นหอมแรง ออกดอกดก จึงนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ โดยจะปลูกตามป่าอนุรักษ์ ตามสนามหน้าบ้าน หรือใช้จัดสวนหย่อมก็ได้ และควรปลูกทาง
ด้านทิศตะวันออกที่มีไม้ใหญ่
4. คนโบราณนิยมนำดอกจันทน์กะพ้อมาเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า เพื่อใช้อบให้เสื้อผ้ามีกลิ่นหอม
คำสำคัญ : จันทน์กะพ้อ
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จันทน์กะพ้อ. สืบค้น 4 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1593&code_db=610010&code_type=01
Google search
กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 11,747
ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,242
หญ้ายาง เป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว (annual) ลำต้นตั้งตรง กลวงและอ่อน สูง 30-80 ซม. มีขนปกคลุมโดยตลอด มียางขาว ต้นสีม่วงแดง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน แต่คู่ล่างสุด และบนสึดมักออกตรงข้ามกัน เป็นคู่ ก้านใบมีสีม่วงแดง ยาว 0.5-2 ซม. และมีขน ใบมีหลายรูปร่าง ตั้งแต่ยาวรี ไปจนถึงกลม ปลายแหลม ขอบใบเรียบ จักละเอียด หรืออาจหยักเป็นฟันไม่สม่ำเสมอ มีขนปกคลุมประปรายจนถึงไม่มีขนเลย
ดอก ออกที่ยอดเป็นกระจุก มีทั้งดอกผู้และดอกตัวเมียปนกัน ซึ่งถูกรองรับด้วยแผ่นสีเขียวคล้ายใบ (bract) หลายใบ ดอกย่อยตั้งอยู่บนก้านสั้นๆ ดอกสีขาวอมเขียว
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,980
ต้นผักกาดน้ำ หรือ หญ้าเอ็นยืด จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูงประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนต้นติดอยู่กับดิน รากสั้น แตกแขนงเป็นฝอยมาก พืชชนิดนี้เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีส่วนผสมพิเศษ ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยมักขึ้นตามทุ่งหญ้า พื้นที่โล่งแจ้งที่มีความชุ่มชื้น ใบจะแทงขึ้นมาจากใต้ดินคล้ายกับใบผักกาด แต่จะมีก้านใบที่ยาวกว่า
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,862
หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,052
มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกาและมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่างๆ ไม่ให้มากล้ำกราย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,519
เอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,272
กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก
เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 4,778
ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง
- ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 1,491
ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตโดยอยู่ข้ามปีได้ มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นกลม เรียบหรือมีขนเล็กน้อย อวบน้ำ จะชูส่วนปลายยอด แตกแขนงบริเวณโคนต้น รากฝอยแตกออกตามข้อของลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบรูปร่างยาวรีรูปหยก ปลายใบแหลมไม่มีก้านใบ ฐานใบเรียวและแผ่ออกเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ใบกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-7 ซม. ดอกออกเป็นช่อชนิดไซม์ บนก้านช่อดอกจะมีใบประดับดอก สีเขียวคล้ายใบเป็นแผ่นกลม หรือรูปหัวใจห่อหุ้มดอกเอาไว้ ช่อดอกแตกออกเป็น 2 กิ่ง กิ่งบนมีดอกย่อย 1-3 ดอก ก้านดอกยาว กิ่งล่างมีดอกย่อย 2-5ดอก ก้านดอกสั้น ดอกย่อยแต่ละดอกจะมีกลีบดอกด้านล่าง มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เป็นหมัน 4 อัน เกสรตัวเมียมีท่อรังไข่ยาวสีขาว
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,630