ฝรั่ง
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 2,098
[16.4258401, 99.2157273, ฝรั่ง]
ฝรั่ง ชื่อสามัญ Guava
ฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava L. จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และคาดว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยสายพันธุ์ในบ้านเราที่นิยมนำมารับประทานสด ๆ ก็ได้แก่ฝรั่งกิมจู ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งแป้นสีทอง ฝรั่งไร้เมล็ด ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นต้น
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุดในบรรดาผลไม้ทุกชนิด ในฝรั่งน้ำหนัก 165 กรัม จะให้วิตามินสูงถึง 377 มิลลิกรัม ! มีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 5 เท่า
ฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฝรั่งอุดมไปด้วยกากใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่มนาน ช่วยกำจัดท้องร้อง อาการหิวที่คอยมากวนใจ เพราะกากใยจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ช่วยปรับระดับการใช้อินซูลินของร่างกายให้เหมาะสม และกากใยยังช่วยล้างพิษโดยรวมได้อีกด้วย จึงส่งผลทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใส
คำแนะนำ : การรับประทานฝรั่งไม่ควรจะปอกเปลือก ทั้งนี้เพื่อคงคุณค่าของสารอาหาร และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรรับประทานร่วมกับพริกเกลือ น้ำตาล หรืออื่น ๆ เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เราอ้วนขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์ของฝรั่ง
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยต่าง ๆ ได้ดี
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ปกป้องผิวหนังจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ
- เป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนัก
- ช่วยลดไขมันในเลือด
- ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
- ใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
- ช่วยป้องกันอาการผิดปกติของหัวใจได้
- ใบฝรั่งใช้ในการดับกลิ่นปาก ด้วยการนำใบสด 3-5 ใบมาเคี้ยวแล้วคายกากทิ้ง
- ผลอ่อนช่วยบำรุงเหงือกและฝัน
- ใบฝรั่งช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เหงือกบวม
- ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้
- รากใช้แก้อาการเลือดกำเดาไหล
- น้ำต้มผลฝรั่งตากแห้ง ช่วยรักษาอาการเสียงแห้ง แก้คออักเสบ
- น้ำต้มใบฝรั่งสดช่วยรักษาอาการท้องเสีย ป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
- ใบช่วยรักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง
- ชาที่ทำจากใบอ่อนใช้สำหรับรักษาโรคบิด
- ผลสุกใช้รับประทานเป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
- ช่วยล้างพิษโดยรวมในร่างกาย
- ใบช่วยแก้อาการปวดเนื่องจากเล็บขบ
- ใช้ทาแก้ผื่นคัน แผลพุพองได้
- ใบใช้แก้แพ้ยุง
- ใบฝรั่งใช้รักษาบาดแผล
- ใบใช้เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง ถอนพิษบาดแผล แก้พิษเรื้อรัง น้ำกัดเท้า
- รากใช้แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง
- ใช้ในการห้ามเลือดด้วยการใช้ใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่มีเลือดออก (ควรล้างใบให้สะอาดก่อน)
- ช่วยในการดับกลิ่นสาบจากแมลงและซากหนูที่ตาย ด้วยการใช้ฝรั่งสุก 2-3 ลูกวางทิ้งไว้ในรัศมีของกลิ่น กลิ่นดังกล่าวก็จะค่อย ๆ หายไป
- การรับประทานฝรั่งจะช่วยขจัดคราบอาหารบนตัวฟันได้
- เปลือกของต้นฝรั่งนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า
- นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ฝรั่งดอง ฝรั่งแช่บ๊วย พายฝรั่ง และขนมอีกหลากหลายชนิด
- นำมาใช้ทำเป็นยาแคปซูลแก้ท้องเสียจากใบฝรั่ง ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุแคปซูลละ 250 มิลลิกรัม
คำสำคัญ : ฝรั่ง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ฝรั่ง. สืบค้น 14 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1728&code_db=610010&code_type=01
Google search
ฟักเขียว จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาเช่นเดียวกับบวบ มะระ หรือแตงชนิดอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่นอนระหว่างทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา เพาะปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า "ฟัก" ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า "แฟง" หรือ "ฟักแฟง" (ภาพซ้าย) แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า "ฟักหอม" (ภาพขวา) หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมเราจะเรียกว่า "ฟักขม" เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,552
ลักษณะทั่วไป ต้นจันทน์ผาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 5 – 7 ฟุต ลำต้นแกร่งตั้งตรงเป็นลำเปลือกของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทานวล ใบจะแตกออกเป็นช่อ ตามส่วนยอดหรือ บางทีก็แตกสาขาออกจากลำต้นใหญ่ได้อีกลักษณะของใบจะแคบเรียวยาว ปลายในแหลมรูปหอกขอบใบแหลมรูปหอก ขอบใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 1.5 – 2 นิ้วยาวประมาณ 1.5 – 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงจะแตกออกตามโคนก้านใบคล้ายจั่นหมากพวงหนึ่ง ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ จำนวนมากมายหลายพันดอกด้วยกัน มีสีขาวดอก ๆ หนึ่งมีอยู่ 6 กลีบตรงกลางดอกจะมีจุดสีแดงสด ดอกบานเต็มที่ ประมาณ .5 นิ้ว จั่นพวงหนึ่งจะยาวห้อยลงมาตั้งแต่ 1.5 – 2 ฟุต
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,345
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม. สีม่วงคล้ำ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,381
ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,323
ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาวๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมันและบาง ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 13,616
ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,220
ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,313
ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 18,862
ไมยราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa Pudica L. อยู่ในวงศ์ FABACEAE และมีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ หญ้าต่อหยุบ หญ้ายุบยอบ กะหงับ ก้านของระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ และหญ้าปันยอด เป็นไม้ล้มลุก ใบประกอบเหมือนขนนก 2 ชั้น ดอกช่อกระจุกแน่น สีชมพู ออกที่ง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 3,128
ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,026