บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 11,331

[16.4258401, 99.2157273, บานไม่รู้โรยป่า]

บานไม่รู้โรยป่า ชื่อสามัญ Gomphrena weed, Wild globe everlasting
บานไม่รู้โรยป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena celosioides Mart. จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

ลักษณะของบานไม่รู้โรยป่า
         ต้นบานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด
         ใบบานไม่รู้โรยป่า ใบเป็นใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ผิวด้านบนมีขนขึ้นประปราย ส่วนผิวด้านล่างมีขนอุย
          ดอกบานไม่รู้โรยป่า ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น แบบช่อเชิงลด โดยจะออกที่ปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก สีเขียว ส่วนกลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 แฉก สีขาว เป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 อัน (เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล) ก้านชูเกสรสั้น ลักษณะของก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นหลอดเยื่อบาง ๆ ส่วนเกสรเพศเมียเป็นสีเขียวมี 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ไม่มีกลิ่น
          ผลบานไม่รู้โรยป่า ผลเป็นผลเดี่ยว เมื่อผลแห้งแก่แล้วจะไม่แตก มีเปลือกแข็งและมีเมล็ดเดียว ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงสีดำ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะแบน ขนาดยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

สรรพคุณของบานไม่รู้โรยป่า
1. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (ดอก)
2. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินแก้ตาเจ็บ (ดอก)
3. ใช้เป็นยาแก้ไอ ไอกรน ระงับหอบหืด ด้วยการใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
4. ทั้งต้นใช้ผสมกับเถาเขี้ยวงู ลูกใต้ใบ สะเดาดิน และไมยราบเครือ นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เบาหวาน (ทั้งต้น)
5. ใช้แก้เด็กเป็นโรคลมชัก ด้วยการใช้ดอก 10 ดอก นำมาตุ๋นกับตั๊กแตนแห้ง 7 ตัว ใช้รับประทานเป็นยา (ดอก)
6. ดอกนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้บิด (ดอก)
7. ต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว (ต้น)[1]บ้างว่าใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ดอก)
8. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ และช่วยขับนิ่ว (ราก)
9. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้กามโรค หนองใน (ต้น)
10. ใช้เป็นยาแก้ระดูขาวของสตรี (ต้น)
11. ลำต้นและดอกนำมาตำผสมรวมกันใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (ลำต้นและดอก)
12. ช่วยรักษาแผลผื่นคัน (ดอก)

การป้องกันและกำจัด
1. รดน้ำให้ดินนิ่มแล้วทำการถอนให้โคนต้นหลุดออกมาจากดิน แต่หากมีจำนวนมากจนไม่สามารถถอนได้หมดในคราวเดียว ก็ให้ตัดต้นออกก่อนที่ดอกจะแก่ จะสามารถควบคุมการแพร่กระจายได้ในระดับหนึ่ง
2. ส่วนอีกวิธีคือการใช้สารเคมีกำจัดประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเซต (48% เอสแอล) ในอัตราที่ใช้ประมาณ 70 - 80 ซี.ซี. นำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว และเพื่อให้ได้ผลในการกำจัดควรใช้ร่วมกับสารจับใบเพื่อการเกาะติดของสารเคมีกับใบพืช

ประโยชน์ของบานไม่รู้โรยป่า
1. มีความเชื่อว่า หากนำบานไม่รู้โรยป่ามาใช้ประดับในงานพิธีมงคลต่าง ๆ จะช่วยทำให้ชีวิตเจริญงอกงามแบบไม่โรยรา

คำสำคัญ : บานไม่รู้โรยป่า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บานไม่รู้โรยป่า. สืบค้น 23 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1652&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1652&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นทอดยาวไปตามพื้นดิน หรือโค้งแล้วตั้งตรง สูงได้ประมาณ 0.5-1 เมตร มีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมทั่วไปตามลำต้นและตามกิ่งก้านที่โคน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก ปากีสถาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา จีน กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิก และมาดากัสการ์ ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยมักขึ้นตามพื้นที่เป็นหิน เขาหินปูน หรือพื้นที่ปนทรายที่แห้งแล้ง ตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 2,124

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,468

กาหลง

กาหลง

ต้นกาหลงนี้จัดเป็นไม้พุ่มที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร มีเปลือกเรียบสีน้ำตาล มีใบเดี่ยวรูปไข่ออกเรียงสลับกัน โดยปลายใบนั้นจะเว้าลึกเข้ามาถึงเกือบครึ่งใบ โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายเส้นกลางใบเป็นติ่งแหลมๆ และปลายแฉกทั้งสองข้างจะแหลม ผลัดใบช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วจะขึ้นมาใหม่ในช่วงหน้าร้อน หรือเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม ส่วนดอกนั้นจะมีสีขาวออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงปลายกิ่ง ช่อละประมาณ 2-3 ดอก มีดอกย่อยสีขาวกลิ่นหอมอ่อนๆ บริเวณปลายกลีบมน โคนสอบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวติดกันอยู่ และผลเป็นฝักแบน ขอบฝักจะเป็นสันหนาๆ แต่ปลายและโคนฝักจะสอบแหลม ตลอดจนปลายฝักมีติ่งแหลมๆ ยื่นออกมา โดยต้นกาหลงนี้จะออกผลในเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,536

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,763

ผักคะน้า

ผักคะน้า

คะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 10,961

สังกรณี

สังกรณี

สังกรณี จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมากมาย มีความสูงของลำต้นประมาณ 60-120 เซนติเมตร ตามต้นไม่มีหนาม ตามกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากตามป่าเต็งรัง ป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,443

โคกกระสุน

โคกกระสุน

ต้นโคกกระสุน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ถึง 160 เซนติเมตร เป็นพืชจำพวกหญ้าที่มีอายุได้ประมาณ 1 ปี แตกกิ่งก้านแผ่ออกโดยรอบปกคลุมไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดและดอกตั้งขึ้นมา มีขนตามลำต้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วโดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินทรายที่ค่อนข้างแห้ง มีการระบายน้ำดี เจริญงอกงามได้ดีในช่วงฤดูฝน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามทางรถไฟ ตามที่รกร้าง ตามสวนผลไม้ ทุ่งหญ้า ท้องนา และริมทางสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,326

มะกรูด

มะกรูด

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,856

ชงโค

ชงโค

ชงโค เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายๆ กับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด 

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 17,890

พันงูขาว

พันงูขาว

ลักษณะทั่วไป   เป็นต้นวัชพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง รากเป็นระบบรากแก้ว ทรงพุ่ม กิ่งอ่อนมีสีเขียวหรือสีแดง เป็นสี่เหลี่ยมมีขนสีขาว  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ฐานใบเรียว แหลมมากกว่าปลายใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ดอก   ออกเป็นช่อชนิดสไปด์ ปลายขอด ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อย มีสีเขียวติดอยู่บนก้านดอก  ดอกย่อยไม่มีก้านดอก มีกลีบเลี้ยงแข็ง 2 กลีบ เมื่อแก่จะกลายเป็นหนามแหลมติดบนผลมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วงแดง  มีเกสรตัวเมีย 1 อันเป็นเส้นกลม มักจะออกดอกในฤดูร้อน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,638