ผักขวง

ผักขวง

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้ชม 3,830

[16.4258401, 99.2157273, ผักขวง]

ผักขวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Glinus oppositifolius (L.) Aug.DC. จัดอยู่ในวงศ์สะเดาดิน (MOLLUGINACEAE)
สมุนไพรผักขวง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักขี้ขวง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), สะเดาดิน ผักขวง (ภาคกลาง), ขี้ก๋วง, ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "ขวง" เป็นต้น

ลักษณะของผักขวง
        ต้นผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป
        ใบผักขวง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น 
        ดอกผักขวง ออกเป็นดอกเดี่ยวรวมกันอยู่ตามข้อของลำต้นใกล้ ๆ กับใบ ในข้อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวกว่ากลีบดอก โดยจะมีความยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร
        ผลผักขวง ลักษณะของผลเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน เมล็ดมีจำนวนมาก สีน้ำตาลแดง มีขนาดเท่ากับเม็ดทราย 

สรรพคุณของผักขวง
1. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงเป็นยาบำรุงธาตุ (ทั้งต้น)
2. ต้นสดนำมาตำผสมกับขิงใช้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก (ทั้งต้น)
3. ผักขวงทั้งต้นมีรสขมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ทั้งปวง (ทั้งต้น)
4. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ (ทั้งต้น)
5. ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ระงับความร้อน (ทั้งต้น)
6. ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันละหุ่ง แล้วนำไปอุ่นใช้เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู (ทั้งต้น)
7. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงทั้งต้นปรุงเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
8. ผักขวงมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือเป็นยาฆ่าเชื้อ (ทั้งต้น)
10. ใช้เป็นยาทาแก้อาการฟกช้ำบวมอักเสบ (ทั้งต้น)
11. ผักขวงจัดอยู่ในพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้เพื่อดี (ไข้ที่เกิดจากดีพิการ มีอาการปวดศีรษะ ไข้สูง) อันประกอบไปด้วยตัวยา 7 สิ่ง ได้แก่ ผักขวง, เครือเขาด้วย, รากขี้กา,
      รากขัดมอน, ต้นผีเสื้อ, หญ้าเกล็ดหอย และน้ำผึ้ง
12. ในพระคัมภีร์โรคนิทาน มีตำรับยาที่เข้าด้วยผักขวง 1 ตำรับ คือ ยาสุมกระหม่อมในช่วงฤดูฝน (แก้อาการปวดศีรษะและจมูกตึง) ระบุให้ใช้ผักขวง, ใบหญ้าน้ำดับไฟ, ใบหางนกยูง, ฆ้อง
      สามย่าน, เทียนดำ, ไพล, หัวหอม, ดอกพิกุล และดินประสิวขาว นำมาบดสุมกระหม่อมแก้ปวดศีรษะและจมูกตึง
13. ส่วนในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยการปฏิสนธิของทารกในครรภ์ การคลอด และโรคเด็กต่างๆ ก็มีกล่าวถึงตำรับยาที่เข้าด้วยใบผักขวงและรากผักขวงอีก 7 ตำรับด้วยกัน
      อันได้แก่
         - ยาแก้เตโชธาตุพิการ(เป็นอาการของธาตุไฟทั้ง 4 พิการ คือ ปรินามัคคี (ร้อนอกร้อนใจ ไอ ท้องขึ้น บวมตามมือตามเท้า เกิดมองคร่อ), ปริทัยมัคคี (มือเท้าเย็น ร้อนใน เย็นนอก ชีพจรเต้นผิดจังหวะ), ชรัคคี (หนักหัว ตาฟาง หูตึง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส ชาตามเนื้อตามตัว), สันตัปปัคคี (เย็นในอก กินอาหารไม่ได้ อาหารจุกในท้อง เกิดลม 6 จำพวก พัดปั่นป่วนภายใน หายใจขัด หรือถึงกับเป็นลมสลบไป)) ท่านให้เอารากผักขวง, รากช้าพลู, รากเจตมูลเพลิง, รากมะแว้งทั้งสอง, ก้านสะเดา และบอระเพ็ด อย่างละเท่ากัน นำมาต้มเคี่ยว 3 ส่วน เอา 1 ส่วน ใช้กินเป็นยา ถ้าไม่หายให้เพิ่มยาเข้าไปอีก 8 สิ่ง ได้แก่ โกฐเขมา, ไคร้ต้น, ผักแพวแดง, ผลมะขามป้อม, ว่านเปราะ, รากสวาด, หญ้ารังกา และอบเชยเทศ อย่างละเท่ากัน นำมาบรรจบเข้ากับยาเดิมเป็นขนานเดียวกัน แล้วนำมาต้มเคี่ยว 3 ส่วน เอา 1 ส่วน ใช้เป็นยาแก้ธาตุไฟพิการ
        - ยาแก้มูกเลือดตานโจร(ตานขโมยหรือตานซาง เป็นอาการของเด็กอายุ 5-13 ขวบ ที่เกิดจากพยาธิต่าง ๆ ทำให้เด็กมีอาการซูบซีด ผอมแห้งแรงน้อย พุงโรก้นปอด หัวโต นอนผวา ตกใจง่าย ขี้อ้อน) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบเทียน, ใบทับทิม และขมิ้นอ้อย อย่างละเท่ากัน นำมาบดทำเป็นแท่งละลายกับน้ำเปลือกแคต้มดื่ม
        - ยาแดงแก้ลงท้องท่านให้เอาใบผักขวง, ใบระงับ, กรักขี, จันทน์ทั้งสอง, ผลจันทน์, ดอกจันทน์, ผลเบญกานี, เนระพูสี, สน, สัก, สังกรณี, ว่านกีบแรด, ว่านร่อนทอง, ฤาษีประสมแล้ว และสีเสียดทั้งสอง อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง ใช้เหล้าเป็นกระสายทำแท่ง ใช้กินกับน้ำเปลือกแคแดง แก้อาการลงท้อง
        - ยาแก้ทรางสกอเจ้าเรือนและทรางกระตัง(เป็นทรางจร) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบการ่อน, ใบชุมเห็ดเทศ, ใบฝ้ายเทศ, ใบเพกา, ใบฟักข้าว, ใบน้ำเต้า, ใบมะระ, ใบระงับพิษ และขมิ้นอ้อย อย่างละเท่ากัน นำมาบดปั้นเป็นแท่งไว้ละลายน้ำซาวข้าว ใช้เป็นยาชโลมแก้พิษต่าง ๆ ที่เกิดทรางสกอและทรางกระตัง (ทรางสะกอ เป็นซางประจำวันพุธ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาแล้วเป็นต่อเนื่องจนอายุได้ขวบเศษ มีอาการที่เกิดต่อเนื่องสลับซับซ้อน ส่วนทรางกระตัง เป็นซางที่เกิดขึ้นหลังคลอด เกิดเขม่าเมื่อมีอายุได้ 1 เดือน จากนั้นแม่ซาง 3 ยอด จึงจะทยอยขึ้นพร้อมบริวาร และมีอาการอย่างอื่นทั้งข้างในและข้างนอกเรื่อยมาจนถึงอายุ 11 เดือน ซึ่งจะเกิดอาการตกมูกเลือด ลงท้อง)
        - ยาประจำท้องกุมารอายุ 2 เดือน(นับแต่วันคลอด) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบสะเดา, ใบขอบชะนางแดง, ใบคนทีสอ, และบอระเพ็ด นำมาบดละลายกับน้ำร้อนกินเป็นยาประจำท้องกันสำรอกใน 2 เดือน (แต่อายุของทารกเพิ่มขึ้น ตัวยาจะเปลี่ยนไปด้วย)
        - ยาจันทรรัศมีเป็นตำรับยาที่นำมาบดทำแท่งกินตามกำลังของทารก เพื่อแก้หืด แก้ปวง แก้คลั่ง แก้ลมบ้าหมู แก้ตัวพยาธิ แก้อาการฟกบวม และแก้ตามเสมหะ ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบขี้กาแดง, ใบผักบุ้งขัน, ใบพุทรา, ใบมะกรูด, ใบมะนาว, ใบมะงั่ว, ใบมะยมตัวผู้, ใบประคำไก่, ใบส้มซ่า, กุ่มทั้งสอง, กระชาย, กระทือ, กระเทียม, ข่า, ขมิ้นอ้อย, ตรีกะฏุก, จันทน์ทั้งสอง, ไพล, หอมแดง, เมล็ดพรรณผักกาด, ว่านกีบแรด, และว่านร่อนทอง อย่างละเท่ากัน และเอาพริกไทยเท่าทั้งหลาย นำยาทั้งหมดมาบดให้เป็นจุณแล้วทำเป็นแท่งไว้ให้กุมารกินกับน้ำกระสายต่าง ๆ ตามแต่โรคที่รักษา กล่าวคือ ละลายน้ำส้มซ่า (แก้สันนิบาต), ละลายน้ำขิง (แก้ป่วง), ละลายน้ำดอกไม้ (แก้คลั่ง), ให้แซกดีงูเหลือม (แก้ตานเสมหะและแก้ตัวพยาธิ), ละลายน้ำเหล้า (เป็นยาทาแก้อาการฟกบวม)
        - ยาน้ำดับไฟซึ่งเป็นตำรับยาชโลมดับพิษทางผิวกาย ท่านให้เอาผักขวง, ใบโคกกะออม, ใบน้ำเต้า, ใบสะเดา, ใบตำลึงตัวผู้, ใบสมี, ใบมะลิ, ใบมะม่วงกะล่อน และขมิ้นอ้อย นำมาบดทำเป็นแท่งไว้ละลายน้ำมะลิสด ใช้เป็นยาชโลมดับพิษได้ดีนัก

ประโยชน์ของผักขวง
1. ผักขวงเป็นผักที่มีรสขมคล้ายสะเดา บางแห่งจึงเรียกผักชนิดนี้ว่า "สะเดาดิน" โดยชาวบ้านตามชนบทจะใช้ผักขวงเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกและรับประทานร่วมกับลาบ บ้างนำมาลวกจิ้มกับ
    น้ำพริกหรือนำมาแกงรวมกับผักอื่น ๆ แกงแค แกงเมือง หรือแกงกับปลาทูนึ่งรับประทาน
2. คุณค่าทางโภชนาการของผักขวง 100 กรัม จะประกอบไปด้วยพลังงาน 30 กิโลแคลอรี, น้ำ 3%, โปรตีน 3.2 กรัม, ไขมัน 0.4 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 3.4 กรัม, ใยอาหาร 1.1 กรัม, เถ้า 1.7
    กรัม, แคลเซียม 94 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.45 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 2.7 มิลลิกรัม, วิตามินซี 19 มิลลิกรัม

คำสำคัญ : ผักขวง

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักขวง. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1604&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1604&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บุนนาค

บุนนาค

บุนนาค มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะเป็นทรงยอดพุ่มทึบและแคบ มีทรงพุ่มใหญ่ลักษณะคล้ายเจดีย์ต่ำ ๆ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้น ๆ หลุดร่วงได้ง่าย ที่เปลือกชั้นในจะมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนในเนื้อไม้จะมีสีแดงคล้ำเป็นมันเลื่อม พบได้มากในป่าดิบชื้น ตามลำธารหรือริมห้วย พบได้มากในประเทศอินเดียและศรีลังกา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 9,669

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว (Cow Pea, Chinese Long Bean) เป็นพืชผักสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก ถั่วนา, ถั่วขาว หรือถั่วฝักยาว ส่วนภาคเหนือเรียก ถั่วหลา, ถั่วปี หรือถั่วดอก เป็นต้น ซึ่งถั่วฝักยาวนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เรียกว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่ชาวเอเชียเรานิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันเป็นอย่างมากชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ และในถั่วฝักยาวนี้ก็ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราหลากหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, โฟเลต, แมงกานีส ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 7,568

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นมักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,149

รากสามสิบ

รากสามสิบ

รากสามสิบ จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยหนาม สามารถเลื้อยปีนป่ายต้นไม้อื่นขึ้นไปได้ แตกแขนงเป็นเถาห่างๆ ลำต้นเป็นสีเขียวหรือสีขาวแกมเหลือง เถามีขนาดเล็กเรียว กลม เรียบ ลื่น และเป็นมัน เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม หนามมีลักษณะโค้งกลับ  บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อ และกิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบนเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ มีเหง้าและรากอยู่ใต้ดิน ออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวย ลักษณะของรากออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย ลักษณะอวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว มีขนาดโตกว่าเถามาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,256

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,412

ม่อนไข่

ม่อนไข่

ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาวๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมันและบาง ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 11,656

มะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางหรือใหญ่ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเรียบหนาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ ตามลำต้นมีรอยเป็นข้อปล้องห่างๆ คล้ายรอยควั่นเป็นข้อๆ ตลอดถึงกิ่ง กิ่งก้านอ้วนสั้น กิ่งอ่อนและลำต้นอ่อนกลวง ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ชอบความชุ่มชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,367

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,392

มะตาด

มะตาด

มะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 8,574

ขนุน

ขนุน

ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,304