การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์
ประเพณีการแห่พระลานกระบือ ที่เรียกว่า “แห่พระ” เนื่องมาจากการประชาชนได้อัญเชิญพระพุทธรูปและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นล้อเกวียนแห่ไปตามหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำในวันสงกรานต์ ประเพณีการแห่พระลานกระบือเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลลานกระบือดั่งเดิมได้ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน และมีอยู่ช่วงหนึ่งได้หายไปจนกระทั่งมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง สำนักงานเทศบาลตำบลลานกระบือจึงได้ฟื้นฟูประเพณีการแห่พระขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2545 การจัดงานจะจัดในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13 - 16 เมษายน โดยจัดในพิธีแห่พระในวันที่ 16 เมษายน เป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ ช่วงวันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรักความผูกพันที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา ดังนี้ คุณค่าต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา
16.6169701, 99.7389859
เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 1,885
ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน
ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน เป็นภูมิปัญญาของชาวอำเภอลานกระบือ ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เนื่องจากในอดีตถนนหนทางในเขตอำเภอลานกระบือ ซึ่งเป็นชนบท การเดินทางไม่สะดวกเหมือนเช่นในปัจจุบัน ชาวบ้านต้องอาศัยเกวียนในการเดินทางติดต่อกันระหว่างอำเภอ และหมู่บ้าน และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จึงมีการแห่พระด้วยเกวียน ดังนั้นจึงจัดการแห่พระด้วยเกวียนขึ้นในช่วงสงกรานต์ขึ้น ซึ่งแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนโดยใช้ประเพณีเป็นตัวประสาน ให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขรักษาความเป็นไทย และประเพณีท้องถิ่นไว้สืบชั่วลูกชั่วหลาน
16.6172991, 99.7389869
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,390
Google search
-
ฐานข้อมูล - 152 ประวัติความเป็นมา
- 171 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 190 ประเพณีและวัฒนธรรม
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 107 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 107 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 45 ของฝาก
ต้นจิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็
เมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่่ง อพยพมาจากทิศตะวันออก โดยมีล้อเกวียน วัว ควายเป็นพาหนะ เพื่อมาหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น รวมกัน
กระยาสารท เป็นอาหาร ข้าวและธัญพืช แปรรูป เป็นอาหารรับประทานเป็นอาหารว่าง สามารถรับประทานคู่กับน้ำชา กาแฟ เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สารร
เป็นอารามหลวงประจำจังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2390 เดิมชื่อ " วัดเขาแก้ว"เนื่องจากพื้นที่ที่ตั้งวัดมีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ซึ่งลึกลงไปประก