พระวิเชียรโมลี
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้ชม 12,637
[16.4548253, 99.5105623, พระวิเชียรโมลี]
"พระวิเชียรโมลี" อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พระภิกษุผู้ทรงวิทยาคุณ ที่ชาวเมืองกำแพงเพชร ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง
พระวิเชียรโมลี มีนามเดิมว่า "ปลั่ง" ส่วนนามสกุลนั้นยังสืบไม่ได้แน่ชัด ท่านเป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดที่บ้านตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.2417 บิดาชื่อ นายพุ่ม มารดาชื่อ นางน้อย ครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนบุตร 5 คนของบิดามารดา ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจนสามารถอ่านออกเขียนได้ที่วัดพระบรมธาตุ ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนจัดการศึกษาเป็นหลักฐานเหมือนในปัจจุบัน เมื่ออายุครบอุปสมบทแล้ว ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดคูยาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) วัดคูยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจอก วัดเสด็จ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูชื่น วัดทุ่งสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "พรหมโชโต" หลังจากอุปสมบทท่านได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ที่จังหวัดเชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่งแล้วกลับมาอยู่ที่จังหวัดตาก และได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ต่อมาท่านได้กลับมาอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรแดนมาตุภูมิอีกครั้ง โดยจำพรรษาที่วัดราษฎร์เจริญพร ตำบลหนองปลิง ก่อนย้ายไปอยู่ที่วัดอมฤต ตำบลลานดอกไม้ตก จากนั้นกลับไปอยู่ที่วัดคูยางอีกครั้ง ก่อนที่จะได้รับอาราธนาให้ครองวัดพระบรมธาตุ เป็นลำดับ
ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2469 ครั้งแรกที่ได้รับพระราชทานแต่งตั้ง คือ พระครูเมธีคณานุรักษ์ ตำแหน่งผู้รักษาพระบรมธาตุ รั้งตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร
พ.ศ.2473 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระครูวิเชียรโมลี ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร
พ.ศ.2478 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ที่ พระวิเชียรโมลี ศรีวชิรปราการคณานุรักษ์ สังฆปาโมกข์ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร
พระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) วัดพระบรมธาตุ นครชุม เป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณ ได้รับอาราธนาเข้าร่วมในพิธีปลุกเสก พระกริ่งชนะสงคราม ที่รัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ทหารหาญ นับว่าเป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณที่มีชื่อเสียงมากรูปหนึ่งในสมัยนั้น สมัยสงครามอินโดจีน ท่านยังได้ทำเสื้อยันต์แดง แจกทหารผู้ไปราชการสงคราม ทำให้มีผู้เลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก เนื่องจากประจักษ์ในวิทยาคม จนได้รับอาราธนาให้นั่งเครื่องบินเพื่อหว่านทรายเสกให้ประชาชนและทหารรอดพ้น จากอันตรายจากภัยสงคราม
นอกจากนี้ พระวิเชียรโมลี ยังมีวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง เป็นที่ปรารถนาของประชาชนอีกมากมาย อาทิ หนังหน้าเสือลงยันต์ นางกวัก ผ้ายันต์นกคุ่ม รูปหล่อลอยองค์ขนาดเล็กหน้าตัก 1 นิ้ว เหรียญรูปท่านรุ่นต่างๆ แหวนและพระกริ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น และในปัจจุบันนี้ ก็ยังเสาะแสวงหาครอบครองกันอยู่ แต่มีน้อยนักที่จะได้ไว้ในครอบครอง
พระวิเชียรโมลี เน้นหลักคุณธรรม คือ ความเมตตา และความเสียสละ ละความโลภในลาภสักการะได้สิ้นเชิง ท่านเดินทางไปที่แห่งใด ไม่เคยต้องพกเงินติดตัวไปเลย ด้วยมีแต่ผู้คนเอามาถวายท่าน แต่ท่านก็ไม่เคยเก็บสะสมเงินทองที่ได้มานั้นไปใช้เป็นการส่วนตัว มีแต่นำไปพัฒนาบูรณะวัดให้สวยงามเป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใสของผู้มาทำบุญที่วัด นับว่าเป็นพระแท้ที่น่ายกย่องสรรเสริญกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่ง
เจ้าคุณวิเชียรโมลี มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.2488 อายุ 71 ปี
ภาพโดย : https://www.web-pra.com/amulet/หลวงพ่อปลั่ง-วัดพระบรมธาตุ
คำสำคัญ : พระวิเชียรโมลี
ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). พระวิเชียรโมลี. สืบค้น 18 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=616&code_db=610003&code_type=01
Google search
ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,751
นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน
เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 1,415
สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปี แต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้น เราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนัก แต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษาสมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่ง ท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น (นายโบ๊ะ) เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่งที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างชัดเจน
เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,254
นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร มีผลงานทางด้านศิลปะประดิษฐ์มากมาย เป็นผู้นิยมความเป็นไทย และรักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทยตลอดมา ผู้ริเร่ิมก่อตั้งศูนย์บริรักษ์ไทยวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รวบรวมผลงานศิลปะประดิษฐ์ที่นักศึกษาจัดทำขึ้นไว้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์บ่มเพาะงานศิลปะประดิษฐ์ ประณีตศิลป์ มีผลงานดีเด่นด้านศิลปะหัตถศิลป์มากกว่าหนึ่งพันชิ้น ศูนย์บริรักษ์ไทยจัดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาจนถึงปัจจุบัน และจะยังดำเนินการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 2,203
มาลัย ชูพินิจ เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2449 บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดามารดาคือ นายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ ตระกูลชูพินิจ มีบรรพบุรุษสืบต่อมาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงชั้นปู่ของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งได้ย้ายไปรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 แต่บิดามารดาของมาลัย ชูพินิจ มิได้รับราชการตามบรรพบุรุษ หากหันมาค้าไม้สักและไม้กระยาเลย อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของจังหวัดนั้น
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,738
พระครูวชิรปัญญกร นามเดิม นายอำนวย กรรณิกา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2494 ที่บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรองนายทำ-นางน้อย กรรณิกา อาชีพรับจ้าง ด้านการศึกษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เข้าทำงานครั้งแรกที่การไฟฟ้าพระราม 6 แล้วลาออกมาทำงานบริษัท Universal Engineering Consuians, Co.Ltd. หลังจากนั้นได้เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ณ พัทธสีมาวัดคูยาง ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน รองเจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝ่ายการศึกษา)
เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 990
ร้อยเอกทำนอง โยธินธนสมบัติ เป็นบุตรนายผ่าน-นางทองสุข ปัสสา เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม พ.ศ. 2467 ที่จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 13 คน สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวิชัยบำรุงราษฏร์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท จากนั้นได้ประกอบอาชีพครู ต่อมาได้รับราชการทหาร และใน พ.ศ.2525 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุประจำอยู่ที่วัดศรีโยธินจนถึงทุกวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,068
นายเชิด นุ่มพรม บุคคลสำคัญทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงพื้นบ้านของตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2476 อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยเมื่อยังเรียนหนังสืออยู่ ครูมักจะให้ร้องเพลงตามบทดอกสร้อย เพราะในนั้นหมู่บ้านที่อยู่มีหนุ่มสาวมาก ใครจะมาเล่นร้องรำทำเพลง ต้องตามหาตัวนายเชิดก่อน เพราะนายเชิดมีพี่สาวน้าสาวหลายคน นายเชิดเมื่อเด็กมักจะพาไปหาหมู่น้าๆ อาๆ เพื่อให้เขาได้รู้จักกัน
เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 739
พระยาราม นามเต็ม พระยารามรณรงค์ เดิมเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ ได้เรียกพระยารามไปไว้กรุงศรีอยุธยาและให้เลื่อนเป็นพระยาจันทบุรี สมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทรงไว้วางพระทัยพระยารามมาก กรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ต้องปรึกษาหารือพระยารามทุกครั้ง เช่น คราวที่ออกอุบายจะไปดีเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 2 ครองอยู่ด้วยความแค้นพระทัยก็ปรึกษากับพระยารามเป็นความลับ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะพระมหาธรรมราชาที่ 2 รู้ตัวก่อน โดยพระยาสีหราชเดโซบอกความลับให้ทราบ ดังนั้น พระยารามจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระมหาธรรมราชาที่ 2 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราช
เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 1,279
นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๔๗ ในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ปากคลองลุน (บ้านโคนใต้) ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อนายพวง แซ่ลิ้ม มารดาชื่อ นางปุย ได้เรียนหนังสือจนอ่านออก เขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จากสำนักเรียนวัดปราสาท บ้านโคนใต้ จากนั้นในปี ๒๔๖๑ ได้เรียนจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จากโรงเรียนประชาบาล อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชรหลังจากนั้นท่านได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ตำบลหูกวาง อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ในทางธรรมท่านสอบได้นักธรรมตรี หลังจากนั้นท่านได้อพยพกลับมาที่ตำบลคณฑีอีกครั้ง มาบุกเบิกบ้านโคนจนสำเร็จดังใจหมาย
เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 2,341