จิกน้ำ

จิกน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 32,380

[16.4258401, 99.2157273, จิกน้ำ]

จิกน้ำ ชื่อสามัญ Indian oak, Freshwater mangrove
จิกน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barringtonia acutangula (L.) Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์จิก (LECYTHIDACEAE หรือ BARRINGTONIACEAE)
สมุนไพรจิกน้ำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จิ๊ก (กรุงเทพ), กระโดนสร้อย (พิษณุโลก), ลำไพ่ (อุตรดิตถ์), กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ (หนองคาย-ภาคอีสาน), ตอง ปุยสาย (ภาคเหนือ), ตอง จิกน้ำ (ภาคกลาง), จิก, จิกนา, จิกอินเดีย, จิกมุจลินท์, เป็นต้น
       จิก เป็นชื่อของกลุ่มไม้ยืนต้นที่มีอยู่มากกว่า 10 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล Barringtonia ซึ่งจิกที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยกันดีก็มีแค่ 2-3 ชนิด ได้แก่
       1. จิกน้ํา หรือ กระโดนสร้อย (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn. Subsp. spicata (Bl.) Payens)
       2. จิกสวน หรือ จิกบ้าน ( Barringtonia racemosa Roxb.)
       3. จิกนา หรือ กระโดนทุ่ง (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.)
       แต่ละชนิดจะมีลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันตรงลักษณะของดอก กลีบดอก กลีบเลี้ยงดอก ขนาดของดอก สีของดอก ลักษณะใบ เป็นต้น โดยบทความนี้เราจะพูดกันถึงเรื่อง "จิกน้ำ" ซึ่งสรรพคุณและประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ กัน โดยต้นจิกชนิดอื่นๆ ที่อาจพบได้บ้างก็ได้แก่
       1. จิก (Barringtonia coccinea Kostel)
       2. จิกใหญ่ (Barringtonia angusta Kurz)
       3. จิกเขา (Barringtonia fusifomis King)
       4. จิกดง (Barringtonia pauciflor King)
       5. จิกเล หรือ โดนเล (Barringtonia asiatica (L.) Kurz)
       6. จิกนม หรือ จิกนุ่ม (Barringtonia macorstachys Kurz)
       7. จิกนมยาน (Barringtonia macorcarpa Hassk.)

ลักษณะของจิกน้ำ
       ต้นจิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว กิ่งก้านมักคดงอ ปลายกิ่งมักลู่ลง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในแถบรัฐควีนส์แลนด์ และสำหรับประเทศไทยบ้านเราก็จะพบต้นจิกน้ำได้ทั่วทุกภาคตามริมฝั่งน้ำ ริมคลอง ริมบึง ป่าพรุและป่าชายเลน
       ใบจิกน้ำ มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบออกเวียนสลับถี่ที่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปไข่หัวกลับ หรือรูปรี โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักถี่ ๆ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ใบมีขนาดใหญ่เป็นมันสวย เมื่อเวลามีดอกจะทิ้งใบ เหลือเพียงแต่ใบอ่อนสีแดง
        ดอกจิกน้ำ ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายกิ่ง ดอกห้อยลงมาเป็นระย้า ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ มีสีแดงหรือสีชมพู หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นฝอย ๆ สีชมพูหรือสีแดงจำนวนมาก เมื่อดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงมีดอกจะทิ้งใบเหลือแต่ยอดอ่อนสีแดงจัด ก็ยิ่งทำให้ดูสวยงดงามเพิ่มขึ้นไปอีก และจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม
        ผลจิกน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน เรียงตามความยาวของผล ในผลมีเมล็ดจิกน้ำ อยู่ 1 เมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไข่

สรรพคุณของจิกน้ำ
1. ใช้รักษาเยื่อนัยน์ตาอักเสบ (เมล็ด)
2. น้ำคั้นจากเมล็ดใช้เป็นยาหยอดตาได้ (เมล็ด)
3. เปลือกใช้เป็นยาลดไข้และใช้รักษาไข้มาลาเรีย (เปลือก)
4. จิกน้ํามีสรรพคุณของผลช่วยแก้หวัด แก้ไอ (ผล)
5. ช่วยแก้อาการไอในเด็ก (เมล็ด)
6. ช่วยทำให้อาเจียน (เมล็ด,ราก)
7. เมล็ด ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการร้อนใน (เมล็ด)
8. เมล็ดจิกน้ำ ใช้เข้ายาลมช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้องได้เป็นอย่างดี (เมล็ด)
9. น้ำจากใบช่วยแก้อาการท้องเสีย (ใบ)
10. ใบแก่ใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการท้องร่วง (ใบแก่)
11. รากใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ราก)
12. ช่วยขับระดูขาวของสตรี (เนื้อไม้)
13. เปลือกช่วยชะล้างบาดแผล (เปลือก)
14. ใช้เป็นยาร้อนในการคลอดบุตร (เมล็ด)

ประโยชน์ของจิกน้ำ
1. ดอกและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดหรือผักจิ้มกับแจ่ว ลาบ น้ำตก และขนมจีน ให้รสชาติมันปนฝาด ช่วยเพิ่มความอร่อยได้ดีมาก
2. เปลือกและต้นของจิกน้ำมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิกเล จึงเป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษว่า Poison fish tree ซึ่งชาวประมงนิยมนำมาใช้ในการเบื่อปลากันอย่างแพร่
    หลาย
3. มักปลูกไว้เป็นไม้ประดับที่ริมน้ำริมตลิ่ง เนื่องจากมีช่อดอกที่สวยงามแปลกตา และมีความแข็งแรง ทนน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี
4. ไม้จิกน้ำมีเนื้อสีขาวหรือสีอมแดงเรื่อ ๆ มีเสี้ยนตรง เป็นไม้ค่อนข้างอ่อนเหมาะใช้ในร่ม สามารถนำมาทำเป็นไม้อัด ไม้บาง กระดานกรุบ่อ ใช้ทำเรือเล็ก ๆ ทำเครื่องมือเกษตรและทำเครื่อง
     เรือนได้ ฯลฯ
5. นอกจากจะปลูกต้นจิกน้ำเพื่อความสวยงามไว้ริมตลิ่งแล้ว ต้นจิกน้ำก็ยังช่วยยึดหน้าดินริมตลิ่งได้อีกด้วย

คำสำคัญ : จิกน้ำ

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จิกน้ำ. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1597&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1597&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,127

หญ้ายาง

หญ้ายาง

หญ้ายาง เป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว (annual) ลำต้นตั้งตรง กลวงและอ่อน สูง 30-80 ซม. มีขนปกคลุมโดยตลอด มียางขาว ต้นสีม่วงแดง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน แต่คู่ล่างสุด และบนสึดมักออกตรงข้ามกัน เป็นคู่ ก้านใบมีสีม่วงแดง ยาว 0.5-2 ซม. และมีขน ใบมีหลายรูปร่าง ตั้งแต่ยาวรี ไปจนถึงกลม ปลายแหลม ขอบใบเรียบ จักละเอียด หรืออาจหยักเป็นฟันไม่สม่ำเสมอ มีขนปกคลุมประปรายจนถึงไม่มีขนเลย
ดอก ออกที่ยอดเป็นกระจุก มีทั้งดอกผู้และดอกตัวเมียปนกัน ซึ่งถูกรองรับด้วยแผ่นสีเขียวคล้ายใบ (bract) หลายใบ ดอกย่อยตั้งอยู่บนก้านสั้นๆ ดอกสีขาวอมเขียว

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,980

มะคังแดง

มะคังแดง

มะคังแดง จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความของต้นได้ประมาณ 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ เปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมทั่วไป ตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่โดยรอบ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ตามกิ่งก้านอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้ตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน พม่า และไทย มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,000

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,511

แค

แค

ต้นแค หรือ ต้นดอกแค เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น เป็นต้นไม้ที่โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกที่ และมักขึ้นตามป่าละเมาะ หัวไร่ปลายนา มีอายุราว ๆ 20 ปี แต่ถ้าเก็บกินใบบ่อย ๆ จะทำให้ต้นมีอายุสั้นลง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 8,703

กกลังกา

กกลังกา

ต้นกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียวใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกกกลังกา ออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,993

ตะโกนา

ตะโกนา

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นสูง 8-15 ม. ลำต้นมีเปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ ทรงพุ่มที่ยอดลักษณะกลมรี  ใบเดี่ยวเรียงสลับปลายใบโค้งมน และเป็นติ่งสั้นมีรอยหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบสอบเข้าหรือป้อมมนเนื้อในค่อนข้างหนา เหนียว ด้านบนจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่ม ปกคลุม เส้นกลางใบจะแห้งมีสีแดงเรื่อ ๆ  ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อเล็กตามกิ่งช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 ดอก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกเป็นแฉกเล็ก ๆ เกสรตัวผู้มี 14-15 อัน มีรังไข่ไม่เจริญ 1 อัน มีสีน้ำตาลปกคลุมผิวหนาแน่น ดอกตัวเมียออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกตัวผู้ มีเกสรตัวผู้เทียมหรือไม่เจริญ 8-10 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รูปร่างป้อม ๆ ติดอยู่เหนือฐานของดอกมี 8-10 ห้อง ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,778

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างและยาว แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,681

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 1,587

ผักคะน้า

ผักคะน้า

คะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 9,636